24สค 2558พัฒนาการเด็ก_เขตสุขภาพที่10_Child Focus
for Thai_Change
วันที่ 24 สิงหาคม 2558 ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ คณะ เข้าร่วมประชุม เรื่อง การติดตามประเมินผล
การดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ ๒๕๕๘
ประธานในงานโดย นพ.วัลลภ
ไทยเหนือ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะที่ปรึกษา
โครงการบูรณาการพัฒนาการเด็กไทย
ในโอกาสนี้ ท่านให้เกียรติ บรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง
ความคาดหวังของโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
กล่าวต้อนรับ โดย นายเศรษฐการย์
ทิพย์สุวรรณ ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้เข้าร่วมประชุม
ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุขขังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาการเด็ก ทุกระดับ จาก
เขตสุขภาพที่10 ( มุกศรีโสธรเจริญราชธานี) กว่า 500 คน
กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์
โดย นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รองหัวหัวหน้าผู้ตรวจราชการ
วัตถุประสงค์หลักคือ ให้การดูแลด้านพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามวัย
ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
และเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต
สรุปจากการบรรยายพิเศษ ความคาดหวังของโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน
2558
สภาพปัญหา จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมอนามัยสำรวจ ในปี 2553พบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ขวบ ที่มีพัฒนาการต่ำกว่ามาตรฐานร้อยละ 30
ใน ปี 2554 จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิตสำรวจพบเด็กอายุ 6-14 ปี มี IQ เฉลี่ย 98.5 จากมาตรฐาน 100 และมี EQ เฉลี่ย 54 จากมาตรฐาน 50-100
ใน ปี 2554 จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิตสำรวจพบเด็กอายุ 6-14 ปี มี IQ เฉลี่ย 98.5 จากมาตรฐาน 100 และมี EQ เฉลี่ย 54 จากมาตรฐาน 50-100
ในปี 2557 โครงการพัฒนาการเด็กไทย (Lanna
Child Development Integration Project LCDIP) พบว่า
1.
เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิด
ต่ำกว่าเกณฑ์ LBW
10% มีสาเหตุจาก จากการขาดไอโอดีน ไอโอดีน และ Birth Asphyxia
25/1,000 lb. ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง
2.
เด็กที่คลอดปกติ แต่อาจเกิดพัฒนาการล่าช้าในภายหลัง จากการเลี้ยงดู
โดยเฉพาะ เด็กที่อยู่ กับปู่ ย่า ตายยาย ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นเด็กกลุ่มที่ปกติเมื่อคลอด
ปี 2556 สร้างและปรับปรุงแบบคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย
โดยเด็กที่คลอดปกติใช้ คู่มือการเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย
( Developmental Surveillance and Promotion Manual : DSPM )
โดยเด็กกลุ่มเสี่ยง* ใช้ คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง ( Developmental
Assessment for Intervention Manual : DAIM
)
เด็กกลุ่มเสี่ยง* คือ เด็กที่คลอดและมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม
(Low Birth Weight:LBP) และ Birth Asphyxia หรือ Birth defect
ในปี 2557 จากการ
รายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบเด็กประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงประถมศึกษาปีที่
6 ร้อยละ 10-15 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
คิดไม่เป็น ที่น่าสนใจยังพบอีกว่า
กลุ่มเด็กปฐมวัย 0-5 ขวบนั้น เด็กช่วงอายุ 3-5 ขวบ
ซึ่งเป็นวัยที่ส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ในศูนย์เด็กเล็กที่ต้องเตรียมความพร้อมของพัฒนาการด้านต่างๆ
ก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา แต่กลับมีพัฒนาการด้านภาษาและกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้ากว่าเด็กช่วงอายุ
0-2 ขวบอย่างชัดเจน
การ
เฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการเด็ก อายุ 42 เดือน
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 10 รายงานผลการ เฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการเด็ก อายุ 42 เดือน ( 42 เดือน+29วัน)
ระหว่างวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2558 พบว่า
