7/27/13

23-26 กค.2556 อาลัย:พ่อวันทา รวมธรรม ผู้ใหญ่ผู้สร้าง_บ้านบกน้อย

23-26 กค.2556 อาลัย:พ่อวันทา รวมธรรม ผู้ใหญ่ผู้สร้าง_บ้านบกน้อย
วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ ครอบครัว ร่วมเป็นเจ้าภาพ สวด อภิธรรมศพ ไว้อาลัย แด่ นายวันทา รวมธรรม อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านบกน้อย ณ บ้านบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
สวด อภิธรรมศพวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2556
วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ ครอบครัว ร่วม งาน ฌาปนกิจศพ นายวันทา รวมธรรม อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านบกน้อย ณ เมรุ วัด บ้านบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ประธานสงฆ์ โดย  พระครูสุนทรธรรมาราม เจ้าคณะตำบลกลางใหญ่ วัดป่าสุคตาวาส (หลวงปู่สุดตา
ประธานฝ่ายฆราวาส โดย นายนิพัทธ์เดช ไชยช่วย นายกสมาคม ศิษย์เก่า ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร
นายวันทา รวมธรรม ผู้ใหญ่ผู้สร้าง_บ้านบกน้อย
พ่อวันทา รวมธรรม เกิด 16 กันยายน 2486 มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 8 คน
เสียชีวิต วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 เวลา 08.38 น. สิริ อายุ 69 ปี 10 เดือน 7 วัน
นายวันทา รวมธรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ เมื่อ 24 มีนาคม 2529
ถึง ปี 2539
ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ เมื่อ 1 สิงหาคม 2526 (ผญบ.สา รวมธรรม)
ตลอดเวลา ที่ อยู่ในตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ได้วางรากฐานการพัฒนาและ ร่วมกับลูกบ้าน พัฒนา บ้านบกน้อย ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น และเป็นตัวอย่างที่ดี แก่หมู่บ้านอื่นๆ ในหลายๆด้าน ซึ่งต้องขอชื่นชม ท่านอาจารย์เชิดชัย สิงคิบุตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร พิธีกรในงานวันนี้ ที่รวบรวม ไว้ได้สมบูรณ์ดีมาก สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
            นายวันทา รวมธรรม เป็นคณะกรรมการศึกษา โรงเรียนบ้านบกน้อย
            เป็นผู้ก่อตั้ง กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต บ้านบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ เมื่อ 6 กันยายน 2533
            รางวัลหมู่บ้าน กองทุนดีเด่น ทางด้านทัตสาธารณสุข เมื่อ 21 ตุลาคม 2533
ก่อตั้งและบริหารโรงสีกลุ่ม ฉางข้าวรวมใจ จนเจริญรุ่งเรือง มีเงินปันผลคืนกลับให้ผู้ถือหุ้น ทุกปี
โดยเมื่อเริ่มก่อตั้ง ระดมทุนผ้าป่าจากประชาชน จัดซื้อที่ดิน เนื้อที่ 1 ไร่ ราคา 25,000( สองหมื่นห้าพันบาท)
            บ้านบกน้อย มีโอกาสได้ต้อนรับ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในโอกาส มาเป็นประธาน เปิด ฉางร่วมใจ เฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 3 เมษายน 2535 นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุด แก่หมู่บ้านบกน้อย และ ชาวอำเภอคำเขื่อนแก้ว
            พัฒนาหมู่บ้านบกน้อย  จน ผ่านการประเมิน เป็น หมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for All) เมื่อ 28 กันยายน 2537
            หมู่บ้านบกน้อย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 หมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for All) ระดับจังหวัด
เมื่อ 14 มกราคม 2538

