7/26/13

18-19กค.2556: ODOP:DHS:UCARE:มองไปข้างหน้า ก็มีความหวัง มองไปข้างหลังก็ไม่เสียใจ

18-19กค.2556: ODOP:DHS:UCARE:มองไปข้างหน้า ก็มีความหวัง มองไปข้างหลังก็ไม่เสียใจ
วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วม การประชุม เวทีสัมมนา ผู้ประสานงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ณ โรงแรม ริชมอนด์ ถนนรันาธิเบศร 18 จังหวัดนนทบุรี มีผู้เข้าร่วมประชุม จาก ทุก เขต ทั่วประเทศ กว่า 300 คน
ประธาน โดย นพ.โสภณ เมฆธณ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อำนวยการจัดการประชุม โดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากกร ผู้อำนวยการ สํานักบริหารการสาธารณสุข
วิทยากรพิเศษ โดย รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ที่ปรึกษา สปสช.ด้านการบริการปฐมภูมิ
            นพ.โสภณ เมฆธณ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้บรรยายพิเศษ และให้ข้อคิด ในเวทีนี้ ไว้อย่างน่าสนใจ  สรุปความว่า
ใน District Health System DHS  นั้น ด้านความสามารถหรือ ability นั้น พวกเรามีพร้อมอยู่แล้วทุกคน
ตัวเชื่อมที่สำคัญที่สุด คือ ใจ ถ้าเรามีใจแล้ว สามารถที่จะทำอะไรก็ทำได้ ทั้งนั้น แต่จะให้สำเร็จได้ นั้น นอกจากมีใจแล้ว ต้องมี น้ำใจ ให้แก่กันและกันด้วย  ฉะนั้น CUP ใด ที่พร้อมทั้ง ใจ (Motivation) และ ความสามารถ (ability) ก็จะเป็น DHS ที่สมบูรณ์ โดย เน้นการทำงาน แบบมีเป้าหมายร่วม ผ่านกระบวนการชื่นชม และการสนับสนุน ในระบบทีม
            DHS ทั้ง 5 องค์ประกบนั้น จำกันง่ายๆ ก็ ให้ ใช้คำว่า U CARE
U: Unity team
C: Community Participation
A: Appreciation
R: Resource Sharing ( หรือ Development and Resource Sharing ผ่านกระบวนการ KM CBL R2R)
E: Essential Care
            ทำ DHS ให้ครบ 5 องค์ประกอบ U CARE และ ผลงาน หรือผลลัพธ์ ที่ได้ ก็จะ CARE YOU
DHS เป็นส่วนหนึ่งของ Service Plan ซึ่งมีแนวคิดหลักในการทำงาน สนับสนุนการบิการให้เกิดความคุ้มค่า ใช้ระบบพี่ช่วยน้อง น้องช่วยพี่ พี่น้องช่วยเหลือกัน สามารถใช้ คน เงิน ของ ร่วมกันได้  โดยมี ODOP เป็นเครื่องมือ ในการทำงานร่วมกัน
            อย่าให้ DHSเป็น NATO (No Action Talk Only) หรือ
อย่าให้ DHSเป็นNAMO (No Action Meeting Only)
            หากพวกเรา มีใจ และ มีน้ำใจให้กัน ร่วมมือ กัน อย่างจริงจัง  ทำงาน เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขและภัยสุขภาพให้กับประชาชน ที่อยู่ในหน่วยรบ ระดับอำเภอของเราแล้ว ผลของมันออกมาอย่างไร ก็จะได้ความสุข ร่วมกัน ไม่ว่า จะสำเร็จ หรือ ล้มเหลว  สรุปว่า มองไปข้างหน้า ก็มีความหวัง มองไปข้างหลังก็ไม่เสียใจ
One District One Project:ODOP นั้น เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน ไม่ต้องไปกังวลว่า จะสำเร็จ หรือล้มเหลว ผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ที่สำคัญคือ มีกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน Learning&Growth ทำไป ปรับไป PDCA ไปเรื่อยๆ เน้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยสหสาขาอาชีพ ที่ไม่ใช่ เพียง สหวิชาชีพ ในวงการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น
            ODOP ที่ดี ของ DHS ต้อง มีองค์ประกอบ ครบ 3 I
I: Information ต้อง มี Information เป็น ตัว Base on ของปัญหา หรือ มี นโยบาย เป็นตัวกำกับ หากไม่มีต้องทำR2Rหาปัญหาออกมา ร่วมกัน
I: Innovation   ต้อง มี Innovation           ที่สามารถ ขายได้ และ สามารถทำได้จริง
I: Intervention ต้อง มี Intervention ที่สำคัญ ODOP นั้น ไม่สามารถเสร็จสิ้นได้ ปีต่อปี ต้องทำอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทำไป ปรับไป
            ที่ว่า DHS เป็นส่วนหนึ่งของ Service Plan นั้น ก็เพราะ Service Plan มี การพัฒนาครอบคลุม ทั้ง 3 ด้าน
