23ธค.2557 สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะมี กรอบอัตรากำลัง 22 คน
วันที่23 ธันวาคม 2557 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม ระดมความคิดเห็นต่อการดาเนินงานในระดับปฐมภูมิ
ในประเด็น “ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลเพื่อประชาชน” ณ โรงแรมทีเค พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ
หลักสี่ กรุงเทพ ฯ
ประธานการประชุม
โดย นายแพทย์ชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครอืข่ายระบบบริการ ปฏิบัติงานแทนเลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คณะวิทยากร
ประกอบด้วย นายปริญญา ระลึก สำนักสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิ สปสช.
ผศ.ดร.วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาจารย์บุญเรือง ขาวนวล เป็นต้น
ผศ.ดร.วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาจารย์บุญเรือง ขาวนวล เป็นต้น
สถานีอนามัย หรือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะมี กรอบอัตรากำลัง 22 คน
รายละเอียดการ ระดมความคิดเห็นต่อการดาเนินงานในระดับปฐมภูมิ
ในประเด็น “ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลเพื่อประชาชน”
สรุปได้ ใน 5 ประเด็น มุ่งประเด็น “ทศวรรษการพัฒนารพ.สต.เพื่อประชาชน”
สร้างการมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของในระบบริการปฐมภูมิ ร่วมชี้ทางออก
นำสู่ การปรับปรุงมาตรฐาน ที่เน้น เข้าถึง- เข้าใจ -รวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ประกอบด้วย
เรื่องที่
1 การพัฒนาคุณภาพระบบบริการปฐมภูมิและการสาธารณสุข มูลฐานแนวใหม่
(New Primary Health Care)
เรื่องที่
2 การพัฒนาโครงสร้างและวัสดุอุปกรณ์ ในระบบบริการปฐมภูมิ
เรื่องที่
3 กาลังคนและการพัฒนาบุคลากร ในระบบบริการปฐมภูมิ
เรื่องที่
4 กลไกการจัดการงบประมาณในระบบริการปฐมภูมิ
เรื่องที่ ที่
5 การสื่อสารสาธารณะและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
สรุปประเด็นที่น่าสนใจคือ
จะมีการพัฒนาควบคู่กันไปในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางสุขภาพ
สู่การบรรลุ เป้าหมาย 3 ดี ให้มีสุขภาพดี เป็นคนดี
และประชาชนมีรายได้ดี
เพื่อธำรงเกียรติ
และศักดิ์ศรี แห่งวิชาชีพ สู่การสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน
โดยกระทรวงสาธารณสุข
ต้องให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานได้
เพื่อธำรงเกียรติ และศักดิ์ศรี แห่งวิชาชีพ สู่การสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน เช่น
ด้าน โครงสร้างและวัสดุอุปกรณ์
ในระบบบริการปฐมภูมิ สนับสนุนให้เพียงพอ เหมาะสม สวยงาม ไม่ใช่
ให้มาเพียงตัวอาคารเปล่าๆ ต้องครบถ้วน ทั้ง อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์ รั้ว ถนน
หนทาง อื่นๆ
ด้านกาลังคนและการพัฒนาบุคลากร
ในระบบบริการปฐมภูมิ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยกระดับเป็นหน่วยงานระดับกอง
หัวหน้าหน่วยบริการเป็นระดับ อำนวยการ(ต้น) ยกระดับให้ทัดเทียมกับหน่วยงานอื่นๆ
ในตำบล เช่นครู เทศบาลตำบล
มีการแบ่งส่วนการบริหารงานที่ชัดเจน
บรรจุ อัตรากำลังสนับสนุน การปฏิบัติงานให้ครบถ้วนที่เพียงพอกับภารกิจ จากทุกสาขาวิชาชีพ
ทั้งแทย์ ทันนตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล สาธารณสุข แพทย์แผนไทย กายภาพ นักจัดการ
เจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน ทั้งนี้ จำนวนบุคลากรขึ้นอยู่กับขนาดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เช่นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ซึ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาดใหญ่ จะมีกรอบอัตรากำลังทุกกลุ่มภารกิจ
จำนวน 22 คน โดย ทุกสหวิชาชีพ