            นอกจากนั้น ผลงานที่ประชาชนทั่วไปยังคงจารึกไว้เสมอมา อาทิเช่น
นอกจากนั้น
1.การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี อันดีงามของหมู่บ้าน ทั้ง งานบุญผะเหวด บุญเบิกบ้าน งานจำศีล ปฏิบัติธรรม
ทุกวันพระและในเทศกาลเข้าพรรษา
            2.ไม่อนุญาต ให้ดื่มเหล้า ในวัด (ทำมาก่อนที่กฎหมายจะบังคับ ในปี 2551)
3.ไม่อนุญาต ให้แสดงมหรสพ หมอลำ ในเขตบริเวณวัด แต่จัดสถานที่สำหรับแสดงมหรสพ ไว้เป็นการเฉพาะ
            4.ก่อตั้งและบริหารสหการร้านค้าหมู่บ้านบกน้อย จนเจริญรุ่งเรือง มีเงินปันผลคืนกลับให้ผู้ถือหุ้น ปีละ หลายแสนบาท
5.รักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของหมู่บ้าน อยู่เสมอ โดยเฉพาะในเทศกาล วันสำคัญ
อาทิเช่น วันที่ 5 ธันวาคม และ วันที่ 8 สิงหาคม ของทุกๆปี เป็นต้น
6.การอนุรักษ์พันธุ์ปลา และรักษาความสามัคคี ระหว่างหมู่บ้าน ร่วมกับ ประชาชน บ้านบกน้อย บ้านหนองแปน อนุรักษ์พันธุ์ปลา ในหนองหิน เอาไว้ ห้าม จับปลา ตลอดปี ยกเว้น ในช่วงเทศกาล สงกรานต์ ที่เรียกว่า วันเนา ทั้ง สองหมู่บ้าน จะไป กินข้าวป่าร่วมกัน ใครจับได้เท่าไร ก็สามารถจับได้ เลย แต่ให้ใช้อุปกรณ์ เพียงอย่างเดียวคือ แห เท่านั้น เปิดตั้งแต่ เช้า จนถึงตะวันตกดิน หลังจากนั้น ก็ปิด จนกว่าจะถึงวันเนา ปีต่อไป
7.การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในยุคสมัยนั้น ไม่มีปัญหาการแร่ระบาด ของ ยาเสพติด ในหมู่บ้านบกน้อย เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ใหญ่บ้าน บกน้อย ที่ ดำรงตำแหน่งต่อจากท่าน ก็ได้ยึดเป็นแนวทาง ปฏิบัติ สืบทอดต่อมา จนถึงทุกวันนี้ ทั้ง ผู้ใหญ่เมาะ นายสัมฤทธิ์ รวมธรรม อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านบกน้อย
ผู้ใหญ่สา นายหัตสา  สีนวน อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านบกน้อย และ ผู้ใหญ่แหม่ม นายพุทธา รวมธรรม ผู้ใหญ่บ้าน บ้านบกน้อย คนปัจจุบัน
เจ้าภาพ ขอขอบพระคุณ แขกและญาติมิตร ทุกๆ ท่านที่มาร่วมงาน และร่วมอุทิศส่วนกุศล ในงาน ตลอดหลายวันที่ผ่านมา และ ทุกๆ ท่านในวันนี้ด้วย
เจ้าภาพโดย นางคำภา ทำทอง ภรรยา
นายกฤษณา รวมธรรม บุตรชาย  นางฉวี รวมธรรม บุตรสะใภ้
นายพัทยา รวมธรรม บุตรชาย  นางพัชรินทร์ รวมธรรม บุตรสะใภ้
นางวิจิตร บุญสุข บุตรสาว  นายประสิทธิ์ บุญสุข บุตรเขย

