12/10/14

2 ธค.2557 เครือข่ายการส่งต่อรายงานและติดตามผลบำบัดยาเสพติด ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร

2 ธค.2557 เครือข่ายการส่งต่อรายงานและติดตามผลบำบัดยาเสพติด ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
วันที่ 2 ธันวาคม 2557 วันนี้  ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม เครือข่ายความร่วมมือด้าน การส่งต่อการรายงานและการติดตามผลการบำบัดยาเสพติด ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุม ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายวิทยา วิมลสุรนาถ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
วิทยากร ประกอบด้วย นายวิรัตน์ เที่ยงธรรม ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
นายธรรมสรณ์ ปทุมมาศ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
นายฉกาจ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดยโสธร
นางยุพา สากระจาย นักจิตวิทยา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร
                   ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือการให้การดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชน
ที่ถูกดำเนินคดีเสพยาเสพติดเพื่อ คืนคนดีสู่สังคมหลังการบำบัด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร สถานพินิจ สำนักงานคุมประพฤติ สถานพยาบาลที่ให้การบำบัดรักษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ โรงพยาบาลยโสธร โรงพยาบาลอำเภอทุกอำเภอ
                   วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เป็นพลเมืองดีของสังคม
                   ด้วยเหตุที่คดีจำหน่ายาเสพติดส่วนมากผู้ต้องหาจะมีคดีเสพยาเสพติดด้วย คดีเสพยาเสพติดนั้นเด็กต้องได้รับการบำบัด ในสถานบริการในพื้นที่ของตนเองก่อน จึงจะมารับโทษในคดี จำหน่ายาเสพติด ได้ต่อไป โดยวัตถุประสงค์หลักคือการบำบัด ฟื้นฟู เยียวยา เด็ก เพื่อให้เป็นพลเมืองดีของสังคม ทั้งนี้ การพิจารณาคดีอาญา ตาม พรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดี ศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา 119  .. ให้คำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชน ซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรม สั่งสอน และสงเคราะห์ ให้เป็นพลเมืองดี ยิ่งกว่าการที่จะลงโทษ และในหารพิจารณาคดีนั้น ให้ศาลคำนึงถึงบุคลิกลักษณะ สภาพร่างกาย และสภาพจิตใจของเด็ก หรือเยาวชนซึ่งแตกต่างกันเป็นคนๆไป และลงโทษหรือเปลี่ยนโทษหรือใช้วิธีการเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชน และพฤติการณ์าะเรื่อง แม้เด็กหรือเยาวชนนั้นจะได้กระทำความผิดร่วมกัน





                   การพิพากษาคดีเด็กนั้น ศาลจะพิจารณาเป็นราย Case ไม่แยกพิจารณาเป็นรายคดี
โดยพิเคราะห์คดี โดยลำดับจาก ตั้งแต่ขั้นการจับกุม เป็นต้นมา จนถึง
                   สภาพปัญหาของศาลคือ
1.     เมื่อเด็กได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปรับการบำบัดในสถานบริการในพื้นที่ของตนเอง แล้ว ศาลต้องการทราบสภาพข้อมูลของเด็กที่อยู่ในระหว่างการบำบัด เพื่อประกอบการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำอีก ทั้งในคดีเสพและคดีจำหน่ายยาเสพติด
2.     หลักฐาน ที่นำมาแสดงต่อศาล ประกอบด้วย
2.1  สมุดคู่มือ ประกอบการรักษา ซึ่งศาลไม่ทราบว่า ข้อมูลที่บันทึกในสมุดนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ให้การบำบัดบันทึกหรือเด็กผู้เข้ารับการบำบัดบัดบันทึกเอง
2.2  หนังสือส่งตัวกลับจาก โรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า เด็กคนนั้น หายหรือยัง หรือ มีสภาพความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพซ้ำ  หากมีสภาพความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพซ้ำ เกินกว่าร้อยละ 50 ควรที่จะคุมประพฤติเพิ่มเติม หาก มีสภาพความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพซ้ำน้อย ศาลก็จะพิจารณาปล่อยขาดจากคดีได้
3.     ยังไม่มีการกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันว่า การรายงานตัวตามระบบ การคุมประพฤติ ร่วมกันทั้ง ศาล สถานพินิจ สำนักงานคุมประพฤติ สถานพยาบาลที่ให้การบำบัดรักษา เช่น
3.1 หากมีสภาพความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพซ้ำ ร้อยละ              ปล่อยขาด
3.2 หากมีสภาพความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพซ้ำ ร้อยละ              คุมประพฤติ                     เดือน เป็นต้น

                   เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์ ต่อคู่ความ จึงเห็นสมควรให้กระบวนการ
ด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พร้อมมากที่สุดก่อนการยื่นฟ้อง
                   เพราะหากเอกสารไม่ครบ ศลจะพิจารณาสั่งเลื่อนคดี ส่งผลเสียหายต่อเด็ก และผู้ปกครองที่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลหลายครั้ง
ข้อปฏิบัติร่วมกัน ขณะก่อนฟ้อง   
                   สภาพปัญหาเดิม หนังสือส่งตัว ศาลให้เด็ก ถือไป ปัญหา คือ เด็กบางคนไม่นำไปส่ง โรงพยาบาล ทำให้ โรงพยาบาลไม่ทราบข้อมูล
1.     ใบส่งต่อเข้ารับการบำบัดยาเสพติด  
1.1  โรงพยาบาลยโสธร ให้เจ้าหน้าที่ศาล นำส่งเอกสาร ที่กลุ่มงานจิตเวช
1.2  โรงพยาบาลอื่นๆ ให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งเอกสารทางไปรษณีย์
หมายเหตุ โรงพยาบาลเลิงนกทา หากนำส่ง ให้นำส่ง วันจันทร์ วันพฤหัสบดี วันศุกร์
2.     การตอบกลับ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ส่งกลับ ทางไปรษณีย์ ได้โดยไม่ต้องผ่าน หัวหน้าสถานบริการ
หรือสามารถ FAX ส่งเอกสารได้ที่ ๐๔๕ ๗๑๒ ๒๒๗
3.     แบบติดตามการดูแลต่อเนื่องหลังการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด ให้ใช้แบบฟอร์มกลาง ตามที่ ศป.สจ.ยส.กำหนด เพื่อเป็นการติดตามแบบคู่ขนาน จากกลไกในหมู่บ้าน ชุมชน ตนเอง
4.     แบบฟอร์ม ในการจัดเก็บข้อมูล อื่นๆ ให้คณะทำงาน ร่วมกันคิด เพื่อใช้เป็นแบบฟอร์มเดียวกัน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ต่อไป
5.     วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบบริบทและความต่อเนื่องของการบำบัดรักษา (มีบางคาบที่เด็กไม่เข้าร่วม บางคาบผู้ปกครองไม่เข้าร่วม ศาลไม่อาจทราบได้ว่า จะถือได้ว่าเด็กได้รับการบำบัดครบถ้วนหรือไม่)

หากมีข้อสงสัยสามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ โทร. ๐๔๕ ๗๑๕ ๕๘๗ 

No comments:

Post a Comment