9/22/17

15 ก.ย.2560การบริหารพัสดุ_สาธารณสุขยโสธร_ชี้แจง พรบ.พัสดุใหม่ ให้บุคลากรทุกระดับ

15 ก.ย.2560การบริหารพัสดุ_สาธารณสุขยโสธร_ชี้แจง พรบ.พัสดุใหม่ ให้บุคลากรทุกระดับ
            วันที่ 15 กันยายน 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ เข้าประชุม เรื่อง การ เสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายป้องกันและปราบปรามการทุจริต   ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานโดย นายวิระมิตร บุญโถน รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
            เนื้อหาหลัก ประกอบด้วย การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ระเบียบ และกฎกระทรวงการคลัง"
วิทยากรโดย นายปิยะวัฒน์ ศิลปรัศมี ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหาร และ เจ้าหน้าที่ จากทุกหน่วยงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จำนวนกว่า 300 คน




















1. จัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ตามมาตรา 11 และ ระเบียบฯข้อ 11 เสนอ ผวจ. หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ  จังหวัดใด ผวจ.ไม่มอบอำนาจอนุมัติแผนมา มอบแต่อำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง ให้เสนอแผนต่อ ผวจ.อนุมัติ แล้วนำแผนลงเผยแพร่ใน website หน่วยงาน และ website กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และนำไปปิดประกาศบนกระดานข่าวของหน่วยงาน ในที่เปิดเผย (หน่วยงานจัดทำกระดาษข่าว/บอร์ด )
- แผนให้แสดงรายการกรณีวงเงินเกิน 5 แสนบาทขึ้นไป /ปีต่อรายการ
- การจัดทำแผน ให้ครอบคลุมทุกรายการและแหล่งเงิน
- รายการวัสดุ อาจจัดเป็นวงเงินประมาณการรวมรายหมวด /ปี  แต่ควรมีรายละเอียดรายการไว้ประกอบการจัดซื้อและสำหรับการตรวจสอบ  ไม่ต้องแนบขออนุมัติหรือลงประกาศ
2.การจัดซื้อจัดจ้างวิธีการเฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติตามมาตรา 56(1) และ (2) กรณี จำเป็นเร่งด่วน ฉุกเฉิน ให้เป็นไปตามระเบียบและหนังสือเวียนแจ้ง เช่น จำเป็นเร่งด่วน ต้องจัดหาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (กรณีวงเงินจัดหาครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 แสนบาท) หรือวิธีคัดเลือก (กรณี วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งเกิน 5 แสนบาทขึ้นไป) โดยหากจัดหาด้วยวิธี e-bidding จะไม่ทันเวลาต่อการใช้งาน และอาจเกิดความเสียหาย หรือส่งผลกระทบต่อ ผป. เป็นต้น  ซึ่งต้องอธิบายเหตุผลความจำเป็นในรายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ 22 ให้ชัดเจน
3. การจัดซื้อวัสดุบริโภค(อาหาร ผป.) ให้จัดทำประมาณการวงเงินจัดซื้อ ต่อรายการ/ครั้ง แล้วจัดทำแผนจัดซื้อฯตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน เช่น ซื้อของสดทุกวัน  ซื้อทุกสัปดาห์ หากจัดซื้อครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 แสนบาท ก็จัดซื้อโดยวิธีเฉพาะเจาะจง  เป็นครั้งๆไป
4. การจัดทำแผนซื้อยาและเวชภัณฑ์  จัดทำประมาณการการใช้และคำนวณวงเงินเป็นราย รายการ/ปี  ให้จัดซื้อตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมฯ หมวด 6  (กรณีต้องจัดซื้อจำเป็นเร่งด่วน ให้ปฏิบัติตามมาตรา 56) บางกรณี  ปลัดฯสั่งให้กองกฎหมาย หารือกระทรวงการคลังก่อน  จะมีประชุมเภสัชกรเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสัปดาห์หน้า
- การจัดยาร่วมระดับเขต ปฏิบัติต่อไปอีกไม่ได้ ไม่มีกฎหมายรองรับ
มติ ครม.ถูกยกเลิกโดย พรบ.
5. การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมฯ หมวด 7 กรณี ซื้อไม่เกิน 1 หมื่นลิตร/ปี  จัดซื้อจากที่ใดก็ได้ไม่กำหนด (ปฏิบัติตามเดิม)ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง
6. การจัดทำเอกสารจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจง  (วงเงินครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 แสนบาท) ให้ เจ้าหน้าที่ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งซื้อสั่งจ้าง หลังจากได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจได้เลย (ทำเหมือนเดิม แต่รูปแบบรายงานให้เป็นไปตามระเบียบใหม่กำหนด ข้อ 22) กรณี จัดซื้อวงเงินเล็กน้อย ไม่เกิน 1 แสนบาท ตั้งผู้รับพัสดุ 1 คน ได้ (กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดวงเงิน
7. การจัดซื้อจัดจ้างจากเงินบริจาค ทั้งที่มีวัตถุประสงค์และไม่มีวัตถุประสงค์ ขอให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบที่กำหนดเหมือนจัดซื้อจัดจ้างจากเงินนอกงบประมาณ เนื่องจาก กสธ.ยังไม่มีระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นของตนเองโดยเฉพาะ (ขณะนี้ กองคลัง สป.กำลังดำเนินการจัดทำ เพื่อขอความเห็นชอบจากกระทรวงคลัง ...ยังไม่ทราบกำหนดแล้วเสร็จ)
8. การบันทึกระบบ e-GP วงเงินเกิน 5,000 บาทขึ้นไป ต้องลง e-GP การจัดทำเอกสารในระบบ e-GP ลงบันทึกในระบบแล้ว Print ออกมาเสนอผู้มีอำนาจลงนามได้เลย หากไม่สวยงามจะพิมพ์ใหม่ ต้องลงบันทีกในระบบก่อน แล้วPrint ออกมาแนบเสนอ (ซึ่งต่างจากของเดิมที่ต้องทำในกระดาษก่อน แล้วจึงเอาไปลงบันทึกในระบบ)
 เอาที่เท่านี้ พอสังเขปก่อนนะ ...
สรุปโดย... สุคนธ์ทิพย์  ศรีจันทร์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ


            ทุกหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดยโสธร ทั้งโรงพยาบาล  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.. ๒๕๖๐  ลงวันที่ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.. ๒๕๖๐ โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
            …/..ข้อ ๒๑ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
() จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อำเภอ
() ดำเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอ
() กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุข
ในเขตพื้นที่อำเภอ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
และมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
() ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอ
ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง
() พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพ ในเขตพื้นที่อำเภอ
() ปฏิบัติงาน ร่วมกับหรือสนับสนุนการ ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย
มีหลายท่าน แปลงเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ จดจำได้ง่ายขึ้นว่า

            FACEME 
พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
โดย อ.มงคล แสงหิรัญ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมายระเบียบกลาง ประจำสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
บรรยาย วันที่ 22 กันยายน 2560 ณ รร.กรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา

หลักการเหตผลและแนวทาง
ป้องกันการทุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ผ่าน Electronics
การจัดซื้อจัดจ้างต้องทำผ่านกรมบัญชีกลางเท่านั้น ผู้ขายต้องลงทะเบียน ผู้ซื้อไม่พบกัน ป้องกันการฮั้วราคา
และสามารถติดตามการใช้งบประมาณได้
มีการกำหนดให้ทำแผนราชการที่ชัดเจน (ของเดิมไม่มี ใช้ระเบียบของ สตง.) เขียนแล้วต้องประกาศ 3 ที่ ถ้าไม่มีแผน จะจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้เลย ยกเว้น เร่งด่วน เรื่องที่มีมูลค่าเล็กน้อย เป็นความลับราชการ ไม่ต้องประกาศก็ได้
ยกเลิกบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด ยกเว้น เงินกองทุนที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลเฉพาะ เช่น สนง.กำกับกิจการพลังงาน
ในบทเฉพาะกาล กรณีมีการจัดซื้อจ้างแล้ว ทำตามระเบียบเดิมต่อจนเสร็จ (กรณี e - market / bidding ถ้ายังไม่มีประกาศเชิญชวน ต้องใช้ระเบียบใหม่ / กรณีตกลงราคา หรือ วิธีพิเศษ ถ้ายังไม่ได้เจรจากับร้านค้า ณ วันที่ 22 สค.ต้องใช้ระเบียบใหม่ )