นางราณี ทำทอง บุตรสาว  นายเลิศชาย ทำทอง บุตรเขย 























25 กค.2556 คปสอ.คำเขื่อนแก้ว:ใส่ใจSTOP TEEN MOM

25 กค.2556 คปสอ.คำเขื่อนแก้ว:ใส่ใจSTOP TEEN MOM
วันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เตรียมเอกสารวาระการ ประชุม คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.)คำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม ม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  เวลา 13.29 น.
ประธานการประชุม โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
พญ.เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำคณะกรรมการจาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วเข้าร่วมประชุม อย่างอบอุ่น
วาระการประชุม ที่สำคัญ อาทิเช่น
4.1 การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever: DHF)
4.2 การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Influenza: SI)
4.3 การประเมินคุณภาพการให้บริการ EPI ประจำปี 2556
4.4 การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ระดับเพชร ประจำปี 2556
4.5 การป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น (Adolescent Pregnancy) หรือ STOP TEEN MOM
4.6 การพัฒนาคุณภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนการบริการ (หมอครอบครัว)
4.7 การพัฒนาศักยภาพ อสม . ประจำปี 2556
4.8 ความก้าวหน้า การดำเนินงาน ODOP: DM&HT อำเภอคำเขื่อนแก้ว
4.4 สนับสนุนการปฏิบัติงาน DM&HT ในระบบเครือข่ายบริการ (Node)
4.5 การลงนาม ปฏิญาณตน งดเหล้า เข้าพรรษา

ภายใต้ Concept พวกเราบุคลากรสาธารณสุข ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับประชาชน 

23 กค.2556 เข้าพรรษาวันงดดื่มสุราแห่งชาติ

23 กค.2556 เข้าพรรษาวันงดดื่มสุราแห่งชาติ
วันที่ 23 กรกฎาคม 2556 กิจกรรมที่ปฏิบัติต่อเนื่องมา หลายสบปี
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เชิญชวน ญาติพี่น้อง และประชาชน  เข้าร่วมกิจกรรม
ตามโครงการ งดดื่มสุราแห่งชาติ ทำดีถวายในหลวง ทั้งนี้จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบประกาศให้เทศกาลเข้าพรรษา 3 เดือน เป็นช่วงงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ทุกส่วนราชการ ตำรวจ ทหาร และสถานประกอบการร่วมสนับสนุนกิจกรรมนี้ รวมถึงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด จัดพิธีลงนามปฏิญาณตนงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษาโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อประชาสัมพันธ์โทษ พิษ ภัย และผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งเสริมให้คนไทยงด ลด ละ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง และทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่ง ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน โดยเป็นประธานลงนามร่วมปฏิญาณงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษาอย่างเป็นทางการที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 เวลา13.00 น. ที่ผ่านมา และในโอกาสนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะส่งสมุดลงนามปฏิญาณตนทำความดีแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปให้ทุกจังหวัดเพื่อให้ประชาชนลงนามพร้อมกันทั่วประเทศ
เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว86 พรรษา และในโอกาสฉลองพระชนมายุ100 ปี สมเด็จพระญาณสังวรณ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ในปี2556นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำ
 โครงการรณรงค์งดดื่มสุราแห่งชาติ 2556 ภายใต้แนวคิด ทำความดีถวายในหลวง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กำหนดห้ามขายเหล้าทุกชนิดให้วันพระใหญ่ 4 วัน คือ
วันมาฆบูชา วิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา นอกจากนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อพ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ วันเข้าพรรษา เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2556

            ด้าน นายสมเพชร  สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ ปฏิบัติตาม โครงการ งดดื่มสุราแห่งชาติ ทำดีถวายในหลวง  นำ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง กำนัน ชุดปฏิบัติการตำบลและผู้นำองค์กรภาคประชาชน เพื่อร่วมกัน สร้างความยั่งยืนวาระคำเขื่อนแก้ว "การจัดงานศพ งานบุญประเพณีปลอดเหล้าและปลอดการพนัน " ณ หอประชุม ๑๐๐ ปีอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ทั้งนี้ ได้ สนับสนุน สมุด ลงนามปฏิญาณตนทำความดีแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กับทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เล่มด้วย 









