5 สค. พัฒนาคน พัฒนางาน บูรณาการ สู่ประชาชนสุขภาพดี_เขตสุขภาพที่ 10จัดใหญ่ที่ยโสธร
วันที่
5 สิงหาคม 2558 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการ เขตสุขภาพที่ 10 ( มุกศรีโสธร เจริญราชธานี) ณ ห้องประชุม โรงแรมเจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมือง
จังหวัดยโสธร
ทั้งนี้
เขตสุขภาพที่ 10 (
มุกศรีโสธร เจริญราชธานี) จัดการประชุมวิชาการ เขตสุขภาพที่ 10
ขึ้น ณ ห้องประชุม โรงแรมเจพี เอ็มเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ในวันที่ 4 -5 สิงหาคม 2558
กิจกรรมวันนี้ประกอบด้วย
การมอบรางวัล
สำหรับบุคคล หน่วยงานที่ได้รับรางวัลการประกวดผลงานวิชาการประเภทต่างๆ
การเสวนา
หัวข้อ พัฒนาคน พัฒนางาน บูรณาการ สู่ประชาชนสุขภาพดี ดำเนินการอภิปรายโดย นพ.จิณณพิภัทร
ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
การบรรยายพิเศษ
จาก ศาสตราจารย์.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์
ข้อคิดสิ่งดีดี
เพื่อคุณภาพชีวิตดี ทั้งประชาชนและคนทำงาน
4 E อุปนิสัยที่ดีของ CEO ที่สำคัญ
4 ประการ เป็นต้น
1.จงทำงานอย่างมีพลัง
Energy คนที่มีภาวะผู้นำต้องคึกคัก ต้องไม่เริ่มต้นว่ามันยาก
มันหนัก
2.เป็นผู้ที่ทำให้ผู้อื่นมีพลัง
Energizer ถ้าเราเชื่อว่าเค้าเก่งเค้าก็จะเก่ง
3.Edge ต้องตัดสินใจตลอดเวลา การตัดสินใจผิดพลาด
มีผลเสียน้อยกว่า การไม่ตัดสินใจ เพราะทำให้คนอื่นช้าและชะลอไปหมด ที่สำคัญ ตัดสินใจแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือเลวต้องไม่แก้ตัว
ไม่โทษคนอื่น ต้องรับผิดชอบ
4.
Executes ลงมือทำงาน บริหารจัดการอย่างทรงคุณภาพ
Detail are below the pictures ศึกษารายละเอียดได้ที่ข้างล่างภาพ นะครับ
ซึ่งฟัง
ศาสตราจารย์.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ แล้ว
เป็นที่ประทับใจของผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
ส่วนแรกนี้
ต้องขอขอบพระคุณ คุณจรรยา ดวงแก้ว ที่ กรุณา สรุป เป็น short note ได้ดี สามารถเตอนความจำคนที่รับฟังได้ดีครับ ความว่า ...
ความสำเร็จต่างๆ 80% เกิดจากภาวะผู้นำ.
20% เกิดจากความรู้ กฎ Parito
หน้าที่หลักของ ผู้นำคือ เป็นผู้นำต้องสร้างผู้นำ
สร้างผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับให้มีภาวะผู้นำตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
การสร้างผู้นำที่ดีคือ
ต้องเริ่มจากการให้ give
more than get
ยิ่งให้ยิ่งดีเพราะยิ่งให้ยิ่งได้ Our loss is our gain การขาดทุนคือกำไร
ภาษิตที่ใช้ ของผู้ให้ หรือคนทำงานคือ
ภาษิตของแม่ผมแม่ผู้ไม่รู้หนังสือสอนไว้ คนกินแรงไม่ตายหรอก ผีกินแรงจึงจะตาย
trend of the future
ผู้สูงอายุจะมากขึ้น
ความทันสมัยของเครื่องจักร
และระบบอัจฉริยะ
เราปฏิเสธไม่ได้
มีแต่ต้องเรียนรู้ให้ทันสมัย Computational world
ความทันสมัยของเครื่องจักร
และระบบอัจฉริยะ
ระบบการสื่อสารรูปแบบใหม่(New Media Ecology
โครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ ...
