3 กค.2556 นพ.ทวีเกียรติ
บุญยไพศาลเจริญ_คำแนะนำดีดีที่:คำเขื่อนแก้ว
วันที่
2 กรกฎาคม 2556 ภาคบ่าย ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
พญ.เพชรวันชัย
จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และคณะ จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ร่วมต้อนรับ นพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายบริการที่ 10 และคณะ* (นพ.เมธี วงศ์เสนา
โรงพยาบาลมะเร็ง เขต 10 ดร.พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ นางกองมณี
สุรวงษ์สิน หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนเครือข่ายบริการที่ ๑๐ นางกนกพร
จิเจริญ เลขานุการผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข)
ในกิจกรรม การตรวจราชการและนิเทศงาน ณ พื้นที่ จังหวัด ยโสธร ณ ห้องประชุม
ม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
คณะผู้บริหารระดับสูง โดย นายแพทย์
สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ( นายแพทย์เชียวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน)
นำคณะผู้บริหาร
จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมคณะในครั้งนี้ด้วย
โดยมี
นายสมเพชร สร้อยสระคู
นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ร่วมต้อนรับและรับคำแนะนำ
ข้อคิด การทำงาน ที่ดี จาก นพ.ทวีเกียรติ
บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เครือข่ายบริการที่ 10 เรื่อง ความเหมือนที่แตกต่าง ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) กับ โรงพยาบาล
“ ความเหมือน คือ มีเตียงให้บริการผู้ป่วยเหมือนกัน
เตียง ที่ดูแลประชาชน เมื่อป่วยแล้ว ทั้ง 2 ระดับ
มีเตียง ให้บริการประชาชนเช่นกัน คือ โรงพยาบาล มีเตียงผู้ป่วยใน
หรือ
Ward โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) ก็มีเตียงให้บริการเช่นกัน แต่เตียงที่ให้บริการคือ ให้บริการที่บ้าน
ไปเยี่ยมผู้ป่วยถึงบ้าน หรือใช้บ้านผู้ป่วยเป็นเตียงคนไข้ (Home Ward)
ความต่าง 1. ด้านศักยภาพ การรักษาพยาบาลที่ต่างกัน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) ไม่มีแพทย์ จึงมีศักยภาพ ให้การรักษาเบื้องต้น ระดับ Primary Care
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) มีแพทย์ จึงมีศักยภาพ ให้การรักษาโดยแพทย์ใน ระดับ Secondary Care และให้บริการครอบคลุมทั้งอำเภอ
การดูแลประชากร
ความต่าง 2. โรงพยาบาล
ให้ความสำคัญ กับ ประชาชนเมื่อป่วยแล้ว เข้ามารับบริการ ณ โรงพยาบาล
(รู้จักเมื่อป่วย) และรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (
รพ.สต.) ทุกแห่งในอำเภอ ให้บริการครอบคลุมทั้งอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(
รพ.สต.) ให้ความสำคัญ กับประชาชนทุกกลุ่ม
ตั้งแต่ ก่อนป่วย จนถึง ป่วยเล็กๆ น้อยๆ
แต่รับผิดชอบจำกัดในเฉพาะพื้นที่ที่รับผิดชอบ
โดยในความเหมือที่แตกต่างนี้ มีเป้าหมายสำคัญ ของการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ คือ
3 ดี สุขภาพดี คนดี มีตังค์ (รายได้พอดี)
ซึ่ง จะเกิด ผลลัพธ์ 3 ดี
ได้ ต้องเกิดจาก หมอครอบครัว ทำงานในพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ สมารถ
ประสานงานกับภาคีเครือข่ายในชุมชนได้ จนเกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลจัดการสุขภาพ
จะส่งผลลัพธ์ ให้เกิด ทั้ง 3 ดี ได้
Key
success factor 3 ประการ ที่จะสำเร็จได้โดยง่าย คือ
ความร่วมมือที่ดี ของ รพ.และ สสอ.โดยผ่านคณะกรรมการ DHS มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
โดยใช้ รพ.เป็น ฐาน(CBL) และ ใช้หลักเวชศาสตร์ครอบครัว