นิยาม และสำคัญ พรบ. (ไม่เหมือนปี 35)
15 หมวด 132 มาตรา
นิยามการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ = การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุ โดย การซื้อ การจ้าง การเช่า การแลกเปลี่ยน
พัสดุ หมายถึง 1.สินค้า 2.งานจ้างก่อสร้าง 3.การจ้างออกแบบและควบคุมงาน 4.งานจ้างที่ปรึกษา 5.งานบริการ
    1.สินค้า = วัสดุ  ครุภัณฑ์  ที่ดิน  สิ่งปลูกสร้าง
    2.งานบริการ = จ้างบริการ จ้างเหมาบริการ จ้างทำของ การรับขน (ยกเว้น การจ้างลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งตามประมวลกฏหมายแพ่ง)
    3.งานก่อสร้าง = 1งานก่อสร้างอาคาร(รวมเสาธงรั้ว) 2สาธารณูปโภค 3การปรับปรุงซ่อมแซมรื้อถอนรวมงานบริการที่อยู่ในการก่อสร้างนั้นด้วย* (ของเดิมปี 35 ไม่ใช่) ต้องมีการ กก.ควบคุมงานเพิ่ม
*** การทำประกันภัย เช่น ประกันรถยนต์ ไม่ต้องทำตาม พรบ.พัสดุ 2560 นี้
ประกัน พรบ.ภาคบังคับ พรบ. ทำได้เลย  แต่ประกันภาคอิสระ ต้องได้รับการอนุญาต จากกรรมการก่อน
(รถ Ambulance) ***
กรรมการใน พรบ.สามารถเบิกค่าตอนเเทน เป็นเบี้ยประชุมได้ ทั้งนี้ขึ้นกับหน่วยงาน (มีงบประมาณหรือไม่)
เนื่องจากกรรมการต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆ
วัสดุ = สิ่งของใดไม่คงทนถาวร ใช้หมดไป เสียสภาพ หรือ คงทันถาวรแต่เสียซ่อมไม่ได้ = วัสดุ
ครุภัณฑ์ = สิ่งของใดคงทนถาวร เสียซ่อมได้ = คุรุภัณฑ์ โดยไม่คำนึงถึงราคาอีกต่อไป (ยกเว้น ที่ระบุไว้เฉพาะ เช่น วัสดุอะไหล่ เครื่องยนต์ ไม้ต่างๆ เครื่องคิดเลขขนาดเล็ก กะทะ ฯลฯ เป็นวัสดุ)
การจัดหา วัสดุ ใช้งบดำเนินงาน / ครุภัณฑ์ ใช้งบลงทุน 
ราคากลาง  
    (พรบ.เก่าปี 35)
    1. งานก่อสร้าง มติ ครม.ปี 55 : มีกรรมการกำหนดราคากลาง อย่างน้อย ประธาน 1 กรรมการ2 มีหน้าที่ถอดแบบพิมพ์เขียว แล้วประกาศในรูปแบบของ ปปช.กำหนด
    2. ถ้าไม่ใช่งานก่อสร้าง มีของสำนักงบประมาณ ให้ใช้ของสำนักงบประมาณ
    3. พัสดุใดที่ไม่มีราคาของ สำนักงบประมาณ ให้ใช้ระหว่าง ราคาเดิม 2 ปี หรือ สืบราคาท้องตลาด
    4. ยาบัญชียาหลักใช้ตามบัญชี ยานอกบัญชียาาลักใช้เหมือน พัสดุที่ไม่มีราคาของ สำนักงบประมาณ ต้องสืบราคา
    5. อุปกรณ์ IT ใช้ของกระทรวง Digital
    (พรบ. พัสดุ 2560)
    1. ม.62 ต้องประกาศราคากลาง ในประกาศด้วย
    2. ราคากลาง ปี 60 เน้นว่า ราคาที่จัดซื้อได้จริง ตามลำดับดังนี้ 1.ตามหลักการที่ คกก.กำหนดราคากลาง 》》》 2.กรมบัญชีกลาง หรือ  3.สำนักงบประมาณ/หน่วยงานกลาง) 》》》 4.สืบราคาท้องตลาด หรือ 5.ราคาเคยซื้อหลังสุดภายใน 2 ปีงบประมาณ หรือ 6.วิธีอื่นๆ ที่แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานนั้นๆ
วิธีสืบราคามท้องตลาดเช่น สอบถาม หรือ ( Print จาก หน้า Web 3 บริษัท เอาค่าเฉลี่ย จาก 3 บริษัท)