ความสามารถในการติดต่อประสานงานทำให้โครงสร้างองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น
โลกที่เชื่อมโยงต่อกัน(Global connected
world
เพื่อสร้างอิทธิพลร่วมกัน
กลยุทธทางธุรกิจ
นำมาปรับใช้กับเราได้ไหม
สินค้าบางประเภท ทำไมคนชอบกินแม้จะแพง
เค้าบริหารอย่างไร
1. ทำในแบบของคุณ
2. การคำนวณผลโดยใช้เทคโนโลยี
3. ทุกคนต้องเป็น CEOs ลำบากก็ไม่บ่นเพราะมันเป็นของเรา
ต่อไปนี้คุณคือเจ้าของ ทำหน้าที่ด้วยใจให้มากกว่าความรับผิดชอบ
ถ้าเราช้า 1 นาที และทำให้คนอื่นช้าอีก
1 นาที
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสำคัญ
4.ต้องพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
ก่อนทำงาน จะร่วมกันอ่านปฏิญญา
ขององค์การ
ประโยคสั้นๆ 5 ประโยค
ที่พูดชัดชัด ใส่รอยนิ้มเข้าไปด้วย
สวัสดีครับ ขอบคุณครับ
ขอโทษครับ โชคดีครับ แล้วพบกันอีกนะครับ
5. สร้างความประหลาดใจ
และความดีใจ surprise and delight
น้อมกับแรงด้าน ถ้ามีคนติ อย่าแก้ตัว
6.สร้างความประทับใจ
หมายเหตุ คุณเป็นคนหล่อ คุณเป็นคนสวย
คุณแต่งตัวดี อย่าลืมแต่งยิ้มเข้าไปด้วยนะ
JACK WELCH AND THE 4E'S OF LEADERSHIP ขอบคุณ ข้อมูลจาก
HOW TO PUT GE’S LEADERSHIP FORMULAE TO WORK
IN YOUR ORGANIZATION
The 4E’s of Leadership
รูปแบบหรือโมเดลใหม่ในการสร้างผู้นำ ซึ่ง Jack Welch ได้ทำสำเร็จมาแล้วที่ GE (General Electric) โดยเรียกโมเดลใหม่ในการสร้างผู้นำนี้ว่า “โมเดลผู้นำธุรกิจ 4E” (The 4E Leader Model)
-สิ่งที่ Jack Welch ทำในช่วง 20 ปีของการจัดการธุรกิจในฐานะประธานบริษัทและ CEO ของบริษัทสุดยอดของโลกหรือที่เรียกว่า GE Ultra-Competitive (บริษัทที่มีความสามารถแข่งขันที่ดีที่สุดในโลก-แต่โปร่งใสตรวจสอบได้หรือไม่ต้องว่ากันในปัจจุบันนอกสหรัฐอเมริกา) เพราะฉะนั้นความน่าเชื่อถือและแม่นตรงจึงมีสูงมากต่อการที่จะบอกได้ว่าสามารถนำไปใช้ปฏิบัติในองค์กรอื่นได้
รูปแบบหรือโมเดลใหม่ในการสร้างผู้นำ ซึ่ง Jack Welch ได้ทำสำเร็จมาแล้วที่ GE (General Electric) โดยเรียกโมเดลใหม่ในการสร้างผู้นำนี้ว่า “โมเดลผู้นำธุรกิจ 4E” (The 4E Leader Model)
-สิ่งที่ Jack Welch ทำในช่วง 20 ปีของการจัดการธุรกิจในฐานะประธานบริษัทและ CEO ของบริษัทสุดยอดของโลกหรือที่เรียกว่า GE Ultra-Competitive (บริษัทที่มีความสามารถแข่งขันที่ดีที่สุดในโลก-แต่โปร่งใสตรวจสอบได้หรือไม่ต้องว่ากันในปัจจุบันนอกสหรัฐอเมริกา) เพราะฉะนั้นความน่าเชื่อถือและแม่นตรงจึงมีสูงมากต่อการที่จะบอกได้ว่าสามารถนำไปใช้ปฏิบัติในองค์กรอื่นได้
