8/28/18

24 สค.2561_ เขตสุขภาพที่ ๑๐ เน้น 11 ประการ ค่านิยม หลัก ของ PMQA


24 สค.2561_ เขตสุขภาพที่ ๑๐ เน้น 11 ประการ ค่านิยม หลัก ของ PMQA
วันที่ 24 สิงหาคม 2561 ข้าพเจ้า นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง บันทึก การเข้าร่วม
ประชุม การดำเนินงานบริหารจัดการภาครัฐ ( PMQA ) เขตสุขภาพที่ ๑๐ ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมชั้น ๙ โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จังหวัด อุบลราชธานี








           

สรุป ได้ ความว่า ..
หาก ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คือ Output ที่ ผู้บริหารองค์กรต้องการ
PMQA คือเครื่องมือของผู้บริหาร ที่จะใช้ช่วย ให้ก่อเกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ได้ดีที่สุด
ทำให้ผ่านตามข้อกำหนด ทำได้ไม่ยาก ที่ยากมากกว่า คือ ทำให้ PMQA เป็น งานประจำ
จากนั้นทำให้งานประจำเหล่านั้นที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องให้ได้
           
เมื่อ PMQA เป็นเครื่องมือของผู้บริหาร ฉะนั้น ผู้ทีจะใช้ จึงต้องเป็น ผู้บริหาร
หากผู้บริหารไม่ใช้ PMQA ก็จะเป็นเพียง กระดาษ ที่ร้อยเรียงถ้อยคำ สวยหรู
ผู้บริหารจะใช้ PMQA ได้อย่างไร

เทคนิคเล็กน้อยๆ คือ
1.     จุดก่อเกิดประสิทธิภาพง่ายๆ ด้วย WHY?
เพียงคำถาม Why??!  หรือ"ทำไม" ทำให้คนได้ครุ่นคิด คิดก่อนทำ  ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในงาน
2.     หลักการทำงานแบบบูรณาการ 1A4C ยังใช้ได้เสมอ
เชื่อมโยง ผสมผสาน  เช่น หมวด 1 ผู้บริหารกำหนดชัดเจน เช่น คุณทำอะไร ในแต่ละกิจกรรม
ใช้วัฒนธรรมองค์กรเดิม ในการขับเคลื่อนให้เข้าสู่เป้าหมาย สนับสนุน PMQA หมวดไหน  
ด้วยเหตุผล กระบวนการ หลักฐาน ใดบ้าง  เมื่ออนุมัติให้ทำแล้ว ผู้บริหาร ต้องดูเทียบเป้า เอาแผน ปฏิบัติ วัด ปรับ
มีกระบวนการ PDCA ของแต่ละกิจกรรม สรุป ออกมาให้ได้ ว่า บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่

            ง่ายๆ เช่น ประชุม ผู้รับผิดชอบงาน อนามัยแม่และเด็ก ครั้งที่ ... วันที่ ...
ต้องสมารถระบุได้ว่า จุดประสงค์หลักของการประชุมครั้งนี้ คือ ...
เขียนจากวัตถุประสงค์ ให้เชื่อมโยงไปถึง PMQA หมวดต่างๆ ให้ได้ มากที่สุด เช่น
1.     หมวดการนำ                    เชิญ ผู้บริหารเป็นประธาน
2.     หมวดแผนยุทธศาสตร์       สนับสนุน Service Excellence ที่ 2 KPI ที่


เป็นหลักการในการทำงาน ที่น่าสนใจมากครับ
หากเป็นไปได้ หน่วยทำ  ทำ หน่วยเขียน  เขียน
คุณธรรม 4 ประการ
พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

