4/29/13

22-23 เมย 2556 วิทยากร_การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง จ.ยโสธร


22-23 เมย 2556 วิทยากร_การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง จ.ยโสธร
กิจกรรม วันที่ 22-23 เมษายน 2556 วิทยากร_การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการบำบัดฟื้นฟู สมรรถภาพผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด หลักสูตร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง  ณ โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัด ยโสธร 
นายแพทย์ สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร มอบหมายให้ นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรมป้องกัน) ทำหน้าที่ ประธานการประชุม และ วิทยากรบรรยายพิเศษ
                   วิทยากร หลักจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ขอนแก่น กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
                   วัตถุประสงค์หลักคือ การสร้างวิทยากร หลักสูตร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ผู้ใช้ยาและสารเสพติด ได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างถูกต้อง มีทักษะในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากยาเสพติด มีการปรับเปลี่ยนสภาวะสุขภาพ เกิดแรงจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อ ลด ละ และเลิก ยาเสพติด
                   การจัดทำค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหากลุ่มผู้ใช้ยาและสารเสพติด ที่มีจำนวนมาก ให้มีความรู้และมีทักษะในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากยาเสพติด สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
                   เนื้อหาการฝึกอบรม เพื่อให้ วิทยากรผู้ข้ารับการอบรม มีทักษะ ทั้ง 5 กลุ่มวิชาหลัก ของการเข้าค่าย ประกอบด้วย
กลุ่มวิชาที่ 1 การประเมินสภาพ  คัดกรอง และประเมินปัญหาความต้องการ
กลุ่มวิชาที่ 2 การให้คำบริการปรึกษา  ( Counseling)
กลุ่มวิชาที่ 3 กลุ่มทักษะการสร้างแรงจูงใจ
กลุ่มวิชาที่ 4 ทักษะการทำหน้าที่ครอบครัว
กลุ่มวิชาที่ 5 กลุ่มทักษะการพัฒนาการควบคุมตนเอง

                   เนื้อหาวิชา เช่น การทำหน้าที่ของครอบครัว 6 ด้าน
ด้านที่ 1.การแก้ไขปัญหา (Problem Solving) ความสามารถของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้ง ปัญหาด้านวัตถุ (Instrumental) และ ปัญหาด้านอารมณ์ (Affective)
ด้านที่ 2. การสื่อสารในครอบครัว (Family Communication)      เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี รวมทั้งการแสดงความรักและความชื่นชมต่อกัน อีกทั้งการสื่อสารนั้นเองที่จะช่วยให้ครอบครัวสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ด้านที่ 3. บทบาทในครอบครัว (Role)หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกแต่ละคนประพฤติต่อกันและกัน ซ้ำๆ เป็นประจำ เพื่อทำให้ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์
ด้านที่ 4. การตอบสนองทางอารมณ์ (Affective Responsiveness)  ความสามารถที่จะตอบสนองทางอารมณ์ต่อสิ่งกระตุ้นอย่างเหมาะสมทั้งใน อารมณ์ในภาวะปกติ และอารมณ์ในภาวะวิกฤติ
                   อารมณ์ในภาวะปกติ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นสุขหรือเป็นไปในทางบวก เช่น อารมณ์รัก ความสุข ความยินดี  ส่วน อารมณ์ในภาวะวิกฤติ ได้แก่ อารมณ์ที่เป็นไปในทางลบ เช่น ความกลัว โกรธ เศร้า เสียใจ ผิดหวัง
ด้านที่ 5.  ความผูกพันทางอารมณ์ (Affective Involvement)  ระดับการแสดงออกซึ่งความสนใจการเห็นคุณค่าในสิ่งต่างๆที่สมาชิกแต่ละคนทำ รวมทั้งระดับความรู้สึกผูกพันห่วงใยที่แต่ละบุคคลมีต่อกัน
ด้านที่ 6. การควบคุมพฤติกรรม (Behavior Control)  แบบแผนที่ครอบครัวปฏิบัติในการควบคุมหรือจัดการกับพฤติกรรมของสมาชิกในสถานการณ์ต่างๆ  
                   จัดการประชุม โดย นางนิภาภรณ์    ภาคพรหม  หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางสิริพร พงศ์พัฒนโชติ  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางพิสมัย  รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ
            ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ทุกแห่ง รวม 150 คน
            สำหรับ คณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ประกอบด้วย
1.     นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
2.     นส.สุภาพร  บุญเชื้อ นักวิชาการสาธารณสุข  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย
3.     นายณรงค์เดช บุญไธสง เจ้าพนักงานเภสัชกรรม รพ.สต.ดงแคนใหญ่
4.     นางเกษรินทร์ วงเวียน  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย
5.     นางรัศมี  โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหลู่
6.     นายพรรณลิณ อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
7.     นายวีระวัฒน์ กำศร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
8.     นางสาวหทัยชนก  จันทรากาศ         นักวิชาการสาธารณสุข       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง
9.     นางสาวพรทิวา  ทองทา นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.  กู่จาน
10.  นางกิติชา เดชกิตติวัชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เหล่าไฮ
11.  นางอุมาพร ชมพูวงษ์ นักวิชาการสาธาณรสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมน
12.  นางสาวจิราภรณ์  ขอสุข พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ
13.  นายบุญทศ ประจำถิ่น จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ
14.  นายธานินทร์   ซื่อตรง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน รพ.สต. โพนทัน
15.           น.ส. กนกวรรณ ชาวอุบล  เจ้าพนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย
16.           นางปราณี  ศรีแสน  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดกุง
17.  ว่าที่ ร.ต.ทวีชัย ค้าขาย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสิม
18.  นางนัยนา  ดวงศรี หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
19.  นางสถาพร พันพิพัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

No comments:

Post a Comment