Jack
Welch ได้ใช้ตัวเองพิสูจน์ ทฤษฎี 4E’s of Leadership ของเขา ไว้ด้วย ผลงาน การบริหาร องค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง GE โดย ที่ เขาได้ จำแนก ลักษณะ ของ “ผุ้นำที่ดี”
หรือ “Good Leader”ว่า ต้องมี คุณลักษณะ 4
ประการ (4E+1F) ดังนี้
ผู้นำที่ดี
หรือ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือ คนที่มี “พลังในการทำงาน” หรือ “Energy“,
ที่สามารถใช้
“วิสัยทัศน์” ที่ตัวเองมี ในการ “จุดไฟ” หรือ “Inspire” คนอื่น
ให้ทำงาน “Energises“,
สามารถ
“ตัดสินใจ” ในเรื่องที่ “ยาก”
“Edge“,
และสุดท้าย
มีทักษะ ที่ จะ ทำให้งาน “สำเร็จ” “Executes“,
และ
1F สุดท้าย งานทั้งหมดที่ทำต้อง ไม่ลืม “Financials“.
Leader ที่มี “Energy” มักมี “Passion” ใน งานที่ตัวเอง รับผิดชอบ
Jack Welch กล่าวว่า การที่จะทำให้ Leader มี “Energy” ต้องขจัดสิ่งที่มารบกวน เช่น “การประชุม”, “การเมืองในที่ทำงาน”, “งานที่ไม่ได้ผลงาน หรือ ไม่ได้เป้า”
Peter Drucker ก็ เคยกล่าวถึงเรื่องการ ขจัด “งานที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับบริษัท” ไว้ในเรื่องของ “Planned Abandonment” ว่าด้วยเรื่องการ “Simplified” งาน เพื่อ ปกป้อง “Energy” ของการทำงานไว้
Jack Welch ยังเน้นอีก เรื่อง ของ Energy จะส่งผล ให้ คน ไม่พอใจ กับ ผลงาน ที่ ได้ “ตามเป้า” ผลงานของ ปีที่แล้ว ปีหน้า ต้องได้ดีกว่าเดิม Energy ทำให้คน ไม่พอใจกับ ผลงานเดิมๆที่เคยได้ และผลักดันให้เกิด ผลงาน ที่ดี กว่า เดิม เสมอ
Leader ที่มี “Energy” มักมี “Passion” ใน งานที่ตัวเอง รับผิดชอบ
Jack Welch กล่าวว่า การที่จะทำให้ Leader มี “Energy” ต้องขจัดสิ่งที่มารบกวน เช่น “การประชุม”, “การเมืองในที่ทำงาน”, “งานที่ไม่ได้ผลงาน หรือ ไม่ได้เป้า”
Peter Drucker ก็ เคยกล่าวถึงเรื่องการ ขจัด “งานที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับบริษัท” ไว้ในเรื่องของ “Planned Abandonment” ว่าด้วยเรื่องการ “Simplified” งาน เพื่อ ปกป้อง “Energy” ของการทำงานไว้
Jack Welch ยังเน้นอีก เรื่อง ของ Energy จะส่งผล ให้ คน ไม่พอใจ กับ ผลงาน ที่ ได้ “ตามเป้า” ผลงานของ ปีที่แล้ว ปีหน้า ต้องได้ดีกว่าเดิม Energy ทำให้คน ไม่พอใจกับ ผลงานเดิมๆที่เคยได้ และผลักดันให้เกิด ผลงาน ที่ดี กว่า เดิม เสมอ
Leader
