7/13/09

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คนไทยที่หนึ่งในโลก :เมตตาธรรม ไร้พรมแดน



วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คนไทยที่หนึ่งในโลก :เมตตาธรรม ไร้พรมแดน
คนไทยคนดีที่คนไทยไม่เคยรู้จัก...อยากให้เผยแพร่เกียรติประวัติให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนไทยและเยาวชนไทย เป็น web ที่ดี จาก http://board.palungjit.com

เภสัชกรยิปซีไทยผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ (ปัจจุบัน ขณะนี้ไทยกำลังมีปัญหากับอเมริกา เพราะข้อขัดแย้งเรื่องราคายาที่ไทยไม่ยอมอเมริกาเรื่องสิทธิบัตรยา)
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซีไทย ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ที่เร่ร่อนไปทั่วเเอฟริกาจนเป็นที่รู้จักจนอเมริกานำชีวิตเธอสร้างเป็นละครบรอดเวย์ แต่คนไทยไม่รู้จักเธอ
ชื่อ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
เป็นคนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน
พ่อเป็นหมอ คุณแม่เป็นพยาบาล
การศึกษา เป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนราชินี
ปริญญา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัย Strahclyde
ปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัย Bath ประเทศอังกฤษ
(ฐานะทางบ้านก็สบายๆ ญาติพี่น้องทำธุรกินโรงแรมที่เกาะสมุย) ชอบเล่นดนตรี เคยฝันอยากเป็น Conductor เคยอยากเปลี่ยนสายเรียนไปเป็นไบโอเคมี (ชีวเคมี) แต่เห็นว่าคณะที่เรียนอยู่ในเมืองไทยมีคนเรียนแค่ 5 คน จึงก้มหน้าก้มตาเรียนต่อไป
ปี 2535 เริ่มมีผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจาก พบในเอดส์ในไทยครั้งแรก ปี 2526 ทำไห้ตัดสินใจศึกษาวิจัยยาต้านไวรัสเอดส์ คิดค้นอยู่ 3 ปี แรก ๆ ทำงานคนเดียวหมด ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกของโลก ที่ผลิตยาชื่อสามัญว่า "ยาเอดส์"
ปี 2538 ได้โดนคดีขึ้นศาลกับบริษัทยา (ชื่อของอาจารย์ถูกบรรจุอยู่ในแบล็กลิสต์ของบริษัทยาเกือบทุกบริษัท) จากเรื่องของผลประโยชน์ เพราะถ้าผลิตยาได้สำเร็จ ยอดขายของผู้ผลิตรายอื่น ๆ ก็ต้องตกแน่นอน เพราะว่าราคาต่างกันค่อนข้างมาก ถือว่าตัวเองได้ทำหน้าที่ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างดีที่สุดแล้วไม่ได้คิดว่าจะตบหน้าใครหรือมาทำให้ยอดขายของบริษัทไหนลดลง (ก็คนกำลังจะตายอยู่แล้วไม่มีเงินซื้อยาแพง ๆ กินก็ต้องช่วยกันไป)
ยา ZIDOVUDINE(AZT) คือยาที่ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกจากแคปซูล ละ 40 บาท เหลือ 7-8 บาท อีกตัวคือจากเดิมขายแคปซูลละ 284 บาท เหลือ 8 บาท ยาที่มีชื่อเสียงมากคือ GPO-VIR สามารถทำให้ยา 3 เม็ดรวมอยู่ในเม็ดเดียวจากต้องทาน วันละ 6 เม็ด เหลือเพียง 2 เม็ดเท่านั้น
รัฐบาลไทยสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์จาก 1,000 คน เพิ่มเป็น 10,000 คน ค่ายาจากคนละ 20,000 เหลือ 1,200 บาท