ค่านิยมหลัก (core Value) 11 ประการ ของการพัฒนาองค์กร (PMQA)
1 การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์( หมวด 1 )
องค์กรจะต้องมีเป้าหมายที่จะดำเนินงานอย่างชัดเจน(เป้าหมายเดียวกัน)
มีทิศทางกระบวนการที่จะเดินไปสู่เป้าหมายนั้น และคนในองค์กรทุกคน
ต้องเดินไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
2 การมุ่งเน้นอนาคต  (หมวด1)
ทุกคนในองค์กรจะต้องมองเป้าหมายขององค์กรไปให้ไกล ๆ
และพยายามไปให้ถึงเป้าหมายนั้นให้ได้
3 ความรับผิดชอบต่อสังคม (หมวด1)
ทุกคนในองค์การจะดำเนินงานด้านใด ๆ ก็ตามจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอ พร้อมสร้างเสริมให้บุคลากรในองค์กร มีจิตเป็นสาธารณะ
4 การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง  (หมวด2)
องค์กรจะต้องมีข้อมูลที่ ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้บริหารและต้องไม่บิดเบือนข้อมูล  MIS Management Information System
5 การให้ความสำคัญกับบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(หมวด3)(หมวด 5)
ทุกคนในองค์กรจะต้องคำนึงถึงการให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกฝ่ายทุกแผนก ในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีจิตใจบริการ และ เต็มใจที่จะให้บริการกับลูกค้าโดย คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้รับบริการ
6 ความเป็นเลิศขององค์กรที่มุ่งเน้นผู้รับบริการ (หมวด3 )
มุ่งเน้นการให้บริการเป็นประการสำคัญ จะต้องสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าเขาต้องการอะไรจากเรา โดยการรับฟัง สอบถาม การสำรวจ และสนองตอบ
ต่อความต้องการของลูกค้า ให้ตรงตามวัตถุประสงค์
7 การเรียนรู้ขององค์การและแต่ละบุคคล ( หมวด 4 )
ทุกคนในองค์กรจะต้องมีการ ปรับปรุงพัฒนาตนเอง ให้เป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อที่จะ นำความรู้มาแก้ปัญหาใหม่ ๆ ขององค์กรให้ลุล่วงไปได้
ตลอดจนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (KM) Knowledge Management K=(P +I)S
8 ความคล่องตัว  ( หมวด 5 )
ทุกคนในองค์กรจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง
เพราะองค์กรของเรามีสิ่งใหม่ ๆ มีปัญหาใหม่ ๆ เข้ามาหาองค์กรตลอดเวลา
หากเราไม่ปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ เราก็จะล้าหลัง พร้อมทั้งต้องลดกฎระเบียบ
ขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ที่ไม่จำเป็นลง เพื่อการบริหารจัดการที่ดีขึ้น
9 การจัดการเพื่อวัตกรรม  ( หมวด 6 )  PDCA
มีการสร้างวัตกรรมใหม่ให้องค์กรอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ เช่น
มีวิธีการปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
หาแนวทางใหม่ ๆ มาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10 มุมมองเชิงระบบ  ( หมวด 6 )
ทุกคน ทุกฝ่ายขององค์กรจะต้อง มีการเชื่อมโยงและการประสานงานที่ดี
เปรียบเสมือฟันเฟืองทุกตัว ต้องหมุนไปพร้อมกัน
11 การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า ( หมวด 7 )
องค์กรจะต้องมีการสร้างคุณค่าเพิ่ม ให้กับผลผลิตตลอดเวลา
และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน


Exellence ด้านที่ 4 GG มี 2 ส่วน คือองค์กรคุณธรรม และ องค์กร คุณภาพ  
PA ผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญ จนกำหนด PMQA เป็น PA เรื่อง องค์กรคุณภาพ

เริ่มก้าวแรก ที่ หมวด P   หา ตัวตน ของตนเองให้พบ
            ในหมวด P นี้ ทีมคิดช่วยกัน ใช้เวลาบ้าง ก็ต้องยอม ค่านิยม ต้องไม่หลุด
            ค่านิยมง่ายที่สุด คือเลือกจาก 11 ประการ ค่านิยม หลัก ของ PMQA แปลงคำ เป็นของเรา
ตั้งถอยอย่างมีระบบ Retreat
PMQA ง่ายๆ ก้าวได้ ด้วย หมวดไหน
ตอบ      ต้อง เริ่มก้าวแรก ที่ หมวด P  

หลักการสำคัญคือ หัวไป ใจมา ขาเดิน 
ชี้นำ สร้างบรรยากาศ กำกับ
ใจมา ( ความรัก ความผูกพันองค์กร)
ถอยเกณฑ์ต่างๆ ออกห่างๆไปก่อน เก็บเอาสิ่งที่เขาทำมาเขียน ให้เข้าเกณฑ์
หมวด 1 กำหนดชัดเจน เช่น คุณทำอะไร ในแต่ละกิจกรรม
ใช้วัฒนธรรมองค์กรเดิม ในการขับเคลื่อนให้เข้าสู่เป้าหมาย
สนับสนุน PMQA หมวดไหน  
            ด้วยเหตุผล กระบวนการ หลักฐาน ใดบ้าง
ผู้บริหาร เป้า แผน ปฏิบัติ วัด ปรับ
ให้ความสำคัญกับงานในชุมชน เพราะเป็น Out put ของคำว่า ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
รู้จักให้ แบ่งปัน เอาใจเขา มาใส่ใจเรา การทำงานกับคนอื่น การทำงานเป็นทีมที่ดี
               
PMQA คือเครื่องมือ คุณภาพ ในการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร
หากเป็นหมอ PMQA เปรียบ ปรอท วัดไข้
เมื่อมีไข้ ก็จะประเมิน ว่า มีโรคอะไรบ้าง
วางแผนการรักษา PDCA
นำไปปรับใช้ได้ ในที่อื่นๆ เรียกว่า เป็น มาตรฐาน STANDARD

