8/30/18

30 สค.2561 กิจกรรม 5 กลุ่มวัย พชอ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร_ภาพตัวอย่างจาก ต.กู่จาน


30 สค.2561 กิจกรรม 5 กลุ่มวัย พชอ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร _ภาพตัวอย่างจาก ต.กู่จาน
วันที่ 30 สิงหาคม 2561 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  บันทึก กิจกรรม   
การสรุปผลการปฏิบัติงาน โครงการ ส่งเสริมสุขภาพประชาชน ๕ กลุ่มวัย
โดยบูรณาการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ปีงบประมาณ ๒๕๖๑





ภาพตัวอย่างจาก ต.กู่จาน โดย นายอุทิศ ฝูงดี ผอ.รพ.สต. และคณะ รพ.สตง กู่จาน 








โครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชน 5 กลุ่มวัย โดยการบูรณาการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)
เขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2561
1. ประเด็นการจัดบริการให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ความรู้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับตำบลและอำเภอ  อำเภอละ 600 คนๆ ละ 100  บาท 70 อำเภอ (อำเภอละ 60,000 บาท) เป็นเงิน 4,200,000 บาท (สี่ล้านสองแสนบาทถ้วน) ดังนี้
1.1 กลุ่มเด็กเล็กอายุ  0-5 ปี (ให้ความรู้ผู้ปกครอง)
1) ความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั่วไป (การเลี้ยงดู การเฝ้าระวังพัฒนาการ ส่งเสริมทักษะ การป้องกันอุบัติเหตุและลดความเสี่ยง)
2) วิตามินเสริมและการรับวัคซีนป้องกันโรค  (วัณโรค,ไวรัสตับอักเสบบี,โรคคอตีบ  บาดทะยัก ไอกรน,โปลิโอ,หัด หัดเยอรมันและคางทูม,ไข้สมองอักเสบเจอี,ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล)
3) การเจริญเติบโตของเด็ก พัฒนาการเด็ก (IQ,EQ)
4) การดูแลสุขภาพช่องปากและการทาฟลูออไรด์ในเด็กกลุ่มเสี่ยง
5) ภาวะสายตาผิดปกติ
1.2 กลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น  เปลี่ยนเป็นกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี
1) การรับวัคซีนป้องกันโรค (โรคคอตีบ  บาดทะยัก ไอกรน,โปลิโอ,หัด หัดเยอรมันและคางทูม,ไข้หวัดใหญ่)
2) การดูแลสุขภาพช่องปากและการเคลือบฟลูออไรด์หรือฟลูออไรด์เจล
3)ภาวะสายตาผิดปกติและความผิดปกติทางการได้ยิน
4) อนามัยเจริญพันธ์และบริการวางแผนครอบครัว
5) การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์
6) ความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพสารเสพติด
1.3 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1) การฝากครรภ์คุณภาพ  การดูแลการตั้งครรภ์และการคลอด โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูก  อาการผิดปกติของการตั้งครรภ์และหลังคลอดหรือภาวะฉุกเฉิน
2) การดูแลสุขภาพช่องปาก
3) สุขภาพจิต ความเครียดและโรคซึมเศร้า
4) การรับวัคซีนป้องกันโรค และการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน
5) การวางแผนครอบครัว  (ยากินคุมกำเนิด  ยาฉีดคุมกำเนิด ห่วงอนามัย  ยาฝังคุมกำเนิด การทำหมัน)
1.4 กลุ่มผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส (เด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี/กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี)
1) อาหารและโภชนาการ
2) การออกกำลังกายและการพักผ่อน
3) อารมณ์และการจัดการความเครียด
4) การจัดการสิ่งแวดล้อมและการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความพิการ
5) กฎหมายและการเข้าถึงบริการของผู้พิการ
1.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป
1) สุขภาพจิต โรคซึมเศร้า
2) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม
 3) การดูแลสุขภาพช่องปาก การแปลงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์
4) การออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกายและการฝึกการทำงานของสมอง
5) การควบคุมน้ำหนัก การกินอาหารที่เน้นผัก ผลไม้ อาหารไขมันต่ำ ปลา เมล็ดธัญพืช ข้าวกล้อง  ลดการดื่มแอลกอฮอล์
6) มะเร็งเต้านมและการตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง
1.6 กลุ่มผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการหรือมีเงื่อนไขจำเป็น (กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป)
1) การดูแลด้านร่างกาย (อาการปวด อาการเบื่ออาหาร อาเจียน อาการเหนื่อยหอบ การเกิดแผลกดทับ อาการบวม อาการคัน ท้องผูก ฯลฯ).
2) การดูแลด้านจิตใจ อารมณ์และจิตวิญญาณ
3) การจัดสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
4) การปฎิบัติตนของผู้ดูแล/และญาติ
1.7 กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี (ประเมินพฤติกรรมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช)
1) สุขภาพจิต (ความเครียด/ซึมเศร้า)
2) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
3) การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์4)
4) ความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพสารเสพติด
5) มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและการตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง
6) ประเมินคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง (การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกร)
2. ประเด็นการจัดบริการให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำและจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรค  อำเภอละ 100 คนๆ ละ 100 บาท 70 อำเภอ (อำเภอละ 10,000 บาท) เป็นเงิน 700,000 บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) ดังนี้
2.1 กลุ่มเด็กเล็กอายุ  0-5 ปี (ให้ความรู้ผู้ปกครอง)
2.2 กลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น เปลี่ยนเป็นกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ  6-24 ปี
2.3 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
2.4 กลุ่มผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส (เด็กโตและวัยรุ่นอายุ  6-24 ปี/กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
2.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป
2.6 กลุ่มผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการหรือมีเงื่อนไขจำเป็น (กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป)
2.7 กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี (ประเมินพฤติกรรมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช)(รายละเอียดกิจกรรมเหมือนประเด็นข้อ 1)
3. ประเด็นการจัดบริการให้คำปรึกษาแนะนำ  ให้ความรู้การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคกับประชาชน ในพื้นที่  พชอ.ต้นแบบ  จังหวัดละ 2 อำเภอ ๆ ละ 100 บาท 10 อำเภอ (อำเภอละ 50,000 บาท) เป็นเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ดังนี้
3.1 กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี (ให้ความรู้ผู้ปกครอง)
3.2 กลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น เปลี่ยนเป็นกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี
3.3 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
3.4 กลุ่มผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส (เด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี/กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี)
3.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
3.6 กลุ่มผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการหรือมีเงื่อนไขจำเป็น (กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป)
3.7 กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี (ประเมินพฤติกรรมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช)(รายละเอียดกิจกรรมเหมือนประเด็นข้อ 1)
4. ประเด็นจัดบริการให้คำปรึกษาแนะนำ  ให้ความรู้การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคกับประชาชน ในพื้นที่ รพ.สต. จังหวัดละ 4 รพ.สต. ๆ ละ 100 คน ๆ ละ 100 บาท 20 แห่ง (รพ.สต. ละ 10,000 บาท) เป็นเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ดังนี้
4.1 กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี (ให้ความรู้ผู้ปกครอง)
4.2 กลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น เปลี่ยนเป็นกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี
4.3 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
4.4 กลุ่มผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส (เด็กโตและวัยรุ่นอายุ  6-24 ปี/กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
4.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
4.6 กลุ่มผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการหรือมีเงื่อนไขจำเป็น (กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป)
4.7 กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี (ประเมินพฤติกรรมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช)(รายละเอียดกิจกรรมเหมือนประเด็นข้อ 1)

No comments:

Post a Comment