23 กค.2556 หลายคนUnseenเกล็ดลิ่นใหญ่สมุนไพรไทย:ดอก ใบ สวยงาม

 23 กค.2556 หลายคนUnseenเกล็ดลิ่นใหญ่สมุนไพรไทย:ดอก ใบ สวยงาม
วันที่ 22-23 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง พร้อมครอบครัว ไปพักผ่อน ทำสวน ทำไร่ เพื่อความเพลิดเลิน ของชีวิต ในเทศกาลวันหยุด ณ สวน หรือ ไร่ เล็กๆ ของเรา แหล่ง ฝึกประสบการณ์ ชีวิต ของ ลูกๆ บ้านบกน้อย ของเรา
วันนี้ เรียนเรื่อง การบำรุง รักษา และอนุรักษ์ พันธุ์ไม้ ท้องถิ่น ชื่อ เกล็ดลิ่นหรือเกล็ดลิ่นใหญ่ ที่มีอยู่ทั่วไป แต่ หากไม่    อนุรักษ์ ไว้ ในอนาคต อาจสูญพันธุ์ ได้   เกล็ดลิ่นหรือเกล็ดลิ่นใหญ่ มีต้น ดอก และใบ สวยงาม ตามธรรมชาติ
ตามภาพที่เห็น  หลายคนนำไปปลูก เป็นไม้ประดับ ตามบ้าน ตามสวน
อาจจะเป็น UNSEEN สำหรับ บางคน หรือ หลายๆคนก็ได้  เพราะ มันเป็น พันธุ์ไม้ประจำถิ่น ของ แถบภาคอีสานใต้ของเรา 
สำหรับผม เห็นต้นไม้ประเภทนี้ตั้งแต่เป็นเด็ก เริ่มจำความได้ จะเห็น คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง นำมาใช้เป็นไม้มงคล ในงานพิธีต่างๆของครอบครัว อาทิเช่น วางเสาเอกการปลูกสร้าง
และ ทุกๆปี ในดูกาล การเก็บเกี่ยว ก่อนจะนำข้างขึ้น เล้า หรือ ยุ้ง ฉาง ต้อง ต้นไม้ประเภทนี้ มา เสียไว้ตาม คาน ของ ยุ้ง ฉาง ทั้ง สี่ทิศ เพื่อเป็นสิริมงคล และจำไม่นำออก จนกว่า จะถึง วันเพ็ญ เดือนสาม ในปีนั้น ๆ ซึ่งจะ สามารถ นำข้าว ออกจาก เล้า หรือ ยุ้ง ฉางได้ เล้า หรือ ยุ้ง ฉาง  ฉะนั้น จึงต้อง สำรองข้าว ไว้ ให้พอกิน จนถึง วันเพ็ญ เดือนสาม
คุณพ่อบอกว่า ถ้า หาก นำข้าว ออกจาก เล้า หรือ ยุ้ง ฉาง ก่อนกำหนด ในวันเพ็ญ เดือนสามจะ คะลำ
(คะลำ แปลว่า ไม่เป็นมงคล หรือ ไม่เจริญ ก้าวหน้า หรือ ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือไม่สบาย ไม่สบายใจ )






สรรพคุณด้านสมุนไพร
ขอบพระคุณ ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รวบรวม สรรพคุณ ของ พันธุ์ไม้ประเภทนี้ ด้าน หมอยาพื้นบ้าน ไว้  เช่น
สรรพคุณ เกล็ดลิ่นหรือเกล็ดลิ่นใหญ่
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหาร  ใช้  ราก แก้ไข้
ยาพื้นบ้าน  ใช้  ราก รสจืดเฝื่อน ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับพิการ (อาการผิดปกติของตับ) ผสมกับรากกระดูกอึ่ง รากกาสามปีกใหญ่ รากโมกมัน และรากหางหมาจอก ต้มน้ำดื่ม แก้คุณไสย (มีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่ง ร้องไห้) เปลือกราก รสจืดเฝื่อน ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ใบ รสจืด ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ปัสสาวะดำ แก้ไข้จับสั่น
รายละเอียด  ที่ นี่

