12/15/14

8 ธค.2557 ลดDemand_ตัดSuupplyเพิ่มป้องกัน_ยโสธร_ถ่ายทอดนโยบาย ยาเสพติดปี 2558

8 ธค.2557 ลดDemand_ตัดSuupplyเพิ่มป้องกัน_ยโสธร_ถ่ายทอดนโยบาย ยาเสพติดปี 2558
วันที่ 8 ธันวาคม 2557 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการ ชี้แจงนโยบายและ และแนวทางการดำเนินงานยาเสพติด ปี 2558  ณ ห้องบุษราคัม โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ประธานการมอบนโยบาย โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
จัดการประชุมโดย นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
นางพิสมัย รัตนเดช ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร และคณะ กลุ่มงานยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
8 ยุทธศาสตร์หลัก การดำเนินงานยาเสพติด ปี 2558
ปฏิบัติตาม แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2558 ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ประชุม ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ได้นำนโยบายยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและมาตรการต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและทันท่วงทีในทุกกรณี  ดังนี้
แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562 รวม 8 แผนยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ 
1) ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 
2) ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด 
3) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
4) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ 
5) ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม  *
6) ยุทธศาสตร์การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
7) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมภาคประชาชน *
8) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ   
            หมายเหตุ คือ แผนงานที่เพิ่มมาใหม่ ที่ปรับจาก 6 แผนเดิม ในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้มีแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2558 ระดับชาติ  จำนวน รวม 6 แผน ได้แก่  1) แผน การแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด  2) แผน การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  3) แผน การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด   4) แผน ความร่วมมือระหว่างประเทศ  5) แผน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  และ 6) แผนการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ 
กันคนใหม่เข้า เอาคนเก่าออก จากยาเสพติด
โดยมี จุดมุ่งหมายหลักคือ ลดปริมาณผู้เข้าสู่การกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด นำคนออกจากวงจรการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เห็นอย่างชัดเจน จนไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและประชาชน

แนวการปฏิบัติ เบื้องต้น
เปลี่ยนชื่อศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว(ศพส.อ.คำเขื่อนแก้ว )
เป็น ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว( ศป.ปส.อ.คำเขื่อนแก้ว)

กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลักใน ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว( ศป.ปส.อ.คำเขื่อนแก้ว) ในเรื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ ยุทธศาสตร์ที่ 3
โดย ให้ ส่งสำเนาคำสั่ง ศูนย์คัดกรอง ระดับอำเภอ
            เป็นวิทยากรบำบัด ในสถานพยาบาล และ ระบบค่าย
โดย ให้ ส่งสำเนาคำสั่ง ศูนย์ติดตามหลังการบำบัด ระดับอำเภอ 
วึ่งมีหน้าที่ติดตามผู้ผ่านการบำบัด 2 กลุมคือ
กลุ่มที่ 1 ติดตามผู้ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาล
กลุ่มที่ 2 ติดตามผู้ผ่านการบำบัด ตามคำสั่ง คสช. ( จนท.สธ. อยู่ในชุดปฏิบัติการตำบลด้วย)
อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
หมู่บ้านประเภท ก จำนวน 94 หมู่บ้าน
หมู่บ้านประเภท ข จำนวน 17 หมู่บ้าน
หมู่บ้านประเภท ค จำนวน 22 หมู่บ้าน
หมู่บ้านประเภท ง จำนวน 2 หมู่บ้าน

การบำบัดในระบบค่ายมาตรฐาน 9 วัน ตามด้วยการฝึกอาชีพ
            เห็นสมควร จัดทำเป็นหลักสูตรกลาง ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด
การฝึกอาชีพ ในหลักสูตร 9 วัน นั้น เป็นการแนะนำและการสำรวจความต้องการเท่านั้น(ไม่เกิน 2 ชั่วโมง)
(จังหวัดนำร่อง 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และ จังหวัดยโสธร)

การนำคนเข้าบำบัดในระบบค่าย
ตามคำสั่ง คสช. การนำคนเข้าบำบัดในระบบค่าย นั้นเมื่อตั้งด่านตรวจปัสสาวะ แล้วมีผลการตรวจปัสสาวะ เป็นบวก จึงสามารถนำเข้าค่ายบำบัดได้
( ข้อสังเกต การเข้าบำบัดในระบบค่าย เป็นเพียง การหลีกเลี่ยง การรับโทษ ตามกฎหมาย ซึ่งผลที่ได้นั้น ประสบผลสำเร็จน้อยมาก)
            ระบบสมัครใจในสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
            ระบบสมัครใจ ระบบค่าย     ศป.ปส.อ.
ระบบสมัครใจในสถานพยาบาล
กรณีถูกจับ ไม่เกิน 5 เม็ด ให้ เจ้าหน้าที่ ส่ง หน่วยคัดกรองอำเภอ ๆ พิจารณาว่า จะส่งสถานพยาบาล
หรือ ส่งเข้าระบบค่าย