ในการให้บริการ”
ส่วน คำแนะนำ ที่ดี ในการทำงาน ของคณะกรรมการ
DHS คำเขื่อนแก้ว เรื่อง การควบคุมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง นั้น นพ.ทวีเกียรติ
บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เครือข่ายบริการที่ 10 ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า “จาก ยุทธศาสตร์
การพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต เรื่อง ความเท่าเทียมในการรับบริการสุขภาพ
มีตัวชี้วัดที่สำคัญคือ
สัดส่วนแพทย์ ต่อประชากร และ การควบคุมผู้ป่วยเบาหวานได้ การควบคุมผู้ป่วยเบาหวาน
คือ ผู้ป่วยDM
ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 3 ครั้งติดต่อกัน
หรือ HbA1C (เพราะเบาหวาน
เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในคนจนและคนรวย) คือ ต้องตั้งเป้า ร่วมกันว่า
จะลดอัตราการเกิด New Case ใน DM ให้ได้
ร้อยละ 5
จะลดอัตราการเกิด
New Case
ใน HT ให้ได้ ร้อยละ 10 เพิ่มผู้ป่วยDM
ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 3 ครั้งติดต่อกัน
หรือ HbA1C<7 lang="TH" span="">ให้ได้ มากกว่าร้อยละ 7>50
HbA1C
คือตัวชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการควบคุมผู้ป่วยเบาหวาน แม้ว่าการตรวจ
HbA1C จะลงทุนสูง
แต่
พวกเราก็ต้อง ตรวจ HbA1C อย่าไปเสียดายว่า
การตรวจ HbA1C ราคาแพง
เมื่อวิเคราะห์ว่า เมื่อเราจ่ายเงินไปแล้ว ใครได้ประโยชน์ ถ้า โรงพยาบาลเราจ่ายเงินไปแล้ว
ประชาชนได้ ประโยชน์ ก็ควรทำ เรื่อง HbA1C นี้
ผมว่าชาวบ้านได้ประโยชน์แน่นอน ขอเป็นกำลังใจ ให้ ทีมงานคำเขื่อนแก้วทำเรื่องนี้ให้สำเร็จร่วมกันต่อไปครับ”
นายสมเพชร
สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว KKK Chief District Officer ได้กล่าวสรุปสั้นๆว่า
“ในฐานะ นายอำเภอ ผมขอชื่นชม ทีมงาน สาธารณสุข ทั้งจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง
ที่ร่วมกันทำงานร่วมกันด้วยดี ด้วยว่า
เป็นหน่วยงาน องค์กร ต้นแบบ ที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
แบบมีส่วนร่วม และบูรณาการ การทำงานได้เป็นอย่างดี จนมีผลงานระดับประเทศ ต่างๆ
มากมาย ตามที่นำเสนอไปนั้น และเป้าหมาย 3 ดี (สุขภาพดี คนดี
รายได้ดี) ที่ท่านผู้ตรวจฯ ให้นโยบายไว้นั้น จะบรรลุสู่เป้าหมายได้ เพราะ
บุคลากรสาธารณสุขจากทุกหน่วย ล้วนแล้วแต่เป็นคนดี ซึ่งความเป็นคนดี นี้คือ ผลรวมของการดูแลให้ประชาชน
ให้ บรรลุ 3 ดี ได้ ต่อไป ”
ขอบพระคุณ คณะ จาก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ อาทิเช่น
นายบรรจบ
แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
นายพัชรวาท พงษ์สนิท จพ.ทันตสาธารณสุข
ชำนาญงาน
นางประชุมพร กวีกรณ์ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
นางเบญจรัตน์ ผิวเรืองนนท์ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์ฉุกเฉินและพัฒนาระบบส่งต่อ
นางชฎาภรณ์ ชื่นตา หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ
นางสาวจรรยา ดวงแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
นางสุนทรี รัศมิทัต หัวหน้ากลุ่มงานสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม
นางเยาวดี ชาญศิลป์ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพจิต
นางสุวรรณี แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ
ทรัพยากรบุคคลและสุขภาพภาคประชาชน
นางทัศนีย์
บุญล้น หัวหน้างานการเงิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นส.สิริกัลยา
อุปนิสากร นักวิชาการสาธารณสุข
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
No comments:
Post a Comment