ด้านที่ 1  ด้านการแพทย์ หรือ ด้านการรักษาพยาบาล
            เน้นการพัฒนา ตามศักยภาพด้านการรักษาพยาบาล ของ เขต หรือ เครือข่ายบริการ ทั้ง 12 เขต
            ที่แต่ละเขต มี Population for Performance หรือ พอเหมาะๆ ไม่มาก หรือ น้อยเกินไป ที่จะ ช่วยเหลือ กันเองได้ ภายในเขต โดยประชากรที่ พอเหมาะนี้ ประมาณ 3-5 ล้านคน ต่อเขตบริการ
ด้านที่ 2  ด้านการสาธารณสุข หรือ ด้านการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ หรือP&P
            แนวคิดหลักคือ ทำอย่างไร ไม่ให้ป่วย จุดแตกหัก ของแนวรบด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ อยู่ที่ระดับ อำเภอ โดย เอา คปสอ. บวกกับ ภาคประชาสังคมอื่นๆ ที่เรียกว่า Social Determinant ทำงานร่วมกัน เป้าหมายหลักการทำงานด้านนี้คือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ทอดทิ้งกัน   โดยมี การพัฒนา เครือข่ายบริการปฐมภูมิ ให้เป็น สถานบริการที่ ประชาชน ไว้วางใจได้
ด้านที่ 3  ด้านการบริหารจัดการ  แนวคิดหลัก คือ ใช้เงินน้อย แต่ได้ผลงานมาก หรือประโยชน์สูง ประหยัดสุด
            เครื่องมือ อุปกรณ์ ต้องเป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ ของประชาชน ไม่ใช่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ของ โรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่ง เครื่องมือ อุปกรณ์บางอย่าง ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับ อำเภอ จึงจะคุ้มค่า
เครื่องมือ อุปกรณ์บางอย่าง ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับ จังหวัด  จึงจะคุ้มค่า
เครื่องมือ อุปกรณ์บางอย่าง ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับ เขต  จึงจะคุ้มค่า
เช่น รถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องมือแพทย์ สามารถใช้ร่วมกันได้ ในระดับอำเภอ จึงจะคุ้มค่า
เช่น เครื่องมือ การตรวจ ตา สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งจังหวัดจึงจะคุ้มค่า
เช่น เครื่องมือ การ Mammogram สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้ง เขต จึงจะคุ้มค่าเป็นต้น
            โดย เมื่อรวม ทั้ง 3 ด้านแล้ว ผลลัพธ์ ในระยะยาว ที่มุ่งหวัง คือ การมีอายุยืนยาว และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือ 3 ดี ที่พวกเราคุ้นเคย คือ สุขภาพดี เป็นคนดี และ มีรายได้พอดี ซึ่งเป็น เป้าหมาย หลัก ของ DHS
.... ทางด้าน นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์ นักวิชาการอิสระ อดีต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 20 ปี ผู้จัดการโครงการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล ด้วนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สรุปความว่า
ระบบสุขภาพของไทย ในปัจจุบัน ถ้าเปรียบเหมือคน ก็ เป็น คนที่สมบูรณ์ดี แต่ มี ขาข้างหนึ่งสมบูรณ์ แข็งแรง อีก ข้างหนึ่ง ขาลีบ หรือ แทบจะพิการเลยก็ว่าได้
ขาข้างหนึ่งสมบูรณ์ แข็งแรง คือ ขาด้านการแพทย์ ในแต่ละปี งบประมาณด้านนี้ เป็นสัดส่วนที่มากที่สุด มากทุกๆปี และมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารทุกยุค ทุกสมัย ทุ่มเท การพัฒนาด้านนี้มากมาย จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก แต่ ประชาชนไทย ก็ยังมีสุขภาพดี ไม่เกินไปกว่า ประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ย่ำแย่กว่า เพื่อนบ้านบางประเทศ
ขาข้างที่ลีบ หรือ แทบจะพิการ คือ ขาด้านการสาธารณสุข การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ งบประมาณ ที่ทุ่มเทลงไปในระบบราชการ ของกระทรวงสาธารณสุข ยังไปไม่ถึง ขาด้านนี้ นานๆ ไป หากไม่ได้รับดูแล เท่าที่ควร อาจจะ พิการถาวร แล้ว เมื่อ ขา ข้างหนึ่งเล็ก และลีบ จะเป็นคนที่ สมบูรณ์ แข็งแรง ได้อย่างไร