การจำแนกหมู่บ้านตามระดังความรุนแรงของพื้นที่
            หมู่บ้านประเภท ก             ปลอดยาเสพติด   (ไม่มี ผู้ค้า ไม่มีผู้เสพ)
            หมู่บ้านประเภท ข             แพร่ระบาด เบาบาง  ไม่มีผู้ค้า มีผู้เสพไม่เกิน 3 คน ต่อ พันคน
            หมู่บ้านประเภท ค             แพร่ระบาด รุนแรงปลานกลาง ไม่มีผู้ค้า มีผู้เสพไม่เกิน 5 คน ต่อ พันคน
            หมู่บ้านประเภท ง              แพร่ระบาด รุนแรงมาก มีผู้ผลิต หรือผู้ค้า หรือ มีผู้เสพ เกิน  6 5 คน ต่อ พันคน
แหวนดี เพราะหัว ผัวดีเพราะเมีย  ประโยคประทับใจ จาก หัวหน้าแปลก สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยโสธร
            หญิงใส่แหวน คือผู้ที่แต่งงานแล้ว (ใส่หลายวงชอบข่มผัว)
            ชายใส่แหวน คือผู้ที่แต่งงานแล้ว (กลัวเมีย)
เนื้อหาการประชุมอื่นๆ
การบูรณาการการดำเนินงานแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด ในภาพ ศป.ปส.อ.
โดย นายฉกาจ การิสุข เลขานุการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จังหวัดยโสธร ( ศอ.ปส.จ.ยโสธร)
การประสานงานระหว่างเครือข่ายในระบบบังคับบำบัด
โดย รองผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยโสธร นายสุรเชษฐ์ พะสุนนท์ โทร. 085 024 9610 ( หรือนายแปลก )
ภาษิต การดำรงชีวิต  อยากยาก ให้เป็นนายคน  อยากสาละวน ให้มีเมียน้อย อยากให้เขาป้อย ไปขี้ใส่หนทาง
TCB      หลักสูตรชุมชนบำบัดวิถีพุทธ
            Theraputic Community of Buddha
เป้าหมายการปฏิบัติงาน ปี 2558  อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
แบบสมัครใจ Walk in ใน โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
(แบบไม่ควบคุมตัวจากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยโสธร) จำนวน 15 คน
แบบค่ายบำบัด     95 คน ( ทั้งจังหวัด 1,065 คน )
9 ธค.2557 ย้ายห้องประชุม ไปที่ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
วันที่ 9 ธันวาคม 2557 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง และคณะ เข้าร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการ ชี้แจงนโยบายและ และแนวทางการดำเนินงานยาเสพติด ปี 2558  ณ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร

หยุดเสพ 50        คงอยู่ในการรักษา 70        60

ปรับเป้าหมาย ตาม KPI ปี 2558
อัตราการหยุดเสพ (remission rate) ร้อยละ 50 ( ยโสธร=53.02 KKK=79.09)
ทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่สามารถหยุดเสพต่อเนื่องตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
อัตราคงอยู่ขณะบ่าบัดรักษา retention rate (70%) ( ยโสธร=98.09 KKK=100) เป้าเดิม 85 %








ทั้งนี้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ยาเสพติด จาก โรงพยาบาลยโสธร โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง เข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบนโยบาย ในวันที่ 8-9 ธันวาคม 2557 เวลา 08.29 น. เป็นต้นไป
ขอบพระคุณผู้เข้าร่วมประชุม ทุกท่าน อำเภอคำเขื่อนแก้ว ประกอบด้วย
นายอรุณ  ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย
นายพ้น ปัญญาใส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮ
นายอาณัติ ศรีเธาว์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งมน
นางสาวจิราภรณ์  ขอสุข พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
นางปราณี  ศรีแสน  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กุดกุง
นายณรงค์เดช บุญไธสง เจ้าพนักงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่
นางรัศมี  โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาหลู่
นายพรรณลิณ อาจวิชัย จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก
นางสาวสุภาพร บุยเชื้อ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาคำ
นายบุญทศ ประจำถิ่น จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงเจริญ
ว่าที่ ร.ต.ทวีชัย ค้าขาย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสิม
นางสาวหทัยชนก  จันทรากาศ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง
นางสาวพรทิวา  ทองทา นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  กู่จาน
นางวิยะดา หินทอง เจ้าพนักงานสาธารณสุข  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย
น.ส. กนกวรรณ ชาวอุบล  เจ้าพนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย
นายธานินทร์ ซื่อตรง จพ.สาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน


No comments:

Post a Comment