ที่สามารถ “Energize” เพื่อนร่วมงานได้
และ ทำให้ พวกเขาพยายามที่จะทำงานไปด้วยกัน ดึงจุดที่ดีที่สุด ของ Team งานออกมาก คือ ผู้นำที่มี “Energize”
Leader
ที่มี “Energize” จะสามารถ ทำให้
ทีม มี “ความเชื่อ” หรือ
“Confident”ที่จะทำให้ งานสำเร็จ และ ต้องคอย “ให้กำลังใจ” เมื่อ งานไม่ได้เป้า และให้ “ผลตอบแทน” เมื่อทำงานได้ตามแผน
Leader
ที่ใช้ “Energize” ในการทำงาน จะเน้น ให้ ทีม “แสดงความคิด” ของตัวเอง มากกว่า จะใช้ “ความคิด” ของตัวเอง ในการLead ทีมงาน
เขาเหล่านั้น จะ คอย ผลักดันให้ทีม เกิด “Idea” และ
ขัดเกลามัน เพื่อ เอามาใช้งาน
“Energize”
Leader จะคอย ทำให้งานสำเร็จ ด้วยการ ทำให้ พนักงานรู้สึกว่า ตัวเอง
เป็น “ส่วนนึงของความสำเร็จของทีม” คอย
เพิ่ม “ความเชื่อมั่น” มากกว่า
ที่จะจับจ้อง “จุดอ่อน” ของลูกน้อง
“Energize”
Leader จะให้ เป้า และ คำแนะนำเล็กน้อย จากนั้น จะ ให้ความช่วยเหลือ
เมื่อ ต้องการจากทีมงาน เท่านั้น จะไม่ลงไปยุ่งกับ เรื่องจุกจิกเล็กน้อย
Leadership
และ “Edge”
Leader
ทีมี “Edge” จะสามารถ เข้าใจถึง “เวลา” ที่จำเป็นต้องตัดสินใจ และรู้จัก
พูดหรือตัดสินใจ ว่าสิ่งไหน ควร “ทำ(yes)” และสิ่งไหน “ไม่ควรทำ(no)”
นอกจากนั้น
“Edge”
Leader จะต้องรู้จัก ตัดสินใจ ที่ถูกต้องในการ “จ้างทีมงาน”, “ปรับตำแหน่ง”, รวมถึง
“ไล่คนที่ไม่ทำงาน”
“Edge”
Leader ต้องรู้ว่า “Talent Management” นั้นหายาก
ถ้ามีต้อง รักษาไว้ ทุกวิถีทาง
สุดท้าย
Leaders
with edge ต้อง:
ตัดสินใจในช่วงเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม
ตัดสินใจในการแก้ปัญหาอย่างถูกเป้าหมาย
ปรับเปลี่ยนแผนงาน อย่างยืดหยุ่น
กล้าที่จะเปลี่ยน บริหารและกล้า ที่จะ เสี่ยง
สนับสนุนให้ทีมงาน กล้าที่จะเสี่ยง และ ให้ผลตอบแทนที่กล้าทำ
กล้าบอกความจริงในทุกสถานะ กับทีมงาน
แสดงความเป็นเจ้าของในงานที่ทำไม่ว่าผิดหรือถูก
ตัดสินใจในการแก้ปัญหาอย่างถูกเป้าหมาย
ปรับเปลี่ยนแผนงาน อย่างยืดหยุ่น
กล้าที่จะเปลี่ยน บริหารและกล้า ที่จะ เสี่ยง
สนับสนุนให้ทีมงาน กล้าที่จะเสี่ยง และ ให้ผลตอบแทนที่กล้าทำ
กล้าบอกความจริงในทุกสถานะ กับทีมงาน
แสดงความเป็นเจ้าของในงานที่ทำไม่ว่าผิดหรือถูก
Leadership
and Executes:
ผู้
นำที่มี 4E
ต้องสามารถทำให้ งาน “สำเร็จ” ได้ เขาเหล่านั้น จะต้องทำให้งาน เกิด อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่
เข้าประชุม แต่ทิ้ง เป้าหมายในการทำงาน หาก ไม่มีความสามารถในการทำให้งานเกิดได้