DHS จึง เป็นจุดเริ่ม ของการให้ความสำคัญ และใส่ ใจ ขาที่ลีบ ที่กำลังพิการให้กลับฟื้นคืน สภาพ ซึ่ง อาจจะต้องใช้เวลา นานพอสมควร แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ
โรงพยาบาลชุมชน มีศักยภาพ และทรัพยากรมากมาย เพียงแต่ ศักยภาพ และทรัพยากร เหล่านั้น ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์ ให้คุ้มค่า กับประชาชน เท่าที่ควร ศักยภาพ และทรัพยากร ของ โรงพยาบาลชุมชน ส่วนมาก จะสนับสนุน เฉพาะ คน ใน โรงพยาบาลชุมชน หรือ ประชาชน ที่อยู่ในเขต ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาลชุมชน เท่านั้น แต่มี หลายแห่ง ที่มีแนวความคิด การให้บริการเชิงรุก เช่น มีทันตแพทย์ หรือ เภสัชกร บางคน กล้าที่จะ ทำความดี กับประชาชน โดยการ ก้าว ออกจากห้อง แอร์ ห้องกระจก ไปหา ชาวบ้าน เพราะ เมื่อ ก้าว ออกจาก ห้อง แอร์ ห้องกระจก ออกไปหาชาวบ้าน สิ่งที่เขาได้รับกลับมา คือ ความสุข
( ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ผม ก็รู้จัก เภสัชกร ที่มีคุณสมบัติ ตามที่ท่าน นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์ กล่าวถึง เหมือนกัน คือ ภก.กฤษฎา จักรไชย เภสัชกร ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่ครับ แต่ ทันตแพทย์ ผมยังไม่เคยเห็นครับ )
คณะวิทยากร ที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ประกอบด้วย คณะแพทย์กลุ่ม Yong Turk ที่มี แนวคิด ก้าวหน้า และประสบการณ์ การทำงาน เพื่อบริการประชาชน ให้มีดุลภาพสำหรับการพึ่งตนเองได้ ทั้ง ด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขในพื้นที่ จนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี หรือ เป็นต้นแบบ การปฏิบัติงาน ตาม โครงการ DHS ในปัจจุบัน
ซึ่งผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่างขอชื่นชม มา ณ โอกาสนี้ ประกอบด้วย
นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัด สงขลา
นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แก่งคอย จังหวัด สระบุรี
นพ.ประวิตร วณิชชานนท์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ละงู จังหวัด สตูล
นพ.เดชา แซ่หลี  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กะพ้อ จังหวัด ปัตตานี
นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์เป็นต้น
            มีแพทย์ อีก หลายๆ คน ที่ไม่ได้มาร่วมในเวทีแห่งนี้ แต่ เป็นแพทย์ ที่มีแนวความคิดหัวก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพดี อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข ที่ทำงานกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น นายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ที่อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. นพ.สุธี สดดี ที่ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รัชฎาพร รุญเจริญ ที่ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ หรือ นพ.ศิษฎิคมน์ เบ็ญจขันธ์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

ให้กำลังใจแพทย์ เหล่านั้นด้วยนะครับ เพื่อ ที่เขาจะได้เผยแพร่ การติดเชื้อดี ดี เหล่านี้ ให้กระจาย ไป ให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยเลยครับ โดเฉพาะ อาจารย์แพทย์ ในมหาวิทยาลัย ถ้า ใส่ความรู้ เจตคติ การทำงาน เพื่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่จำเป็นต้องได้ถึงครึ่งของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี หรือ นพ.อมร นนทสุตร หรือ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ก็ได้ แต่ให้ได้ครึ่ง ของ  รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ผม ก็คิดว่า ประชาชน จะอนุโมทนาสาธุการด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ 

No comments:

Post a Comment