20 กค.2556: สักการะ พระพุทธรูปทองคำใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดไตรมิตร Bangkok

20 กค.2556: สักการะ พระพุทธรูปทองคำใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดไตรมิตร Bangkok
วันที่ 20 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับครอบครัว
ทำบุญ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา สักการะ พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรหรือ หลวงพ่อทองคำ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ณ พระวิหารแห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
            และ สักการะ พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือ หลวงพ่อทองคำ” หรือที่มีนามซึ่งปรากฏตามพระราชทินนาม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”
การค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามในครั้งกระนั้น ได้เป็นข่าวสำคัญอย่างอึกกะทึกครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ หลายฉบับ ต่างก็พากันประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางความปลื้มปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า มีการตรวจสอบ และประเมินเนื้อทองขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา (มาตราทองคำของไทยโบราณตั้งไว้ตั้งแต่ทองเนื้อสี่ คือทองหนัก ๑ บาท จะมีค่า ๔ บาท ทองเนื้อเจ็ด คือทองหนัก ๑ บาท จะมีค่า ๗ บาท ซึ่งเป็นทองที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขาหมายถึง ๒ สลึง) มีน้ำหนักกว่า ๕ ตัน คิดเป็นน้ำหนักทองคำ ๒๕,๐๐๐ ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘ ) ๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ ๒๙๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยเก้าสิบสี่ล้านบาท) อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก
       พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร นับเป็น พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกหนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓) และบันทึกไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑ ล้านปอนด์ แล้วบันทึกลงเป็นข้อความว่า
 Highest intrinsic value is the 15th-century gold Buddah in Wat Trimitr Temple in Bangkok, Thailand. It is 3-04 m 10 ft tall and weighs an estimated 51/2 tonnes. At the April 1990 price of $ 227 per fine ounce, its intrinsic worth was $ 21.1 million. The gold under the plaster exterior was found only in 1954.   สำหรับประวัติโดยละเอียด สามารถศึกษา ได้ จาก ที่นี่

เปรียบเทียบ  พระพักตร์ ก่อน การกระเทาะ ปูนปั้น ออก และ หลังจาก กระเทาะ ปูนปั้น ออกแล้ว เห็นเป็นพระพุทธรูปทองคำ สวยงาม 




