9 เมย.2558: พร้อม สู้ มะเร็ง_ประชุม คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 9 เมษายน 2558 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
เข้าร่วม การประชุม คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
ณ ห้องประชุมม่านเมฆา
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธาน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
สรุปเนื้อหาการประชุม อาทิเช่น
เรื่องประธานแจ้งให้ทราบ
การให้บริการประชาชนเทศกาลสงกรานต์ 9 – 15 เมษายน 2558
ขอความร่วมมือให้
สถานบริการทุกแห่งเตรียมความพร้อมด้าน บุคลากร เครื่องมือ สำหรับ
การให้บริการประชาชน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 9 – 15 เมษายน 2558
ทั้งนี้
อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้สนธิกำลังทุกหน่วยงานร่วมกันให้บริการในศูนย์บริการร่วมป้องกัน
และลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2558 โดยเน้นเรื่อง การดำเนินมาตรการตามกฎหมาย
มาตรการสงกรานต์ 2558 *
รายละเอียดด้านล่าง
การบริหารงบประมาณ
หลักประกันสุขภาพ ปี 2558
จำนวนงบประมาณ ส่วนมาก เท่ากับ
งบประมาณที่ได้รับในปี 2557
งบประมาณ ที่หน่วยบริการได้รับ มี 2 ส่วนใหญ่
คือ
ส่วนที่ 1. งบปกติ ทั้ง งบ OP
งบ Maintenance งบ IPD งบ PP
ส่วนที่ 2. งบสอย ในภาพรวมของเขต 392
ล้านบาท
1. งบ
QOF
เกิดจาก ผลงานแลกเงิน สำหรับ Primary Care 200 กว่า ล้าน
2. งบ
P4P
งบกองทุน Secondary Prevention 69 ล้าน (
สำหรับโรคเรื้อรัง)
3. งบ
OP
Individual จำนวน 00
ล้านบาท
4. งบแพทย์แผนไทย
จำนวน 35
ล้านบาท
5. งบฟื้นฟูสมรรถภาพ
( ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ) จำนวน 00 ล้านบาท
สำหรับ งบประมาณ ที่ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
ใช้ร่วมกันทั้ง CUP
ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท ( แปดแสนบาทถ้วน )
เรื่องจากรองประธาน
คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
ขอเรียนเชิญ
ท่านสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ ร่วมกิจกรรม งานสงกรานต์ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
ซึ่งปีนี้ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
เป็นเจ้าภาพด้านการประสานการจัดงาน ณ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เวลา 12.00 น.เป็นต้นไป
โดยมีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 200 คน รวมนักศึกษาฝึกประสบการณ์
จาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 5 แห่ง
จำนวน 40 คนด้วย
เรื่อง คำเขื่อนแก้ว_สู้_มะเร็งเต้านม Mammogram Mobile
นางประชุมพร กวีกรณ์
หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
นางเกศินี มีชัย และ
นางกชพร จันทร์เสละ ร่วมกันชี้แจง กิจกรรมโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงและสตรีด้อยโอกาสโดยใช้เครื่อง
X-ray เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ
ในปีพุทธศักราช 2555
ซึ่งมีกำหนดออกปฏิบัติงาน
วันที่ 22
เมษายน 2558 ณ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
โดยขออนุมัติ งบประมาณ
จาก คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จำนวน 100,000 บาท
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการ
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ครั้งที่ 1
วันที่ 21 เมษายน 2558ณ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
หมายเหตุ
กิจกรรมนี้ดำเนินการในระดับจังหวัดยโสธรมาแล้ว เป็น ครั้งแรก ปีที่แล้ว เมื่อวันที่
24ตุลาคม 2557 ณ หอประชุม OTOP สวนสาธารณะพญาแถน
อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
รายละเอียด ที่นี่
เรื่อง
การป้องกันแก้ไข มะเร็งตับมะเร็งท่อน้ำดี _คำเขื่อนแก้ว
ที่มาอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร เป็นพื้นที่มีมีผู้ป่วยด้วยโรค มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี สูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จึงได้ร่วมกันปฏิบัติงาน โดยขออนุมัติใช้งบประมาณ จาก
คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จำนวน ๒๘๐,๐๐๐ บาท ( สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน )
ทั้งนี้เพื่อคัดกรองให้ได้เป้ามหมาย ร้อยละ 60
มาตรการสงกรานต์ 2558 *
รายละเอียดด้านล่าง
กระทรวงสาธารณสุข
เน้น 3 มาตรการ สงกรานต์ ปี 2558
ข้อมูลเพิ่มเติม จาก น.พ.รัชตะ
รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข
แถลงมาตรการเตรียมความพร้อมรับมืออุบัติเหตุสงกรานต์ ปี 2558 ว่า
แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 20,000 คน
บาดเจ็บมากกว่า 1 ล้านคน ต้องนอนโรงพยาบาลปีละ 4-5 แสนคน เฉพาะสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายนปีที่แล้ว
มีผู้เสียชีวิต 322 คน เฉลี่ยวันละ 46 คน
นอนรักษาใน โรงพยาบาล 3,225 คน เฉลี่ยวันละ 460 คน ส่วนใหญ่ อายุ 15 - 30 ปี สาเหตุเมาและขับรถเร็ว
ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี มีบาดเจ็บและเสียชีวิตเกือบ 1,000
คน ดังนั้นปีนี้กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เตรียม 3 มาตรการรับมือดังนี้
1.บังคับใช้กฎหมายควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง
โดยห้ามขายและห้ามดื่ม ใน 10 สถานที่ ได้แก่ ศาสนสถาน
สถานบริการสาธารณสุขและร้านขายยา สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