    สิ่งก่อสร้าง ถ้าทราบยอดจัดสรร ก็ประกาศแผนได้เลย
    *ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบการทำแผน*
พรบ.จะไม่บังคับกับ การจัดซื้อจัดจ้างกับสถาบันอุดมศึกษา หรือ สถานพยาบาลของรัฐ โดยใช้เงินบริจาคหรือดอกผลของเงินบริจาค (ไม่มีเงินร่วมกับเงินประมาณ) ... โดยให้มีระเบียบกำหนดเอง แต่ต้องมีหลักคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ (กยผ.กำลังดำเนินการ) ...ถ้ายังไม่มีระเบียบต้องทำตาม พรบ.ฉบับนี้ (ปัจจุบันเงินบริจาคยังเข้าเงินบำรุงอยู่จนกว่าจะมีระเบียบเงินบริจาค)
การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง (ระเบียบกระทรวงการคลัง) จะกระทำไม่ได้ โดยทั้งนี้ให้พิจารณา "วัตถุประสงค์" และ "ความคุ้มค่าคุ้มทุน" ทั้งนี้เน้น งบประมาณที่ต้องจัดซื้อในคราวเดียวกันทั้งหมด เช่น
    - ซื้อยาโดยใช้งบดำเนินงานที่ใช้ทั้งปี แบ่งเป็นรายไตรมาสได้ เพราะไม่มีที่เก็บคลังยาได้ทั้งหมด หรือ จะซื้อทีเดียว (ไม่ใช่จะซื้อจะขาย) แล้วส่งยาเป็นรายไตรมาสก็สามารถทำได้
    - งบครุภัณฑ์ 10 รายการ จัดสรรงบมาแยกรายการ สามารถแยกจัดซื้อจัดจ้างได้ ทั้งนี้อาจแบ่งเป็นกลุ่มการจัดซื้อตามลักษณะการใช้งานได้ แต่ถ้าครุภัณฑ์ 10 รายการ แต่ต้องใช้พร้อมกัน แบบนี้ต้องซื้อในคราวเดียว
การจัดทำแบบฟอร์มตามใน electronics ทุกขั้นตอน ห้ามเปลี่ยนแปลง (ไม่ให้เปลี่ยนแปลง) ให้กรอกตามแบบฟอร์มเท่านั้น

วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
*ยกเว้นการจ้างที่ปรึกษา/ออกแบบงาน
1. ประกาศเชิญชวนทั่วไป : ใช้กับของทั่วๆไป ไม่ซับซ้อน มีมาตรฐานกลาง
2. คัดเลือก : "เชิญชวน"ผู้ประกอบการที่ตรงตามคุณสมบัติเงื่อนไข อย่างน้อย 3 ราย ตามดุลพินิจ เว้นแต่มีน้อยกว่า 3 ราย  (ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการกับกรมบัญชีกลาง) *ออกหนังสือเชิญชวนอย่างน้อย 3 แต่ผู้ประกอบการ ไม่จำต้องมายืนซองไม่ทุกรายก็ได้ *คล้ายกับวิธีพิเศษเดิม ใช้กับกรณีพัสดุยุ่งยาก หรือ ด่วน หรือ ทางเทคนิคเฉพาะ ราชการลับ หรือ กรณีเสียแล้ว จึงประมาณราคา ก่อนจัดซื้อจัดจ้าง
3. เฉพาะเจาะจง : เชิญชวนผู้ประกอบการ"รายใดรายหนึ่ง"ที่ตรงตามคุณสมบัติเงื่อนไข
กรณี 1.ฉุกเฉิน ภัยพิบัติ
กรณี2.กรณีวงเงินเล็กน้อย ตาม กฏกระทรวงการคลัง (ไม่เกิน 500,000 บาท)
กรณี3.มีรายเดียว
4.ที่ดินสิ่งก่อสร้าง
5.ต้องใช้ยี่ห้อเดิม จากที่เคยจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนเเล้ว แต่ต้องซื้อเพิ่ม
ทั้งนี้ ก่อนการเลือกวิธี เฉพาะเจาะจงให้ ใช้วิธีที่ 1 (ประกาศเชิญชวนทั่วไป)ก่อนเสมอ เว้นแต่ ที่ระบุไว้ในข้อยกเว้น