7/26/13

18-19กค.2556: ODOP:DHS:UCARE:มองไปข้างหน้า ก็มีความหวัง มองไปข้างหลังก็ไม่เสียใจ

18-19กค.2556: ODOP:DHS:UCARE:มองไปข้างหน้า ก็มีความหวัง มองไปข้างหลังก็ไม่เสียใจ
วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วม การประชุม เวทีสัมมนา ผู้ประสานงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ณ โรงแรม ริชมอนด์ ถนนรันาธิเบศร 18 จังหวัดนนทบุรี มีผู้เข้าร่วมประชุม จาก ทุก เขต ทั่วประเทศ กว่า 300 คน
ประธาน โดย นพ.โสภณ เมฆธณ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อำนวยการจัดการประชุม โดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากกร ผู้อำนวยการ สํานักบริหารการสาธารณสุข
วิทยากรพิเศษ โดย รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ที่ปรึกษา สปสช.ด้านการบริการปฐมภูมิ
            นพ.โสภณ เมฆธณ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้บรรยายพิเศษ และให้ข้อคิด ในเวทีนี้ ไว้อย่างน่าสนใจ  สรุปความว่า
ใน District Health System DHS  นั้น ด้านความสามารถหรือ ability นั้น พวกเรามีพร้อมอยู่แล้วทุกคน
ตัวเชื่อมที่สำคัญที่สุด คือ ใจ ถ้าเรามีใจแล้ว สามารถที่จะทำอะไรก็ทำได้ ทั้งนั้น แต่จะให้สำเร็จได้ นั้น นอกจากมีใจแล้ว ต้องมี น้ำใจ ให้แก่กันและกันด้วย  ฉะนั้น CUP ใด ที่พร้อมทั้ง ใจ (Motivation) และ ความสามารถ (ability) ก็จะเป็น DHS ที่สมบูรณ์ โดย เน้นการทำงาน แบบมีเป้าหมายร่วม ผ่านกระบวนการชื่นชม และการสนับสนุน ในระบบทีม
            DHS ทั้ง 5 องค์ประกบนั้น จำกันง่ายๆ ก็ ให้ ใช้คำว่า U CARE
U: Unity team
C: Community Participation
A: Appreciation
R: Resource Sharing ( หรือ Development and Resource Sharing ผ่านกระบวนการ KM CBL R2R)
E: Essential Care
            ทำ DHS ให้ครบ 5 องค์ประกอบ U CARE และ ผลงาน หรือผลลัพธ์ ที่ได้ ก็จะ CARE YOU
DHS เป็นส่วนหนึ่งของ Service Plan ซึ่งมีแนวคิดหลักในการทำงาน สนับสนุนการบิการให้เกิดความคุ้มค่า ใช้ระบบพี่ช่วยน้อง น้องช่วยพี่ พี่น้องช่วยเหลือกัน สามารถใช้ คน เงิน ของ ร่วมกันได้  โดยมี ODOP เป็นเครื่องมือ ในการทำงานร่วมกัน
            อย่าให้ DHSเป็น NATO (No Action Talk Only) หรือ
อย่าให้ DHSเป็นNAMO (No Action Meeting Only)
            หากพวกเรา มีใจ และ มีน้ำใจให้กัน ร่วมมือ กัน อย่างจริงจัง  ทำงาน เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขและภัยสุขภาพให้กับประชาชน ที่อยู่ในหน่วยรบ ระดับอำเภอของเราแล้ว ผลของมันออกมาอย่างไร ก็จะได้ความสุข ร่วมกัน ไม่ว่า จะสำเร็จ หรือ ล้มเหลว  สรุปว่า มองไปข้างหน้า ก็มีความหวัง มองไปข้างหลังก็ไม่เสียใจ
One District One Project:ODOP นั้น เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน ไม่ต้องไปกังวลว่า จะสำเร็จ หรือล้มเหลว ผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ที่สำคัญคือ มีกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน Learning&Growth ทำไป ปรับไป PDCA ไปเรื่อยๆ เน้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยสหสาขาอาชีพ ที่ไม่ใช่ เพียง สหวิชาชีพ ในวงการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น
            ODOP ที่ดี ของ DHS ต้อง มีองค์ประกอบ ครบ 3 I
I: Information ต้อง มี Information เป็น ตัว Base on ของปัญหา หรือ มี นโยบาย เป็นตัวกำกับ หากไม่มีต้องทำR2Rหาปัญหาออกมา ร่วมกัน
I: Innovation   ต้อง มี Innovation           ที่สามารถ ขายได้ และ สามารถทำได้จริง
I: Intervention ต้อง มี Intervention ที่สำคัญ ODOP นั้น ไม่สามารถเสร็จสิ้นได้ ปีต่อปี ต้องทำอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทำไป ปรับไป
            ที่ว่า DHS เป็นส่วนหนึ่งของ Service Plan นั้น ก็เพราะ Service Plan มี การพัฒนาครอบคลุม ทั้ง 3 ด้าน