สถานศึกษา ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส สวนสาธารณะของทางราชการ ท่าเรือ
และเรือโดยสารสาธารณะทุกชนิด สถานีขนส่ง และทางสาธารณะ สถานีรถไฟและบนขบวนรถไฟ
และสถานที่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
โดยจัดทีมเจ้าหน้าที่ทำงานร่วมกับตำรวจกองปราบ ในออกตรวจการกระทำความผิด ตลอด 21
วัน ทั้งก่อนและหลังเทศกาล โดยเฉพาะพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์
2.เตรียมความพร้อมสถานพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ พร้อมจัดทีมแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ ทั้งรัฐ เอกชน มูลนิธิ และอาสาสมัครต่างๆ ทั่วประเทศ 15,223 ทีม เพื่อเข้าช่วยเหลือในจุดเกิดเหตุให้ได้ใน 10 นาที และนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด รวมถึงการเตรียมความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้อง ไอ.ซี.ยู. สำรองเวชภัณฑ์ เลือดทุกหมู่เพิ่มขึ้น 2 เท่า สำรองเตียงเพิ่มอีกร้อยละ 20 และ
2.เตรียมความพร้อมสถานพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ พร้อมจัดทีมแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ ทั้งรัฐ เอกชน มูลนิธิ และอาสาสมัครต่างๆ ทั่วประเทศ 15,223 ทีม เพื่อเข้าช่วยเหลือในจุดเกิดเหตุให้ได้ใน 10 นาที และนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด รวมถึงการเตรียมความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้อง ไอ.ซี.ยู. สำรองเวชภัณฑ์ เลือดทุกหมู่เพิ่มขึ้น 2 เท่า สำรองเตียงเพิ่มอีกร้อยละ 20 และ
3.ให้อาสาสมัครร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการตั้งด่านชุมชน
สกัดพฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
กระทรวงจึงได้ออกประกาศกำหนดให้พื้นที่ภายในหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค
เป็นเขตสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์
และออกมาตรการให้รถพยาบาลขณะนำส่งผู้ป่วย ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถยนต์ในราชการ กำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทุกที่นั่งต้องมีเข็มขัดนิรภัย ไม่คุย ไม่เล่นโทรศัพท์
ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น
โดยมาตรการนี้เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา
10 รสขม กระทรวงมหาดไทย ออก 4 มาตรการ
สงกรานต์ ปี 2558
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
เปิดเผยว่า การสร้างความปลอดภัยทางถนนถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล
ที่มุ่งเน้นการลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน
และการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้เป็นรากฐานของสังคมไทย
เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศ
โดยเฉพาะในช่วงใกล้เทศกาลสงกรานต์
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีประชาชนจำนวนมากใช้รถใช้ถนนในการเดินทางกลับภูมิลำเนา
และท่องเที่ยวเล่นน้ำสงกรานต์
ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงปกติ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
(ศปถ.)
จึงได้กำหนดให้มีการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2558
ระหว่างวันที่ 9 – 15 เมษายน 2558 ภายใต้ชื่อ “สติ วินัย น้ำใจ ปลอดภัยสงกรานต์ สืบสานประเพณี”
สำหรับมาตรการและแนวทางในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ประกอบด้วย
1. การบังคับใช้กฎหมาย
โดยเน้นย้ำการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง โดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยง
ความเร็ว เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และยานพาหนะประเภทจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัย
ตามมาตรการ 1ร. 2ส. 3ข. 4ม. (10 รสขม) ได้แก่ 1)
ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 2) ขับรถย้อนศร
3) ฝ่าฝืนสัญญาณจรจราจร 4) ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
5) ไม่มีใบขับขี่ 6) แซงในที่คับขัน 7)
เมาสุรา 8) ไม่สวมหมวกนิรภัย 9) มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย 10) ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ
2. การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยนำมาตรการองค์กรและชุมชนมาเสริมในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่
3. การบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน โดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Approach) และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน
4. การขับเคลี่อนงานอย่างเป็นเอกภาพและทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
(ส่วนกลาง)
และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี
2558 ในทุกระดับ เพื่อรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน
และการนำข้อมูลในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อหามาตรการและแนวทางแก้ไข เช่น จุดเสี่ยง
จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อุบัติเหตุใหญ่ และจุดตัดทางรถไฟ เป็นต้น นอกจากนี้
ได้มีการประสานความร่วมมือหน่วยงานราชการที่มีที่ตั้งติดถนนสายหลักและสายรอง
พิจารณาเปิดเป็นจุดพักรถหรือจุดบริการประชาชน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลอีกด้วย
No comments:
Post a Comment