วิธีการ"ซื้อหรือจ้าง " ต่อจากวิธี "การจัดซื้อจัดจ้าง"
1.วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
    1.1 e-Market วัสดุที่ใน e-catalog 29 รายการ
        1.1.1 วงเงิน >5 แสน ใบเสนอราคา
        1.1.2 วงเงิน >5 ล้าน ให้ยื่นผ่าน eGP โดยวิธีการ e ประมูล (E Biding)
    1.2 e-Bidding จัดจ้าง หรือ จัดซื้อรายการที่ไม่ได้อยู่ใน e Catalog >5 แสน ใบเสนอราคา > 5 ล้าน e ประมูล ทั้งนี้ไม่จำเป็นพิจารณาราคาต่ำสุด เพราะใช้เกณฑ์ในการตัดสิน
    1.3 สอบราคา - กรณีไม่มี internet อยู่ห่างไกล เข้าถึงยาก เฉพาะ > 5 แสน ไม่เกิน 5 ล้าน (ปัจจุบันยังไม่มีพื้นที่แบบนี้ในประเทศไทย)
2.วิธีเฉพาะเจาะจง เกิน 5 แสน และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ
3.เฉพาะเจาะจง
ม.58 หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งจัดซื้อให้เเทนหน่วยงานอื่นได้ เช่น ซื้อยารวม เป็นต้น โดยตามระเบียบที่กำหนดออกมา

การบริหารสัญญา
การเซ็นต์สัญญา จะทำได้หลังจากวันกำหนดอุทธรณ์ 7 วันทำการ ใน website ... ห้ามอุทธรณ์กรณี วิธีการคัดเลือก / เกณฑ์พิจารณาเลือกวัสดุ (เช่น ราคา50% กับ คุณภาพ50%)
การก่อสร้าง ถ้าผู้รับเหมาให้ช่วงเหมาไป โดยไม่แจ้งผู้จ้างและอนุญาตก่อน ผู้รับเหมาจะต้องถูกปรับในวงเงิน 10% ของวงเงินที่ให้ช่วงเหมา
การยกเลิกสัญญา ผจก.บริษัท คนเดียวกัน ขัดขวางผู้ประกอบการรายอื่น เอกสารเท็จ ฯลฯ ... ผู้ประกอบการฟ้องไม่ได้ ใน  7 กรณีที่ยกเลิกสัญญา

สรุปขั้นตอน
1.แผนการจัดซื้อจัดจ้างและประกาศแผน 3 แห่ง
"ยกเว้น" 1.เร่งด่วน ราชการลับ 2.ไม่เกิน 500,000 บาท 3.ฉุกเฉิน 4.ขายทอดตลาดให้หน่วยงานรัฐด้วยกัน 5.การจ้างที่ปรึกษา
( รายการใดวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ไม่ต้องจัดทำแผน )


2.ดำเนินการจัดหา
   - ใน 3 วิธีหลัก โดยหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
   - ถ้าวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ไม่ต้องทำหนังสือแจ้งหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ในการจัดหา
3.ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง - โดย ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง
4.การทำสัญญา
5.การตรวจรับพัสดุ

เจ้าหน้าที่ (พรบ.) :1.ตามตำแหน่งโดยตรง คือ บรรจุตำแหน่งพัสดุ ตาม job description ไม่ต้องเเต่งตั้งใหม่ 2.กรณีหน่วยงานย่อย ถ้าไม่มีตำแหน่งโดยตรง ให้ทำคำสั่งแต่งตั้ง
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (พรบ.) : ส่วนภูมิภาค = ผู้ว่าราชการจังหวัด, ส่วนกลางที่ตั้งอยู่ภูมิภาค เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง
หัวหน้าเจ้าหน้าที่ (ระเบียบกระทรวงการคลัง) เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง (ข้าราชการ) หัวหน้าสายงานที่จัดซื้อจัดจ้าง ที่ กพ.กำหนด ถ้าไม่มีต้องแต่งตั้งผู้ได้รับมอบหมาย (ขรก./พนักงานราชการ ก็ได้) โดยทั้งนี้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ อาจมีหลายคนก็ได้ตามภาระงานที่มี
ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คือ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือ ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง ตามที่ได้รับมอบหมาย

วงเงินอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
เชิญชวนทั่วไป ผวจ. 200 ล้าน
วิธีคัดเลือก ผวจ.100 ล้าน
วิธีเจาะจง ผวจ.50 ล้าน

สรุป โดย นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย ปฏิบัติหน้าที่ ผชช.ว.นนทบุรี

No comments:

Post a Comment