ด้านที่ 1  ด้านการแพทย์ หรือ ด้านการรักษาพยาบาล
            เน้นการพัฒนา ตามศักยภาพด้านการรักษาพยาบาล ของ เขต หรือ เครือข่ายบริการ ทั้ง 12 เขต
            ที่แต่ละเขต มี Population for Performance หรือ พอเหมาะๆ ไม่มาก หรือ น้อยเกินไป ที่จะ ช่วยเหลือ กันเองได้ ภายในเขต โดยประชากรที่ พอเหมาะนี้ ประมาณ 3-5 ล้านคน ต่อเขตบริการ
ด้านที่ 2  ด้านการสาธารณสุข หรือ ด้านการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ หรือP&P
            แนวคิดหลักคือ ทำอย่างไร ไม่ให้ป่วย จุดแตกหัก ของแนวรบด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ อยู่ที่ระดับ อำเภอ โดย เอา คปสอ. บวกกับ ภาคประชาสังคมอื่นๆ ที่เรียกว่า Social Determinant ทำงานร่วมกัน เป้าหมายหลักการทำงานด้านนี้คือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ทอดทิ้งกัน   โดยมี การพัฒนา เครือข่ายบริการปฐมภูมิ ให้เป็น สถานบริการที่ ประชาชน ไว้วางใจได้
ด้านที่ 3  ด้านการบริหารจัดการ  แนวคิดหลัก คือ ใช้เงินน้อย แต่ได้ผลงานมาก หรือประโยชน์สูง ประหยัดสุด
            เครื่องมือ อุปกรณ์ ต้องเป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ ของประชาชน ไม่ใช่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ของ โรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่ง เครื่องมือ อุปกรณ์บางอย่าง ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับ อำเภอ จึงจะคุ้มค่า
เครื่องมือ อุปกรณ์บางอย่าง ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับ จังหวัด  จึงจะคุ้มค่า
เครื่องมือ อุปกรณ์บางอย่าง ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับ เขต  จึงจะคุ้มค่า
เช่น รถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องมือแพทย์ สามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับอำเภอ จึงจะคุ้มค่า
เช่น เครื่องมือ การตรวจ ตา สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งจังหวัดจึงจะคุ้มค่า
เช่น เครื่องมือ การ Mammogram สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้ง เขต จึงจะคุ้มค่าเป็นต้น
            โดย เมื่อรวม ทั้ง 3 ด้านแล้ว ผลลัพธ์ ในระยะยาว ที่มุ่งหวัง คือ การมีอายุยืนยาว และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือ 3 ดี ที่พวกเราคุ้นเคย คือ สุขภาพดี เป็นคนดี และ มีรายได้พอดี ซึ่งเป็น เป้าหมาย หลัก ของ DHS
.... ทางด้าน นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์ นักวิชาการอิสระ อดีต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 20 ปี ผู้จัดการโครงการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล ด้วนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สรุปความว่า
ระบบสุขภาพของไทย ในปัจจุบัน ถ้าเปรียบเหมือคน ก็ เป็น คนที่สมบูรณ์ดี แต่ มี ขาข้างหนึ่งสมบูรณ์ แข็งแรง อีก ข้างหนึ่ง ขาลีบ หรือ แทบจะพิการเลยก็ว่าได้
ขาข้างหนึ่งสมบูรณ์ แข็งแรง คือ ขาด้านการแพทย์ ในแต่ละปี งบประมาณด้านนี้ เป็นสัดส่วนที่มากที่สุด มากทุกๆปี และมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารทุกยุค ทุกสมัย ทุ่มเท การพัฒนาด้านนี้มากมาย จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก แต่ ประชาชนไทย ก็ยังมีสุขภาพดี ไม่เกินไปกว่า ประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ย่ำแย่กว่า เพื่อนบ้านบางประเทศ
ขาข้างที่ลีบ หรือ แทบจะพิการ คือ ขาด้านการสาธารณสุข การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ งบประมาณ ที่ทุ่มเทลงไปในระบบราชการ ของกระทรวงสาธารณสุข ยังไปไม่ถึง ขาด้านนี้ นานๆ ไป หากไม่ได้รับดูแล เท่าที่ควร อาจจะ พิการถาวร แล้ว เมื่อ ขา ข้างหนึ่งเล็ก และลีบ จะเป็นคนที่ สมบูรณ์ แข็งแรง ได้อย่างไร
