7/3/14

2กค.2557: ประชุม กรรมการ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว

2กค.2557: ประชุม กรรมการ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 2 กรกฎาคม 2557 ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม  คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอคำเขื่อนแก้ว(คปสอ.คำเขื่อนแก้ว) ณ ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุมโดย แพทย์หญิง เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ประธาน คปสอ.
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะกรรมการจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
วาระการประชุม
วารระที่ 1            ประธานแจ้งให้ทราบ
1.1 เรื่องแจ้งให้ทราบจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
              … การนำเสนอผลงาน DHS ระดับจังหวัด วันที่ 9 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เนื่องจาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วมีกิจกรรม รับการตรวจเยี่ยมสำรวจ มาตรฐาน โรงพยาบาล HA
ณ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว วันที่ 9 กรกฎาคม 2557 แพทย์หญิง เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ประธาน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว  มอบหมายให้ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นผู้นำเสนอผลงาน โดยมี  คณะจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าว
...แจ้งสถานการณ์ โรคมือ เท้าปาก กำลังระบาด ในพื้นที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ให้ สถานบริการทุกแห่งช่วยกัน ป้องกันโรค ตามบทบาทหน้าที่
1.2 เรื่องแจ้งให้ทราบจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
...ให้ระมัดระวัง การรับประทานเห็ดพิษ ในพื้นที่
...แนะนำ ขรก. ย้านมา จาก โรงพยาบาลยโสธร นส.วนิดา สานนท์  ไปปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งมน
การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ให้ปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งบันทึกผลงานการให้บริการให้ครอบคลุมต่อไป  
เรื่องอื่นๆ นำเสนอข้อมูลตามวาระ จากที่ ประชุม กวป.
วารระที่ 2            รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
วารระที่ 3            เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
3.1 ติดตาม การปฏิบัติงานโครงการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning: DHML)
คปสอ.คำเขื่อนแก้ว เป็นที่ การเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการทำงานจริงในพื้นที่ ของ DHS ในรูปแบบ ของ DHML
โดยมี สถาบันทางการศึกษาเข้ามาร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ด้วย ภายใต้ Concept ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้  โดยมีทีมพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา
            ศูนย์การเรียนรู้ของ จังหวัดยโสธร ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลมหาชนะชัย
Participatory Interactive Learning though Action: PILA
                   PILA คือ มีCommunity เป็น Class room ที่ต่างจาก Class room ของการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาทั่วไป
                   PILA เป็นการเรียนรู้จากชีวิตในการทำงานจริง ของคนทำงานจริง Actor team กับนักวิชาการLearning Team ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ Resource Person
                   คนที่สำคัญที่สุดในการเรียนคือ Team สมาชิกทีมผู้เรียน หากจำเป็นต้องปรึกษาทางวิชาการก็อาจมีอาจารย์พี่เลี้ยงได้ ( Resource Person กับ Learning Team ของอำเภอต่างๆ)
เรื่องที่เรียนรู้ร่วมกัน คือ การลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร
            ปี 2557 อำเภอคำเขื่อนแก้ว  ได้คัดเลือกงานที่จะเรียนรู้ร่วมกัน แล้ว คือ  การลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร
โดยมีทีมพี่เลี้ยงทางวิชาการ คือ ดร.นงนภัส เที่ยงกมล อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มากล้นด้วยความรู้ และประสบการณ์ สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทย ภาษาจีนและภาษาอังกฤษได้ดี มีผลงานการเขียนและการนำเสนอผลงานวิชาการในระดับสากล ไปนำเสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานไปทั่วโลก
            3.2 ติดตาม การดำเนินงานตามโครงการ KKMPCHA เครือข่ายพัฒนาร่วม 3 อำเภอ
สืบเนื่องจาก วันที่ 6 มิถุนายน 2557 คณะกรรมการเครือข่ายบริการสุขภาพ 3 อำเภอ โซนใต้ จังหวัดยโสธร
(คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ค้อวัง)  ได้มีการประชุม ณ ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย  นางเยาวดี ชาญศิลป์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  
มติที่ประชุม 1. การประเมินไขว้ ทั้ง 3 อำเภอ ให้ดำเนินการต่อ ในพื้นที่เป้าหมาย 20 แห่ง ที่ได้รับงบประมาณไปแล้วแห่งละ 5,000 บาท
2. งบประมาณ ให้ใช้งบประมาณ ปี 2556 จำนวนที่เหลือ จำนวน 90,000 บาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ให้ใช้สำหรับ   การพัฒนาบุคลากรด้านองค์ความรู้ สำหรับขับเคลื่อนระบบงานสำคัญ  ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้ง 40 แห่ง ใน 2 ระบบ  ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือน มิถุนายน 2557 โดยมอบหมายให้ มีเจ้าภาพหลัก ดำเนินการดังนี้
            2.1 ระบบการป้องกันการติดเชื้อ Infection Control: IC   เจ้าภาพหลักผู้ระสานงาน โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย และคณะ
2.2 ระบบ ยา และเวชภัณฑ์   เจ้าภาพหลักผู้ระสานงาน โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว และคณะ
มติที่ประชุม ให้จัดเวทีการพัฒนาบุคลากรด้านองค์ความรู้ สำหรับขับเคลื่อนระบบงานสำคัญ  ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้ง 40 แห่ง ทั้ง 2 ระบบ  ทั้ง ระบบยา และ ระบบ IC

วารระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา  
              4.1 เรื่องการประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ และจัดลำดับหน่วยงาน (Ranking) ปี ๒๕๕๗ จังหวัดยโสธร   จำนวน 13 ประเด็นหลัก ๓๒ ตัวชี้วัด ให้แต่ละหน่วยบริการ รับผิดชอบ ข้อมูลที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้งงานที่ต้องประเมินจากระบบระเบียน รายงาน หรือ งานที่ต้องประเมินจาก ระบบ Data Center ให้สามารถสืบค้นร่องรอยการปฏิบัติงานด้วย ยกตัวอย่าง เช่น การลงระบบ GIS หลังคาเรือน รายหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน
4.2 เรื่องการจัดสรรงบประมาณ ตามผลการดำเนินงาน QOF หรือ ชื่อเต็มๆ ว่า งบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (Quality and Outcome Framework:QOF) ปีงบประมาณ 2557 ซึ่งได้รับงบประมาณจัดสรรจาก สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มติที่ประชุม1 คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จัดสรรตามเกณฑ์ดังนี้
A งบประมาณ ทั้งหมด จัดสรร ให้ KPI ละ เท่าๆกัน
B แต่ละ KPI แยก เป็น สองส่วน คือ จัดสรรตามจำนวน  ร้อยละ 50 และ จัดสรรตาม ผลงานความครอบคลุม ร้อยละ 50
C ผลงานที่จัดสรร หรือ ตัวเลขที่ใช้ในการจัดสรร คือ ใช้ข้อมูล Data Center ตามระบบ Cockpit เขต 10
ประทับใจ การร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ การทำงานระหว่างกันด้วยดี เช่น
การจัดสรรงบประมาณ ตามผลการดำเนินงาน QOF มี 2 รอบ รอบนี้ หมดเวลา ก็จัดสรรตามข้อมูลที่ได้ รอบต่อไป หน่วยบริการใด ต้องการเพิ่มผลงานก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกข้อมูล ให้มากขึ้น
นายบัณดิษฐ   สร้อยจักร    ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนสิม
ในอดีต ที่ ดงแคนใหญ่เรา ก็มีผลงาน จาก Cockpit นี้ ต่ำมากในหลายๆข้อ ผมก็ต้องประชุมทีมงานทุกๆสัปดาห์ เรียนรู้เองบ้าง ถามเพื่อนๆที่ทำได้บ้าง รวมทั้งดู Face Bookของ คุณอาคม ที่ สสจ.ยส.ด้วย พวกเรา ทำงานเป็นทีม ช่วยกันเรียนช่วยกันทำ ตอนนี้ผลงาน ดงแคนใหญ่ เราก็สามารถผ่านตามเกณฑ์ เป็นส่วนใหญ่ นายขจรเกียรติ   อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
การลง GIS หลังคาเรือน นั้น จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ยากคือ หากเราไม่รู้พื้นที่ ไม่รู้จักหลังคาเรือน
ก็จะยาก ไม่สามารถลงข้อมูลได้ หากเรารู้ก็จะสามารถลงได้ง่าย วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดคือ ให้ อสม.หรือผู้นำชุมชน เป็นคนชี้ตำแหน่ง ก็จะง่าย นางเดือน ตั้งจิต         ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาหลู่
มติที่ประชุม 2  การจัดสรรงบประมาณ รอบ ที่ 2
... จะต้องแจ้งให้หน่วยบริการทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนการตัดยอดผลงาน
... เกณฑ์การจัดสรรในรอบที่ 2 ควรจะ  นำหลักเกณฑ์ การถ่วงน้ำหนัก ประกอบการจัดสรร ในระดับเขต
มาปรับใช้ด้วย
ขอบพระคุณ ข้อเสนอที่ดี จากที่ประชุม เช่น การจัดสรรงบประมาณ เป็นเพียงอุปกรณ์ สนับสนุนการทำงานของเรา ที่สำคัญ อย่าลืมบรรยากาศการทำงานร่วมกันให้มีความสุข โดยไม่ได้มองเงินเป็นตัวตั้ง  นายขจรเกียรติ   อุปยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
4.3 เรื่องเวทีแลกเปลี่ยนการพัฒนา CUP BUDY การพัฒนา Node บริการระดับเขต 10
คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็น CUP BUDY การพัฒนา กับ คปสอ. ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
คปสอ. ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มาเยือน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่ วันที่  วันที่ 20 มิถุนายน 2555
คปสอ. ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เชิญ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว ไปเยี่ยม วันที่  17 กรกฎาคม 2557
4.4 การประเมินมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกแห่ง ให้ส่ง
เอกสาร การประเมินตนเอง ให้กับฝ่ายชันสูตรด้วย เพื่อ รับการสุ่มประเมิน ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ทุกแห่ง โดยให้จัดเตรียมสถานที่ต่างๆ ให้ได้ตามมาตรฐาน ตามที่หัวหน้างานชันสูตรได้นำเสนอ
4.5 การดำเนินงาน หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลละ 1 หมู่บ้าน
ให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกแห่ง ส่งรายชื่อ หมู่บ้านเป้าหมาย แห่ง ละ 1 หมู่บ้าน รวม 13 ตำบล
และ ตำบลลุมพุก อีก 2 หมู่บ้าน รวม 15 หมู่บ้าน
            4.6 การอบอรม อสม .ด้านการจัดการสุขภาพ ตามกลุ่มวัย เพื่อการปรองดองและสมานฉันท์ หมู่บ้านละ 2 คน

วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2557 ณ หอประชุม ๑๐๐ ปี อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ให้แต่ละโซน จัดเตรียมความพร้อม ตามที่ได้รับมอบหมาย  แหล่งงบประมาณจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร  







No comments:

Post a Comment