            PMQA เป็นเครื่องมือคุณภาพที่ใช้วัด หรือ Scan คุณภาพขององค์กร
ว่า องค์กรของเรา ป่วย (ไม่สมบูรณ์ ) ในจุดใด
หาก ป่วยที่ Leadership     จะแก้ปัญหา อย่างไร         มี OFI หรือ GAP อะไร มีแผน พัฒนา แต่ละสิ่งอย่างไร
หาก ป่วยที่ แผนยุทธศาสตร์ จะแก้ปัญหา อย่างไร        มี OFI หรือ GAP อะไร มีแผน พัฒนา แต่ละสิ่งอย่างไร
หาก ป่วยที่ Stakeholder    จะแก้ปัญหา อย่างไร         มี OFI หรือ GAP อะไร มีแผน พัฒนา แต่ละสิ่งอย่างไร
หาก ป่วยที่ KM                จะแก้ปัญหา อย่างไร         มี OFI หรือ GAP อะไร มีแผน พัฒนา แต่ละสิ่งอย่างไร
หาก ป่วยที่ Personal        จะแก้ปัญหา อย่างไร         มี OFI หรือ GAP อะไร มีแผน พัฒนา แต่ละสิ่งอย่างไร
หาก ป่วยที่ Process          จะแก้ปัญหา อย่างไร         มี OFI หรือ GAP อะไร มีแผน พัฒนา แต่ละสิ่งอย่างไร

            PMQA เป็นเครื่องมือคุณภาพ ของตะวันตก
มีคำหนึ่ง ที่ใช้ คือ คำว่า คู่แข่ง  เพราะแปลง มาจาก TQM  ที่ใช้ในภาคธุรกิจ
PMQA คู่แข่ง ต้องมาแปลงใหม่ เพราะภาครัฐ ไม่มีคู่แข่ง บางหน่วยงานไปแปลงว่า ต้องแข่งกับอำเภอที่มีขนาดเดียวกัน คงไม่ถูกต้องเพราะ มีบริบทที่แตกต่างกัน ถ้าจะเรียก ต้องเรียก คู่เทียบ ไม่ควรเรียกคู่แข่ง 
คู่แข่งที่ดีคือ เป้าหมาย KPI
2 อย่าง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร คือ วิสัยทัศน์ และ อุดมการณ์
องค์กรเรา มีคำที่ใช้ ร่วมกัน ที่ทุกคนเห็นร่วมกันหมด คำสั้นเท่าไร ยิ่งดี
ประเทศจีน ใช้ อุดมการณ์ ในการพัฒนาประเทศ
ประเทศไทย ใช้ แบบตะวันตก คือ ใช้ วิสัยทัศน์ ในการนำ
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็คือ วิสัยทัศน์ ในการพัฒนาประเทศ
ตัวที่มีส่วนเกื้อหนุนให้ บรรลุวิสัยทัศน์ มากที่สุดคือ ค่านิยม
ผู้ที่จะทำให้เกิดค่านิยมที่ดีคือ องค์กร  องค์กรที่ดี ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
วัฒนธรรมองค์กรที่ดี มาจาก บุคลากรที่ดี
ฉะนั้น การเขียนวิสัยทัศน์ ที่ดี ต้อง คำนึง ถึง 2 ส่วน ให้ สมดุล คือ มุ่งงาน หรือ มุ่งคน
หลักการคือ เพื่อให้งานบรรลุผล คนทำงานมีความสุข
กลยุทธ ในการสร้างคน ก็มี ประชุม อบรม ศึกษาดูงาน มอบหมายงาน  เป็นต้น
PMQA เป็นเรื่องของเรา เช่น
ผู้นำกำหนด  ไปภูเก็ตให้มีความสุข
ให้รู้ทั่วทั้งองค์กร ว่าเป้าหมายคือ ภูเก็ต
กระบวนการต่อไป ดำเนินการต่อ
ตามหมวดต่างๆ ให้สมบูรณ์
หมวด 4 เช่น ในเรื่องที่ไม่รู้ ต้องมความรู้ เช่น ที่พักมีกฎ มีข้อห้ามอย่างไรบ้าง
            สถานที่บางแห่งต้องทำอย่างไรบ้าง
ค่านิยม ในการไปครั้งนี้ คือ 1 ตรงต่อเวลา เรื่องดีดีที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนก็ได้
วิสัยทัศน์  กำหนดแล้ว ท่านต้องทำ ฉะนั้น จึงต้องกำหนดในสิ่งที่สามารถทำได้
วิสัยทัศน์ CUP หรือ เครือข่าย
วิสัยทัศน์ พชอ.
วิสัยทัศน์ สสอ.

            วิสัยทัศน์ เขียนเล็กๆๆ แต่ เน้นให้เห็นผลได้จริง
เช่น  หน่วยงานปลอดบุหรี่
มียุทธศาสตร์ 3 ด้าน เช่น
ด้านผู้รับบริการและญาติ
ด้านผู้ให้บิการ
ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ให้ปลอดบุหรี่  เป็นต้น

วัดว่า PMQA ผ่าน วัด อย่างไร
ผ่าน PMQA คือ ผ่าน กระบวนการ ร่วมกัน


No comments:

Post a Comment