1/26/13

ยโสธร DHS&PCA เพิ่มคุณภาพบริการให้กับประชาชน


วันที่  24-25 มกราคม 2556   ยโสธร DHS&PCA เพิ่มคุณภาพบริการให้กับประชาชน
ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  และคณะ ประชุม เชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์งานส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิแบบมีส่วนร่วมโดยการบูรณาการตามเกณฑ์เครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PCA) ณ โรงแรมอาราญาน่า ภูพิมาน รีสอร์ท แอนสปา เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นวันที่ 2 -3 ( แต่ละคืน ถึง 3 ทุ่ม ครับ)
วิทยากร โย ดร.สมชาย วงษ์พิริยะไพฑูรย์  หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และคณะ
สรุปโดยย่อ จาก เอกสารเล่มสีฟ้า เกณฑ์คุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ Primary Care Award:PCA
ได้ดังนี้
การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ
เกณฑ์คุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ Primary Care Award:PCA
ประยุกต์จาก กรอบระบบคุณภาพของ Malcolm Baldrige National Quality Award MBNQA

แนวคิดหลักการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ
หัวใจสำคัญที่เป็นคุณภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ คือ ต้องเป็นบริการองค์รวม
ต่อเนื่อง ผสมผสานและสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชนอย่างสมดุล ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้
เป็นหลักการที่ผู้ให้บริการต้องใช้เป็นฐานในการดำเนินงานบริการในทุกด้านของหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ ในการดูแลประชากรแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม ต้องพยายามที่จะบูรณาการด้านการส่ง
เสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพไปพร้อมกัน และ
กระบวนการดำเนินงานต้องคำนึงถึงมิติทางด้านจิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมของประชาชน
หรือผู้รับบริการด้วย
การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิได้นำแนวคิด CQI (Continuous Quality
Improvement) มาใช้ ซึ่งจะเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้
มาตรฐานและการประเมินตนเองเป็นเครื่องมือให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ / พัฒนา ให้กับหน่วยบริการ
เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ
เป้าหมายของระบบการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ คือการกระตุ้นให้หน่วย
บริการปฐมภูมิ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้บริหาร
และผู้เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) ตลอดจนหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและชุมชน เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้ตอบสนองความต้องการ ความจำเป็น
ด้านสุขภาพของประชาชน และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ชุมชนพึ่งตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

นายแพทย์ สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และผู้บริหาร ได้ ให้นโยบายสำคัญ ไว้ ใครไปร่วมรับทราบนโยบายบ้าง ดูรายละเอียด ได้
  ที่นี่ 









เนื้อหาสำคัญของเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เนื้อหาสำคัญของPCA 7 หมวด
ประกอบด้วย ส่วนพื้นฐาน และองค์ประกอบขององค์กร 3 ส่วน 7 หมวด คือ
ส่วนพื้นฐาน ลักษณะสำคัญขององค์กร
ลักษณะองค์กร
ความท้าทายขององค์กร
ส่วนที่ 1 การบริหารจัดการองค์กร
หมวด 1 การนำองค์กร
1.1 การนำองค์กร
1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม
หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์
2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
หมวด 3 การให้ความสำคัญกับประชากรเป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.1 ความรู้เกี่ยวกับประชากร เป้าหมาย ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.2 ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของประชากร เป้าหมาย ชุมชน และ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวด 4 การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้
4.1 การวัด วิเคราะห์และพิจารณาผลการดำเนินงานขององค์กร
4.2 การจัดการสารสนเทศ และการจัดการความรู้
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
5.1 ระบบบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน ตาม
ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.2 การเรียนรู้ และการสร้างแรงจูงใจ บุคลากรในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
5.3 การสร้างความผาสุก และความพึงพอใจแก่บุคลากร
ส่วนที่ 2 กระบวนการสำคัญของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
หมวด 6 ด้านระบบบริการ
6.1        กระบวนการให้บริการที่สร้างคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ
6.2 กระบวนการสนับสนุนการให้บริการที่สร้างคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ

ส่วนที่ 3 ผลลัพธ์การดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
7.1        ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิผล
7.2        ผลลัพธ์การดำเนินการด้านคุณภาพการให้บริการ
7.3        ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิภาพของกระบวนการให้บริการ

7.4        ผลลัพธ์การดำเนินการด้านการพัฒนาองค์กรเครือข่ายบริการปฐมภูมิ






แก่นคุณค่าของการทำงานพัฒนาคุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ Core Value
ประกอบด้วย
1. การนำหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างมีวิสัยทัศน์
2. ความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม
3. มุมมองเชิงระบบ
4. การมุ่งเน้นอนาคต และการใช้ประโยชน์จากการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
5. การมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือ ความเป็นเลิศที่ต้องได้มาจากการให้ความสำคัญ
กับประชากรเป้าหมาย
6. การทำงานเป็นทีม และมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งภาครัฐและเอกชน
7. การมีความคล่องตัว
8. การยึด ผลสัมฤทธิ์และ การสร้างคุณค่าเป็นเป้าหมายในการทำงาน
9. การบริหารจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรม
10. การเรียนรู้ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ และทีมสุขภาพ
11. การบริหารจัดการด้วยการใช้ข้อมูล และข้อเท็จจริง







ระบบการประเมิน PcA
ระบบการประเมินองค์กรตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
ในการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิเน้นการประเมิน ติดตามผลของตนเองอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ซึ่งประยุกต์จากแนวทาง การประเมินตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) และกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐ (PMQA)
การประเมินองค์กร ทั้งหมดจะมีการประเมินใน 2 มิติ คือ
1) มิติของกระบวนการ
2) มิติของผลลัพธ์
ในแต่ละมิติจะมีการประเมินในเชิงระบบ และความสอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ และบริบท
ขององค์กร รวมทั้งการปรับตัว การเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง







มิติของกระบวนการ
กระบวนการ หมายถึง วิธีที่องค์กรดำเนินการและปรับปรุง เพื่อตอบสนองต่อ
ข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์ โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการประเมิน 4 ปัจจัย ได้แก่แนวทาง
(Approach) การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment) การเรียนรู้ (Learning) และ
การบูรณาการ (Integration)
แนวทาง (Approach - A) หมายถึงวิธีการที่ใช้เพื่อให้กระบวนการบรรลุผล ซึ่ง
แนวทางนั้นต้อง สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ ตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ และอยู่บนพื้นฐาน
ของข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อถือได้ ประเมินจาก
+มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์
+มีวิธีการ หรือแผนที่มุ่งบรรลุผลองค์กรพร้อมกับผู้รับผิดชอบ
+มีตัววัดเป้าหมายและวิธีการติดตามประเมินผล
การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment – D) หมายถึง ความครอบคลุม
และทั่วถึงของการนำแนวทางไปถ่ายทอดนำไปสู่การดำเนินการ เพื่อตอบสนองข้อกำหนด
ในเกณฑ์ การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติจะประเมินจาก
+ความครอบคลุมขั้นตอนของการนำแนวทางไปดำเนินการ
+การใช้แนวทางในทุกหน่วยงาน ทุกคนที่เกี่ยวข้อง
+ทำทุกขั้นตอน ทำอย่างจริงจัง
การเรียนรู้ (Learning – L) หมายถึง การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจร
การประเมินและการปรับปรุง มีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดโดยใช้
นวัตกรรมและการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ในระดับองค์กร ซึ่งเป็นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้
รับจากการประเมิน การศึกษา ประสบการณ์ และนวัตกรรม การเรียนรู้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
การเรียนรู้ของหน่วยงาน และการเรียนรู้ของบุคลากร ประเมินจาก
+การติดตามประเมินผลลัพธ์
+การแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้นและนวัตกรรม ให้แก่
หน่วยงาน / กระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งองค์กร
+การนำบทเรียนไปปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น และ สร้างนวัตกรรมในองค์กร
การบูรณาการ (Integratio+– I) หมายถึง ความครอบคลุม และทั่วถึงของการใช้
แนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กรตามที่ระบุในข้อกำหนด
ในหัวข้อต่างๆ ประเมินจาก
+ความสอดคล้องของเป้าหมาย แผนปฏิบัติ วัดวิเคราะห์ และ ปรับปรุง
+ความสอดคล้องกับกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง
+ความสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร







มิติของผลลัพธ์
ผลลัพธ์ หมายถึง ผลผลิต (Output) และ ผลลัพธ์ (Outcome) ของหน่วยงานที่
ได้จากการดำเนินการตามข้อกำหนดในหมวดที่ 7 ข้อ 7.1 – 7.4 ประกอบด้วย 4 มิติ คือ ผลลัพธ์
การดำเนินการด้านประสิทธิผล ผลลัพธ์การดำเนินการด้านคุณภาพของกระบวนการ ผลลัพธ์การ
ดำเนินการด้านประสิทธิภาพของกระบวนการให้บริการ และผลลัพธ์การดำเนินการด้านการ
พัฒนาองค์กร เครือข่ายบริการปฐมภูมิ ประเด็นที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์มี 4 เรื่อง ได้แก่
+ผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิในปัจจุบันโดยเปรียบเทียบ
กับเป้าหมายที่องค์กรกำหนด(Level)
+แนวโน้มของผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Trend)
เพื่อแสดงทิศทางของผลลัพธ์และอัตราการเปลี่ยนแปลง ของการปรับปรุงผลการดำเนินการ
+ผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เปรียบเทียบ (Comparison)
เพื่อแสดงผลลัพธ์เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและหรือระดับเทียบเคียงที่เหมาะสม
+ความครอบคลุม สอดคล้อง และความสำคัญของผลลัพธ์ (Linkage) เพื่อแสดง
การเชื่อมโยงของตัวชี้วัดผลต่างๆ กับผลการดำเนินการด้านผลผลิตและบริการ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการและแผนปฏิบัติการที่สำคัญตามที่ระบุไว้ในลักษณะสำคัญขององค์กร และในหัวข้อที่อยู่ในหมวด
ที่ 1-6 ว่ามีรายงานผลลัพธ์ที่ครอบคลุมในประเด็นหลัก และ ความสำคัญ ต่อองค์กรทั้งหมด
           
          กระบวนการประเมิน
ขั้นที่ 1 ให้ประเมินตนเอง โดยเครือข่ายภายใน ระดับ CUP ( หมวด P  3 6 6.1.1  6.1.2 3 ระบบ สำคัญ  1รักษา 2คน 3เครือข่าย)
ขั้นที่ 2   ให้ประเมินตนเอง โดยเครือข่ายภายใน ระดับ จังหวัด( ครบทุกหมวด  + ระบบการสนับสนุนอื่นๆ )
ขั้นที่ 3   ให้ประเมินตนเอง โดยเครือข่ายภายใน ระดับ เขต ( เชื่อมโยงครบทุกระบบ + CQI อย่างน้อย 1 เรื่อง หากเป็นระดับ CUP ให้ใช้ ODOP เขียน เป็น CQI)
ขั้นที่ 4   ให้ประเมิน จาก องค์กร ภายนอก  ( ผลงาน รางวัล ที่นำเสนอ สอดคล้องกับสภาพปัญา (ลำดับ 1-3)
ขั้นที่ 5   ให้ประเมินตนเอง องค์กร ภายนอก
            คะแนนการประเมิน 300 ขึ้นไป ขอ Audit ได้

หมายเหตุ สรุป ย่อไว้ กันลืม โดยสรุปจาก เอกสารเล่มสีฟ้า เกณฑ์คุณภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ Primary Care Award:PCA
HCI  (Holistic Continuous Integrate)
            อื่นๆ เพื่อการพัฒนา
อย่าลืม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และร่วมกันพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งต่อไปครับ เพราะ  หัวใจสำคัญที่เป็นคุณภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ คือ ต้องเป็นบริการองค์รวม ต่อเนื่อง ผสมผสานและสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชนอย่างสมดุล  หรือ HCI ไงครับ

No comments:

Post a Comment