7/30/14

28กค.2557ยโสธรShare Best Practice_งานยาเสพติดปี2557

28กค.2557ยโสธรShare Best Practice_งานยาเสพติดปี2557
วันที่ 28 กรกฎาคม2557 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะเข้าร่วมประชุมวิชาการ การพัฒนาระบบงานยาเสพติด ด้านการบริหารจัดการ เพื่อแลกเปลี่ยน Best Practice Model ประจำปี 2557  ณ ห้องบุษราคัม โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมืองยโสธร 
              ประธานในงาน โดย ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
คณะกรรมการทรงคุณภาพ โดย
นางนิภาภรณ์   ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางชฎาภรณ์   ชื่นตา หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นาง นางณัทชุดา   จิรทวีธรรม  งานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางพิสมัย รัตนเดช งานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 
            ทั้งนี้ มีผลงานวิชาการที่ส่งข้าร่วม นำเสนอBest Practiceงานยาเสพติดปี2557 จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ โรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งด้านการบริหารจัดการ และด้านบำบัดรักษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย หลังการบำบัด ยกตัวอย่างเช่น  
เรื่องที่ 1. ยุทธศาสตร์กองทุนแม่ แก้ปัญหายาเสพติด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร (ภาค 2)
นำเสนอ โดย นายศุภเกียรติ บุญทศ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอมหาชนะชัย
                   หลักคิด เพราะกองทุนแม่ เป็นเครื่องมือการระดมการมีส่วนร่วมในชุมชนได้ดี จึงใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้สามารถสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับประชาชนได้

เรื่องที่ 2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดในชุมชน โดย การเรียนรู้จากครู D.A.R.E
นำเสนอ โดย นายครรชิต จักรสารร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา
            หลักคิด เพราะการป้องกันคุ้มค่าประโยชน์สูงประหยัดสุดมากกว่าการป้องกัน ฉะนั้น จึงต้อง ให้ความรู้
โดย จากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งสาธารณสุข ตำรวจ ปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผ่านเวทีการประชาคมร่วมกัน
หรือ ที่เรียกๆ รวมกันว่า คุณครู D.A.R.E (DARE: Defined Access Respond Evaluate)

เรื่องที่ 3. การเสริมสร้างสมรรถภาพของครอบครัว เทคนิคการบำบัดยาเสพติด ด้วยวิธี เอาตัวออกจากยา เพื่อลดการเสพซ้ำ
นำเสนอ โดย นางธันยาภัทร์ ทองมูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลค้อวัง 
หลักคิด ด้วยผู้เสพ ต้องการการยอมรับ ยกย่อง ไว้วางใจ ฉะนั้นจึงต้องได้รับกำลังใจที่ดี จากครอบครัว

เรื่องที่ 4. การบำบัดระบบปกติร่วมกับการแพทย์วิถีธรรม
นำเสนอ โดย  นางเยาวเรศ บุญรัตนสุธโท พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว 
            หลักคิด เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นเรื่องยาก การกลับไปเสพซ้ำ มีอัตราที่สูง
            หากครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัด ทั้งกลุ่มเสพและกลุ่มติด โดย ใช้ระบบเดิม Matrix  16 ครั้ง ร่วมกับการใส่ยา 9 เม็ด การแพทย์วิธีธรรม โดยประยุกต์การแพทย์แผนต่างๆ มาใช้ในการรักษา
            สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการปรุงการเตรียม อาหาร น้ำดื่มสมุนไพร การขูดกัวซา การไหว้พระสวดมนต์  ร่วมกับผู้ป่วย เป็นต้น

เรื่องที่ 5. การบำบัดระบบปกติร่วมกับครอบครัว สู่ ความสำเร็จ
            วัตถุปะสงค์หลัก คือ ป้องกันการกลับเสพซ้ำ
นำเสนอ โดย นางบัวดิน จวนสาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลทรายมูล

เรื่องที่ 6. การบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วม คืนคนดีสู่สังคม
วัตถุประสงค์หลัก คือ ป้องกันการกลับเสพซ้ำ
นำเสนอ โดย นางสุปราณี พลไชย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลยโสธร

เรื่องที่ 7. การติดตามหลังการบำบัดการติดสุราในชุมชน กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองชุม
นำเสนอ โดย นางราศรี อาษาจิตร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลป่าติ้ว   
หลักคิด  สุรา เป็นสาเหตุนำ ในการเสพยาเสพติดชนิดอื่นๆ  หากเลิกดื่มสุราได้ ก็เป็นการตัดเส้นทางการเสพยาเสพติดชนิดอื่นๆได้   กลุ่มทดลอง เป็นวัยแรงงานที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดแล้ว อายุเฉลี่ย 45 ปี จำนวน 33 คน
ระยะเวลาศึกษา สำหรับ ประเมินผล Best Practice ระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป
ข้อเสนอแนะ        ควรศึกษาในกลุ่มเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติด

เรื่องที่ 8. สู่ชีวิตใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ตอน อยู่บ้านก็เลิกได้
นำเสนอ โดย นางพาณี  ขอสุข พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลกุดชุม   
กระบวนการศึกษา ศึกษาเป็นรายกรณีศึกษา  ใน Case สมัครใจ
ทดลอง admitted ผู้ป่วย ที่บ้านพอเพียง เป็นเวลา 4 เดือน กิจกรรมเหมือนที่ทำใน โรงพยาบาล แต่ที่เพิ่มคือ การทำกิจกรรมงานบ้าน ต่างๆ ในบ้านพอเพียง
บ้านพอเพียง คือ กลุ่มผู้ที่เลิกสุรา รวมตัวกัน เป็นกลุ่ม AA นิรนาม ในการเลิกกสุรา
มีจิตอาสาของสมาชิกผู้เลิกสุราสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปปฏิบัติงาน ในพื้นที่ 7 ไร่
นำสมาชิกกลุ่มบ้านพอเพียง ที่มีประสบการณ์การเลิกดื่มสุรา มาเป็นที่ปรึกษา ในการให้คำปรึกษา ผู้ติดยาเสพติดประเภทยาบ้า เนื่องจากเขามีประสบการณ์ ในการใช้สารเสพติดเหมือนกัน คุยกันรู้เรื่อง ที่ไม่เคยใช้สารเสพติดเลย
            อบอุ่น ปลอดภัย ไม่ตำหนิ ไม่ลงโทษ แต่ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ
แต่มีข้อกำหนดคือ สร้างคุณค่าให้ตนเอง โดยการให้ทำงานบ้านต่างๆ
สิ่งที่ได้ จากการศึกษา ครอบครัวมีส่วนในความสำเร็จ ผู้ป่วย มีความสุข
            ข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง เพียง 1 ราย และยังไม่ประเมินการกลับไปเสพซ้ำ

เรื่องที่ 9. ยาเสพติดรักษาได้ด้วยสมุดคู่กาย คู่ตัว  3 ป ผนวกกับหลักศีล 5
หลักคิด ขาดนัดบ่อย กลับไปเสพซ้ำมาก
นำเสนอ โดย นายอัครพงษ์ หงศาลา โรงพยาบาลไทยเจริญ    
หลัก 3 ป. คือ  ปลุก ปรับ เป้า
ป.1  ปลุกพลังบวก
ป. 2 ปรับความคิด Positive Thinking
ป. 3 เป้าหมายชีวิตที่แน่นอน
            คนไม่มีศีล เหมือนดินไม่มีน้ำ

เรื่องที่ 10. การค้นหา คัดกรองผู้เสพยาเสพติด โดยชุมชนมีส่วนร่วม
นำเสนอ โดย นางสาวเจนจิฬา มูลสาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ    
            กลวิธี 1. ทุกหมู่บ้านมีการ เดินรณรงค์ ไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อกดดันให้ออกมาร่วมมือ
            2. การสุ่มตรวจค้นบ้าน ในบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง ตรวจปัสสาวะในกลุ่มเป้าหมายด้วย
            3. ผู้ผ่านการบำบัด ร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ในชุมชน
            4. ชุมชนให้การยอมรับ และต้อนรับ กลับสู่ชุมชน
ตำบลที่มีปัญหา การระบาดรุนแรง จะลงปฏิบัติการ 2 ครั้ง พื้นที่อื่นๆ จะลงปฏิบัติการเพียง หมู่บ้านละ 1 ครั้ง

เรื่องที่ 11. การค้นหา และดูแลติดตามผู้เสพยาเสพติด โดยเครือข่ายแบบครบวงจร  
นำเสนอ โดย นางสาววิภาดา ป้องปา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอค้อวัง     
            กลวิธี 1. ทุกหมู่บ้านมีการ เดินรณรงค์ ไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อกดดันให้ออกมาร่วมมือ
            2. การสุ่มตรวจค้นบ้าน ในบ้านกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง ตรวจปัสสาวะในกลุ่มเป้าหมายด้วย
            3. ผู้ผ่านการบำบัด ร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ในชุมชน
            4. ชุมชนให้การยอมรับ และต้อนรับ กลับสู่ชุมชน
ตำบลที่มีปัญหา การระบาดรุนแรง จะลงปฏิบัติการ 2 ครั้ง พื้นที่อื่นๆ จะลงปฏิบัติการเพียง หมู่บ้านละ 1 ครั้ง
เรื่องที่ 12. กิจกรรมการป้องกันยาเสพติด โดย ชมรม TO BE NUMBER ONE   
นำเสนอ โดย นางนุสรา บุญทศ      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
            เน้นยุทธศาสตร์ที่ 1 และยุทธศาสตร์ ที่ 2
คิดดี พูดดี ทำดี คือ TO BE กระจาย
เน้นการค้นหา และการสร้างผู้นำ ผู้นำหน้า ไม่ใช่ ผู้นำแหน่
ต้นแบบความดี พี่สอนน้อง
เยาวชนต้นแบบ คนทำดี มีรางวัล เพิ่มมูลค่าจากขยะ
            สืบทอด รุ่นต่อรุ่น เหมือนสอนนักเรียน สอนจบ ป. 1 แล้ว ปี หน้า ก็ต้อง สอน ป. 1 อีก
ทำให้ต่อเนื่องและยั่งยืน





ขอบพระคุณ ผู้เข้าร่วมประชุมทุกๆท่าน สำหรับ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

1.     นายอรุณ  ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย
2.     นายอาณัติ ศรีเธาว์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมน
3.     นายณรงค์เดช บุญไธสง เจ้าพนักงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
4.     นายพรรณลิณ อาจวิชัย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
5.     นางสาวพรทิวา  ทองทา นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  กู่จาน
6.     นางวิยะดา หินทอง เจ้าพนักงานสาธารณสุข  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย
7.     นายธานินทร์ ซื่อตรง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน
8.     นางสาวจิราภรณ์ ขอสุข พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ
9.     นายบุญทศ ประจำถิ่น จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจริญ
10.  นางปราณี  ศรีแสน  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดกุง
11.  น.ส. กนกวรรณชาวอุบล  เจ้าพนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย
12.  ว่าที่ ร.ต.ทวีชัย ค้าขาย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสิม
13.  นางสถาพร พันพิพัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

14.  นางเยาวเรศ บุญรัตนสุธโท พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว 

No comments:

Post a Comment