8/30/15

26 สค 2558กรรมการบริหาร_สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว_ประชุม

26 สค 2558กรรมการบริหาร_สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว_ประชุม
                   วันที่ 26 สิงหาคม 2558   ภาคบ่าย ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมการประชุม คณะกรรมการบริหารสาธารณสุข อำเภอคำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
                   ปรานการประชุม โดย นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
คณะกรรมการบริหารสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จำนวน ๒๓ คน ประกอบด้วย
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว










1.     1 การส่งคนเข้าร่วมประชุม สัมมนา ให้มีหนังสือเชิญประชุม หนังสือสั่งการ จาก สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ในวันนี้ให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นำหนังสือเชิญประชุมแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ดังนี้
1.1 หนังสือเชิญประชุมเรื่องการบำบัดฟื้นฟูและการค้นหา คัดกรองผู้เสพผู้ติดยาเสพติดและการให้การรักษาแบบสั้น ซึ่งประกอบด้วยการให้คำแนะนำแบบสั้น  (Brief Advice: BA) การช่วยเหลือแบบสั้น (Brief Intervention: BI) ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘         จึงขอให้ ผู้รับผิดชอบงานยาเสพติด อสม.ด้านยาเสพติด รวมแห่งละ ๒ คน เข้ารวมประชุม
1.2 หนังสือเชิญประชุมเรื่องการบันทึกระบบข้อมูลการเงินการคลัง ในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘         ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือผู้รับผิดชอบการบันทึกข้อมูล  โดยมีวิทยา 2 คน คือ นายสาคร ขอสุข และ นางเดือน ตั้งจิตร
2.     วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ให้ผู้มีรายชื่อต่อไปนี้ จำนวน ๖ คน เข้าร่วมประชุม เรื่อง การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในพิธีต่าง ๆ  ณ โรงแรม เจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมือง ยโสธร
๒.๒) นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ
๒.๓) นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ประธาน ชมรม ผอ.รพ.สต. อำเภอคำเขื่อนแก้ว
๒.๔) หัวหน้าโซน ทุกคน
3.     การแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออก
3.1  การป้องกันการตาย
1). ให้ รพ.สต.ทุกแห่ง จัดหา Cuff ตรวจความดันโลหิตสำหรับเด็กโดยพลัน
       เหล่าไฮ นาเวียง  ยังไม่สั่งซื้อ สั่งซื้อแล้ว โพนสิม นาหลู่  สงเปือย นาคำ นอกนั้น มีพร้อมใช้งาน
       เพื่อให้สามารถ ทำ Tourniquet Test ได้ ( Systolic + Diastolic ) หาร 2 ทิ้งไว้ 5 นาที คลายออก
       ทิ้งไว้ 1 นาที อ่านผล นับได้ >10 จุด ใน 1 ตารางนิ้ว ถือว่า DHF Positive
       2). หากไข้ติดต่อกัน 2 วัน ให้ตรวจ Tourniquet Test หากมีผล TT Positive ให้ refer รพ.คำเขื่อนแก้ว
3.2  การป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
1). หากมี Case เกิดขึ้น ให้ควบคุมให้อยู่ ไม่ให้เกิน 28 วัน (ไม่มี Generation ที่ 2 )
โดยใช้มาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 5 ป.1ข. และ มาตรการป้  3 3 1 หรือ มาตรการ 3-3-1
       เลข 3 ตัวแรก คือ โรงพยาบาลพบ Case แล้ว ให้รายงานโรคไข้เลือดออกให้ สสอ.รพ.สต. ทราบ ภายใน 3 ชั่วโมง  
       เลข 3 ตัวที่ 2 คือ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน ชุมชนผู้ป่วยใน 3 ชั่วโมง
       แจ้งให้ อสม.ลง การควบคุมโรคโดยทีม SRRT ภายใน 3 ชั่วโมง  ทำ knock Down พ่นตัวแก่
       เลข 1 คือ ให้ ส่งทีม ลงสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว หรือ SRRT เอสอาร์อาร์ที ลงพื้นที่ควบคุมโรคภายใน 1 วัน