ปี 2545 ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อจะไปช่วยเหลือทางแอฟริกาใต้อย่างเต็มตัว (เห็นว่าเมืองไทยเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว) ไม่มีใคร (รวมทั้งรัฐมนตรี) ยอมเซ็นใบอนุมัติการลาออกให้ มีการยื่นข้อเสนอให้เปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้น และการเอายาของเราไปขายที่แอฟริกาแทน แต่ไม่เอาด้วยเหตุผลต้องการให้พวกเขาทำเองให้พึ่งตนเอง เชื่อว่าถ้าเขาอยากกินปลาเราก็ควรสอนเขาตกปลาเอง ไมใช่ว่าเอาปลาไปให้เขากินเพราะไม่อย่างนั้นเขาจะไม่มีวันพึ่งตัวเองได้ เมืองไทยไปจำหน่ายได้ มันจะมีประโยชน์อะไร เพราะมันไม่มีความยั่งยืน (ไม่สนเงินเข้ากระเป๋าว่างั้น) เดินทางไปคองโก ไปบุกเบิกใหม่หมด วาดแปลนโรงงานที่จะผลิตยาใช้เวลา 3 ปี โรงงานดังกล่าวผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR เหมือนเมืองไทยทุกอย่างได้สำเร็จ
ปี 2546 ผลิตยาที่ทวีปแอฟริกาที่ดังมากและขายดีที่สุดในประเทศแทนซาเนีย คือ ยามาลาเรีย (THAI-TANZUNATE) ยาราคาถูกจาก 360 บาท ผลิตได้ในราคา 36 บาท เท่านั้น ประเทศด้อยพัฒนาในแอฟริกายากจนมาก สมมติว่าโรงพยาบาลหนึ่งมีเตียง 150 เตียง แต่มีคนไข้ที่มาแอดมิด 450 คน นั่นหมายถึง ใน 1 เตียง มีคนไข้ 3 คน นอนบนเตียงเดียวกัน 2 คน นอนกลับหัวกลับหางกัน และนอนใต้เตียงอีก 1 คน เวลาอยู่ที่แอฟริกา ก็ร่อนเร่ไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยมีหลักแหล่ง บางทีก็มีคนช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง บางทีออกเอง เพราะประเทศเขายากจน ไม่มีตังค์ให้หรอก
อุปสรรคชีวิตโลดโผน
เจอเครื่องบินดีเลย์ ไป 24 ชม. บางที เครื่องบินก็พาไปลงผิดประเทศ เสื้อผ้า ต้องมีติดกระเป๋าสะพายตลอดอย่างน้อย 3 ชุด เพราะชุดในกระเป๋าเดินทางที่โหลดไว้ใต้ท้องเครื่องอาจมาช้า ไม่ก็หายไปเลย ที่คองโก นอนอยู่ดี ๆ ก็มีแสงสว่างวาบ ๆ ขึ้นมา ก็คิดในใจว่า ทำไมถึงสว่างเร็วจัง ปรากฏว่าไม่ใช่แต่เป็น ระเบิดที่เขายิงมา โดยมีเป้าหมายที่บ้านพักของดิฉัน แต่เขากะพลาดไปหน่อย เลยไปตกข้าง ๆ บ้านแทน คิดว่า คงเป็นฝีมือของพวกที่เขาคิดว่าดิฉันเป็นศัตรูนั่นแหล่ะค่ะ ตอนไปช่วยเหลือที่ ไนจีเรีย ต้องเดินทางตอนตี 1 จากสนามบิน เข้าสุ่ที่พัก คนเดียว ไม่มีคนมารับ นั่งแท๊กซี่ไป ถูกคนเอาปืนมาจี้ 5 ครั้ง ในคืนเดียว รอดมาได้หมดทุกครั้ง และไม่มีใครเอาทรัพย์สินไปเลยสักคนเดียว ด้วยเหตุผล "ฉันมาช่วยคนในประเทศเธอน่ะ...อยากได้อะไรก็เอาไปเลย" เลยไม่มีคนจี้ต่อ แต่เสียเวลาไป 4 ชั่วโมง กับการเดินทาง 20 กม. เพราะมัวแต่โดนจี้ไป 5 ครั้ง
สื่อของฝรั่งเศสและเยอรมนี ชื่นชมการทำงานมาก นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์จนได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 3 รางวัล
ประเภท หนังสารคดี

No comments:

Post a Comment