การที่มี คุณสมบัติ อื่นๆก็ ไม่มี “คุณค่า” ดังนั้น การที่ทำให้ “งานสำเร็จ” ได้ หรือ “Executes” จึงเป็นคุณสมบัติที่ สำคัญที่สุด
ของ “Leader”
“Leader”
ที่ ดี ที่มี “4E” skill ต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้
“Competitive
Environment” หรือ “บรรยากาศของการมีไฟในการทำงาน”
เป็นยังไง
ใครคือคู่ต่อสู้ของเรา
ในรอบ สามปีที่ผ่านมา
ในเวลาเดียวกันนั้นเราทำอะไรไปบ้าง
ใครที่สามารถ
เป็นคู่แข่งของเราได้ ใน อนาคต
เรามีแผนการอะไรที่จะเอาชนะเขาเหล่านั้น
สิ่งใดที่ต้องมีก่อนการ
ทำต่อสู้
สุดท้าย Jack Welch เน้นว่า Leader ที่มี 4E skill ถึงจะเป็น Leader ที่ดีได้
ส่วนผมนั้น
ระลึกถึงข้อความ ที่ได้รับจาก ผ.บ.ก.สมยศ พันธุ์วัฒนาชัย ส่งมาจาก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
Manage both brain by big
heart
เรื่อง
ผู้นำ 5 ระดับ “คนจะใหญ่ หัวใจต้องใหญ่พอ!”
ข้อความ ดังนี้
วิทยานิพนธ์
ของนักศึกษาปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด
ตามแนวคิดแบบตะวันออกแบ่งผู้นำเป็น
5 ระดับ ดังนี้:-
1.
ระดับล่างสุด คือผู้นำที่เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน
มียุทธวิธีและกลยุทธ์ที่แหลมคม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
เป็นผู้นำที่ลูกทีมมั่นใจว่าจะพาทีมไปได้ตลอดรอดฝั่ง
ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่เก่งฉลาด”
2.
ระดับที่สอง คือผู้นำเก่งฉลาด
บวกด้วยประสบการณ์ชีวิต รวมทั้งมีบทเรียนที่เคย
ผ่านความเจ็บปวดมาแล้ว
และแน่นอนต้องผ่านการทำงานอย่างโชกโชนเพียงพอ
เขาจะได้เข้าใจถึงกาลเทศะ
เรื่องอะไรควรหนัก เรื่องอะไรควรเบา สิ่งใดควรรีบเร่ง
สิ่งใดควรรั้งรอไว้ก่อน
ประเด็นใดสำคัญมาก ประเด็นใดสำคัญน้อยกว่า
ผู้นำระดับนี้ก็จะสร้างความมั่นใจได้มากขึ้นว่า
จะไม่บุ่มบ่าม หุนหันพลันแล่น
แต่จะมีวิธีแก้ปัญหาที่ยืดหยุ่น
นุ่มนวล ถูกต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น
เท่ากับนำพาให้ทีมงานลดความเสี่ยงที่จะต้องพบเจอกับภาวะวิกฤตโดยไม่จำเป็น
ผู้นำระดับนี้เรียกว่า
“ผู้นำที่มีปัญญา”
3.
ระดับที่สาม คือผู้นำที่มีปัญญาแล้วยังสามารถเป็นที่พึ่งของลูกน้องได้
มีความเมตตากรุณาที่ใครเดือดร้อนก็จะมาพึ่งพาขอความช่วยเหลือลูกทีมที่อยู่ร่วมกันก็จะมีความรู้สึกผูกพัน
อบอุ่น มั่นคง ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่มีน้ำใจ”
4.