ได้รับการคัดกรอง 4,045คน พบสงสัยล่าช้า 914 คน ประเมินซ้ำ ในอีก 1 เดือน 861 คน
พบว่ามีพัฒนาการสมวัย 701 คน คิดเป็นร้อยละ 81.42 มีพัฒนาการล่าช้า 160 คน คิดเป็นร้อยละ 18.58 ในจำนวนนี้ได้รับการส่งต่อพบผู้เชี่ยวชาญทั้ง
160 คน
เฉพาะในจังหวัดยโสธร ได้รับการคัดกรอง 506 คน พบสงสัยล่าช้า 61 คน ประเมินซ้ำ ในอีก 1 เดือน 59 คน พบว่ามีพัฒนาการสมวัย 48
คน คิดเป็นร้อยละ 81.36
มีพัฒนาการล่าช้า 11 คน คิดเป็นร้อยละ 18.64
ในจำนวนนี้ได้รับการส่งต่อพบผู้เชี่ยวชาญทั้ง 11 คน
การคัดกรอง เด็ก อายุ 9 เดือน
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 10 รายงานผลการ คัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 9 เดือน ( 9
เดือน+29วัน) ระหว่างวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2558 พบว่า เด็ก อายุ 9 เดือนทั้งหมด 3,943
คน ได้รับการคัดกรอง 1,727
คน ( 43.80 %) พบพัฒนาการล่าช้า 294 คน ( 17.02 %)
เฉพาะในจังหวัดยโสธร เด็ก อายุ 9 เดือนทั้งหมด 408
คน ได้รับการคัดกรอง 105
คน ( 25.74 %) พบพัฒนาการล่าช้า 12 คน ( 11.43 %)
การคัดกรอง เด็กอายุ 18 เดือน
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 10 รายงานผลการ คัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 18 เดือน ( 18
เดือน+29วัน) ระหว่างวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2558 พบว่า เด็ก อายุ 18 เดือนทั้งหมด
3,934 คน
ได้รับการคัดกรอง 1,926 คน ( 48.96 %) พบพัฒนาการล่าช้า 603 คน ( 31.31 %)
เฉพาะในจังหวัดยโสธร เด็ก อายุ 18 เดือนทั้งหมด 406
คน ได้รับการคัดกรอง 117
คน ( 28.82 %) พบพัฒนาการล่าช้า 23 คน ( 19.66 %)
การคัดกรอง เด็ก อายุ 30 เดือน
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 10 รายงานผลการ คัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 30 เดือน ( 30
เดือน+29วัน) ระหว่างวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2558 พบว่า เด็ก อายุ 30 เดือนทั้งหมด
3,926 คน
ได้รับการคัดกรอง 1,611 คน ( 41.03 %) พบพัฒนาการล่าช้า 352 คน ( 21.85 %)
เฉพาะในจังหวัดยโสธร เด็ก อายุ 30 เดือนทั้งหมด 426
คน ได้รับการคัดกรอง 61
คน ( 14.32 %) พบพัฒนาการล่าช้า 9 คน ( 14.75 %)
การคัดกรอง เด็ก อายุ 42 เดือน
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 10 รายงานผลการ คัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 42 เดือน ( 42
เดือน+29วัน) ระหว่างวันที่ 6-10 กรกฎาคม 2558 พบว่า เด็ก อายุ 42 เดือนทั้งหมด
4,519 คน
ได้รับการคัดกรอง 4,045 คน ( 89.51 %) พบพัฒนาการล่าช้า 941 คน ( 22.60 %)
เฉพาะในจังหวัดยโสธร เด็ก อายุ 42 เดือนทั้งหมด 517
คน ได้รับการคัดกรอง 506
คน ( 97.87 %) พบพัฒนาการล่าช้า 61 คน ( 12.06 %)
ก้าวต่อไปเพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก_สิ่งที่ต้อง กลับไปดำเนินการต่อในแต่ละพื้นที่ 4 ประการ คือ
1. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย
2. ทุกหน่วยงานบันทึกข้อมูลพัฒนาการเด็ก ในฐานข้อมูล ระบบ 43 แฟ้ม เริ่ม 1 ตุลาคม 2558
3. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ โดยการให้ความสำคัญกับการดูแลเด็กแบบูรณาการ ทุกหน่วยงานให้ Focus ไปที่การพัฒนาเด็ก อย่างครบวงจร ทั้งในศูนย์เด็กเล็ก ในโรงเรียน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมหาวิทยาลัย และในกระทรวงอื่นๆ ให้เด็กได้รับการดูแลตามมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการปฏิบัติงานจริงในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปประกอบการประเมินผลเรื่องการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้
ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติขึ้น
โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงต่างๆ
เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวัง คัดกรอง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบบูรณาการ
และเป็นรูปแบบแก้ไขปัญหาระดับประเทศ โครงการดังกล่าวมีระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ถึง 31 มีนาคม 2561 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึง
5 ปี คาดว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการจะสามารถส่งเสริมและพัฒนาเด็กไทยให้มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ
85
No comments:
Post a Comment