DHS จึง เป็นจุดเริ่ม ของการให้ความสำคัญ และใส่ ใจ ขาที่ลีบ ที่กำลังพิการให้กลับฟื้นคืน สภาพ ซึ่ง อาจจะต้องใช้เวลา นานพอสมควร แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ
โรงพยาบาลชุมชน มีศักยภาพ และทรัพยากรมากมาย เพียงแต่ ศักยภาพ และทรัพยากร เหล่านั้น ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์ ให้คุ้มค่า กับประชาชน เท่าที่ควร ศักยภาพ และทรัพยากร ของ โรงพยาบาลชุมชน ส่วนมาก จะสนับสนุน เฉพาะ คน ใน โรงพยาบาลชุมชน หรือ ประชาชน ที่อยู่ในเขต ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาลชุมชน เท่านั้น แต่มี หลายแห่ง ที่มีแนวความคิด การให้บริการเชิงรุก เช่น มีทันตแพทย์ หรือ เภสัชกร บางคน กล้าที่จะ ทำความดี กับประชาชน โดยการ ก้าว ออกจากห้อง แอร์ ห้องกระจก ไปหา ชาวบ้าน เพราะ เมื่อ ก้าว ออกจาก ห้อง แอร์ ห้องกระจก ออกไปหาชาวบ้าน สิ่งที่เขาได้รับกลับมา คือ ความสุข
( ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ผม ก็รู้จัก เภสัชกร ที่มีคุณสมบัติ ตามที่ท่าน นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์ กล่าวถึง เหมือนกัน คือ ภก.กฤษฎา จักรไชย เภสัชกร ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่ครับ แต่ ทันตแพทย์ ผมยังไม่เคยเห็นครับ )
คณะวิทยากร ที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ประกอบด้วย คณะแพทย์กลุ่ม Yong Turk ที่มี แนวคิด ก้าวหน้า และประสบการณ์ การทำงาน เพื่อบริการประชาชน ให้มีดุลภาพสำหรับการพึ่งตนเองได้ ทั้ง ด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขในพื้นที่ จนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี หรือ เป็นต้นแบบ การปฏิบัติงาน ตาม โครงการ DHS ในปัจจุบัน
ซึ่งผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่างขอชื่นชม มา ณ โอกาสนี้ ประกอบด้วย
นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัด สงขลา
นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แก่งคอย จังหวัด สระบุรี
นพ.ประวิตร วณิชชานนท์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ละงู จังหวัด สตูล
นพ.เดชา แซ่หลี  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กะพ้อ จังหวัด ปัตตานี
นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์เป็นต้น
            มีแพทย์ อีก หลายๆ คน ที่ไม่ได้มาร่วมในเวทีแห่งนี้ แต่ เป็นแพทย์ ที่มีแนวความคิดหัวก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพดี อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข ที่ทำงานกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น นายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ที่อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. นพ.สุธี สดดี ที่ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รัชฎาพร รุญเจริญ ที่ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ หรือ นพ.ศิษฎิคมน์ เบ็ญจขันธ์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

ให้กำลังใจแพทย์ เหล่านั้นด้วยนะครับ เพื่อ ที่เขาจะได้เผยแพร่ การติดเชื้อดี ดี เหล่านี้ ให้กระจาย ไป ให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยเลยครับ โดเฉพาะ อาจารย์แพทย์ ในมหาวิทยาลัย ถ้า ใส่ความรู้ เจตคติ การทำงาน เพื่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่จำเป็นต้องได้ถึงครึ่งของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี หรือ นพ.อมร นนทสุตร หรือ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ก็ได้ แต่ให้ได้ครึ่ง ของ  รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ผม ก็คิดว่า ประชาชน จะอนุโมทนาสาธุการด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