มีความก้าวหน้าในสายงานงานวิชาชีพตนเอง ได้จนถึง ระดับ ชำนายการพิเศษ หรือระดับ 8
ทั้งนี้บุคลากรทุกสหวิชาชีพต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมตรฐานที่กำหนด
การพัฒนาที่ควบคู่กันไป สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะยกกระดับเทียบเท่าระดับสำนักของกระทรวง
สาธารณสุขอำเภอ
ก้าวหน้าถึง นักวิชาการสาธารณสุขระดับเชี่ยวชาญ หรือ ผู้อำนวยการ(สูง)
กลไกการจัดการงบประมาณในระบบริการปฐมภูมิ
สนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอกับภารกิจ
โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
สามมารถรวมกันจัดเป็น CUP Split เพื่อเป็นหน่วยคู่สัญญา สามารถรรับการสนับสนุนงบประมาณ จากหน่วยงาน
องค์กรที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง
การสื่อสารสาธารณะและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ สนับสนุนให้ประชาชนและภาคีสุขภาพมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
( ทั้ง การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผิดชอบ ร่วมสนับสนุนงบประมาณ)
ข่าวนี้
มีสื่อมวลชน นำเสนอข่าวนี้ด้วย เช่น เจาะลึกระบบสุขภาพ Hfocus
เสนอว่า
มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย
ร่วมกับชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสมาคมหมออนามัย
ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สปสช.) ได้จัดให้มีการประชุมระดมความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในระดับปฐมภูมิ
ในประเด็น “ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อประชาชน”
นี้ขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากผู้ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ จัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงาน
องค์กร และผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการดำเนินงานในระดับปฐมภูมิ
ที่เป็นรูปธรรมและเหมาะสม พัฒนาการดาเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้มารับบริการในระดับปฐมภูมิ
โดยจัดประชุม ขึ้น ในวันที่ 22-23 ธันวาคม
2557 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพ ฯ
ผมชื่นชม ท่านอาจารย์
ปริญญา ระลึก จาก สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บุคคลนี้
ผู้ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การประสานงาน ประสานใจ ประสานเครือข่ายที่ดี
ของพวกเรา ชาวหมออนามัย ด้วยดีเสมอมาครับ
ทั้งนี้ กำหนดการการประชุมระดมความคิดเห็น
“ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลเพื่อประชาชน”
(โดยมูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย
ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมหมออนามัย ฯ)
ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สปสช.)
วันที่
23 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ ถ.แจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพ ฯ
.......................
เวลา
08.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
เวลา
09.00 น. พิธีเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ
“ทิศทางและแนวโน้มการพัฒนา
ระบบบริการปฐมภูมิในอนาคต”
โดย นายแพทย์ชูชัย
ศรชานิ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กล่าวรายงานโดย
นายธาดา วรรธนปิยกุล ประธานมูลนิธิ ฯ
เวลา
10.00 น. บรรยายพิเศษ “ทศวรรษการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ”
โดย ผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี คณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เวลา
11.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดการประชุม ฯ
และรายละเอียดห้องย่อย