       ควบคุม ถึงบ้าน ภายใน 1 ชั่วโมง ทีมท้องถิ่น ได้แก่ อบต. ผู้นำชุมชนและทีมควบคุมโรคของโรงพยาบาล พ่นฆ่าตัวแก่ ในรัศมี 100 เมตรที่ห่างจากบ้านที่เกิดโรคระบาด
2). ศูนย์เด็ก วัด โรงเรียน ต้องมี ค่า BI CI เป็น ศูนย์
3). การพ่นเคมี ให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และใช้ในเชิงจิตวิทยาเท่านั้น
       บันทึก มาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 5 ป.1ข.
       มาตรการ 5 ป.1 ข. คือ
ป.1 ปิดภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่  
ป.2 เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน
ป.3 ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร
ป.4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดไม่ให้มีเศษวัสดุเป็นที่น้ำขังกลายเป็นแล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และให้บ้านเรือนปลอดโปร่ง โล่งสะอาด ลดพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
ป.5 ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย ลงมือทำทันที และ
ข. ขัดล้าง ไข่ยุงลายที่อาจติดอยู่ตามภาชนะต่างๆ ที่ใส่น้ำ สำหรับไข่ยุงลายนั้น จะเป็นเม็ดเล็กๆ สีดำ ติดอยู่ที่ขอบภาชนะใส่น้ำ ถ้าไม่สังเกตอาจจะมองไม่เห็น บางภาชนะอาจจะมีไข่ยุงลายติดอยู่หลายพันจนถึงหมื่นฟอง ไข่ยุงลายเหล่านี้อยู่ได้นานถึง 2 ปี สามารถรอดและฟักตัวเป็นยุงลายได้ถึงร้อยละ 80 เมื่อไข่ยุงลายเหล่านั้นถูกน้ำท่วม และจะฟักตัวกลายเป็นลูกน้ำอย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 – 60 นาที จึงจำเป็นต้องมีการขัดล้างขอบภาชนะต่างๆ ที่อาจจะมีไข่ยุงลายเกาะติดอยู่
       วาระเพื่อพิจารณา
       เรื่อง แนวทางการขนส่งขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
       สภาพปัญหาปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ไม่สามารถเผาขยะ และขยะติดเชื้อได้ตามมาตรฐาน ปัจจุบันโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วแก้วปัญหาโดย นำส่งขยะติดชื้อไปเผาที่มีมาตรฐาน ณ เทศบาลเมืองวารินชำราบ
       เพื่อให้ทางการขนส่งขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว เป็นไปอย่างมีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน จึงเห็นควรให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งกำจัดขยะให้ถูกหลักตามมาตรฐาน
       วิธีการ
๑.      จัดหารถขนขยะติดเชื้อ จำนวน ๑ คัน สำหรับ ขนขยะจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โดยมีพนักงานไปรับ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง  ไป ๑ วัน ให้สามารถ เก็บได้วันละ ๘ แห่ง 
๒.      ประเภทรถ รถมอเตอร์ไซด์สามล้อขนาดใหญ่ ( รถ Sky Lab ) จำนวน ๑ คัน
๓.      บริหารจัดการในภาพรวม ทั้งการจัดหารถ การดูแลรักษา การจ่ายค่าเผาขยะ ค่าจ้างพนักงานขับรถ โดยมีคณะทำงานดังนี้
           ๒.๑) ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ทั้ง ๒ คน
           ๒.๒) นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ประธาน ชมรม ผอ.รพ.สต. อำเภอคำเขื่อนแก้ว
           ๒.๓) หัวหน้าโซน ทุกคน
           ๒.๔) นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ
           ๒.๔) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคและออกแบบต่อเติม
๔.     ให้ใช้งบประมาณเบื้องต้น จากเงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย หลังจากนั้น
ให้บริหารจัดการจากเงิน Maintenance ของ รพ.สต.งวดที่ ๑/๒๕๕๘ ส่งคืนเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อยต่อไป
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 21 คน

       มติที่ประชุม เห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ให้ดำเนินการจำนวน 21 คน 

No comments:

Post a Comment