ระดับที่สี่ คือ ผู้นำที่เปิดทางสนับสนุนให้ลูกทีมได้ประสบความสำเร็จ
บุคคลเหล่านั้นจะเคารพนับถือผู้นำชนิดนี้อย่างสุดจิตสุดใจ
เพราะความสำเร็จ
ในชีวิตของพวกเขาได้มาจากผู้นำคนนี้
ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่สร้างคน”
5.
ระดับสูงสุด คือผู้นำที่ไม่ได้อยากเป็นผู้นำ แต่เป็นคนที่มีความสามารถนำพา
องค์กรทั้งทีมฝ่าฟันผ่านพ้นวิกฤตไปได้
โดยไม่มีกิเลสตัณหาคิดจะเป็นใหญ่
จึงทำทุกอย่างโดยไม่มีอะไรแอบแฝง
โปร่งใสตรวจสอบได้ในทุกด้าน
ดังเช่นปูชนียบุคคลที่ผมเคยเขียนแนะนำประวัติไว้สองท่านคือ
จอร์จ วอชิงตัน1
และ
เติ้งเสียวผิง 2 ซึ่งล้วนถูกเคี่ยวเข็ญให้ขึ้นมาเป็นใหญ่เพื่อกอบกู้วิกฤต และ
พยายามขอถอนตัวจากไปอย่างเงียบๆ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ
ผู้นำระดับนี้เรียกว่า “ผู้นำที่ยิ่งใหญ่”
กล่าวโดยสรุป
ผู้นำระดับที่หนึ่งและสองใช้ “สมอง” เป็นหลัก
แต่ผู้นำที่สูงขึ้นมาในระดับสาม
สี่ ห้า ต้องใช้ “หัวใจ” เป็นกลไกขับเคลื่อน
แนวทางการบริหารจัดการแบบตะวันออกเน้นเรื่องหัวใจมากกว่าสมอง โดยยึดปรัชญาที่ว่า
“คนจะใหญ่ หัวใจต้องใหญ่พอ!”
ดังนั้น
บุคคลที่ไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นมากที่สุดหรือเก่งที่สุด แต่มีภาวะจิตใจ
อยู่ในระดับสาม
สี่ ห้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมักจะอยู่ในตำแหน่งระดับสูงของ
องค์กรใหญ่ๆ
ที่บริหารตามแนวทางตะวันออก
เพราะองค์กรเหล่านี้ไม่ได้ยึดผลประโยชน์เป็นใหญ่
แต่ให้น้ำหนักกับเรื่องความสุขของทุกคนในทีมเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด!
ศาสตราจารย์.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตหัวหน้าพรรคพลังใหม่[2][3] อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม อดีตรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ และเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ศาสตราจารย์ ดร. นพ. กระแส ชนะวงศ์
มีคุณลักษณะโดดเด่นคือ เป็นผู้ที่มีใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลา มีท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน
และการให้คุณค่าผู้อื่นอยู่เสมอ
ท่านมีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาคนในชนบทอยู่ตลอดเวลา
ในช่วงแรกๆของชีวิตการทำงาน ท่านดูแลสุขภาพของประชาชนในชนบท ที่สุขศาลา อำเภอพล
จังหวัดขอนแก่น จนกระทั่งได้รับรางวัลเกียรติยศ คือ รามอนแม็กไซไซ สาขาผู้นำชุมชน
วาทะที่เป็นอมตะของท่านคือ " การศึกษาของชาวชนบท คือ อนาคตของประเทศ"
ดังนั้นจักเห็นว่าปัจจุบัน ท่านมุ่งมั่นผลักดันการศึกษาของชาวชนบทอย่างเป็นรูปธรรม
พ.ศ.
2515 รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น (คนแรก) จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
พ.ศ.
2516 รางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์
พ.ศ.
2529 รางวัลนักสาธารณสุขดีเด่นระหว่างประเทศจาก Western Consortium in
Public Health ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.
2536 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
พ.ศ.
2538 รางวัลมหิดลทยากร จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ.
2547 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ.
2556 รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย โดยสถาบันทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
No comments:
Post a Comment