โดย นายกษิดิศ ขันธรัตน์
รองประธานมูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย คนที่
1
เวลา
11.30 น. แยกกลุ่มไปตามห้องย่อยระดมความคิดเห็น
ตามประเด็น รวม 5 ห้อง
ห้องย่อยที่
1 การพัฒนาคุณภาพระบบบริการปฐมภูมิและการสาธารณสุข
มูลฐานแนวใหม่
(New Primary Health Care)
ห้องย่อยที่
2 การพัฒนาโครงสร้างและวัสดุอุปกรณ์ ในระบบบริการปฐมภูมิ
ห้องย่อยที่
3 กาลังคนและการพัฒนาบุคลากร ในระบบบริการปฐมภูมิ
ห้องย่อยที่
4 กลไกการจัดการงบประมาณในระบบริการปฐมภูมิ
ห้องย่อยที่
5 การสื่อสารสาธารณะและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
เวลา
12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา
13.00 น. ร่วมระดมความคิดเห็นตามประเด็นในห้องย่อย
(ต่อ)
เวลา
15.00 น. นาเสนอภาพรวมข้อคิดเห็นจากแต่ละห้องย่อย
เวลา
16.00 น. ปิดการประชุม
รายนาม หมออนามัย ใจบุญ
อนึ่งในการประชุมวันนี้ ขอขอบพระคุณ สมาชิกเครือข่ายปลายปากกา สมาคมหมออนามัย ที่ร่วมทำบุญ สมทบทุนสร้างโรงอาหารโรงเรียนทรายมูลวิทยา ในโอกาสครบรอบ 38 ปี คืนสู่เหย้า ศิษย์เก่ารั้ว แสด-ดำ ณ โรงเรียนทรายมูลวิทยา จังหวัดยโสธร ที่จะจัด ในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 นี้ อาทิเช่น
รายนาม หมออนามัย ใจบุญ
อนึ่งในการประชุมวันนี้ ขอขอบพระคุณ สมาชิกเครือข่ายปลายปากกา สมาคมหมออนามัย ที่ร่วมทำบุญ สมทบทุนสร้างโรงอาหารโรงเรียนทรายมูลวิทยา ในโอกาสครบรอบ 38 ปี คืนสู่เหย้า ศิษย์เก่ารั้ว แสด-ดำ ณ โรงเรียนทรายมูลวิทยา จังหวัดยโสธร ที่จะจัด ในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 นี้ อาทิเช่น
1.นายทรนง ศรีมันตะ เลขที่ 99 หมู่ที่ 14 บ้านหนองยาง ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 100 บาท
2.นายกฤษฎา จักรไชย เลขที่ 30 หมู่ที่ 1 บ้านลุมพุก ถนนมหาชนะชัย ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 100 บาท
3.นายสาธิต สว่างแสง เลขที่ 8 หมู่ที่ 1 บ้านย่อ ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 100 บาท
4.นายทศพล นิติอมรบดี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร 100 บาท
5.นางขวัญยิ้น บุตรครุช เลขที่ 164 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่100 บาท
6.นางสาวนิตยา พันธ์สง่าเลขที่ 433 หมู่ 3 บ้านท่าหว้า ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง
จังหวัดชัยภูมิ 100 บาท
7.นายณรงค์ ตั้งศิริชัย เลขที่ 12 หมู่ที่ 3 บ้านเนินศาลา ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 100 บาท
8.นายวิเชียร จิตต์พิศาล เลขที่ 24/95 หมู่ที่ 8 ซอยสวนสุข ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 100 บาท
9.นายสมโชค พูนสุข สสอ.ท่าชนะ อำเภอท่าชนะ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 100 บาท
10.ลุงหงอกใจดี เครือข่ายปลายปากกา หมออนามัย 100 บาท
11.นายพิสิษฐ์ สิทธิ์ธีรสกุล เลขที่ 137/2 หมู่ที่ 11 บ้าน ประติสุขสรรค์ ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัธานี 60 บาท
12.หมออนามัย นิรนาม 3 เครือข่ายปลายปากกา 60 บาท
13.นายรังสรรค์ ศรีตรัย เลขที่ 36 หมู่ 6 ตำบลสิ อำเภอขุญหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 40 บาท
14.หมออนามัย นิรนาม 1 เครือข่ายปลายปากกา หมออนามัย 40 บาท
15.นายเชวง บุริวัฒน์ รพ.สต.ปาปา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด 39 บาท
16.นางประไพ สายคำภา เครือข่ายปลายปากกา หมออนามัย 20 บาท
17.นายรัชพล นับถือดี จังหวัดสุรินทร์ 20 บาท
18.หมออนามัย นิรนาม 2 20 บาท
รวม 1,299 บาท (หนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
ขออนุญาตแชรเรื่องราวดีๆให้เพื่อนๆที่ร้อยเอ็ดได้รับรู้ด้วยนะครับคุณพี่ เชวง ร้อยเอ็ด
ReplyDelete