1/21/22

11 ม.ค.65 COVID Free Setting จังหวัดยโสธร เน้นเชิงบวก หากต้องบังคับ มี กฎหมาย 2 ฉบับ

11 ม.ค.65 COVID Free Setting จังหวัดยโสธร  เน้นเชิงบวก หากต้องบังคับ มี กฎหมาย 2 ฉบับ  

วันที่ 11 มกราคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

ประชุม ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ผู้เข้าประชุมจากทุกภาคส่วน 170 คน

โครงการ ส่งเสริมมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร : Covid free setting (  CFS )

ประธานการประชุมโดย นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร

กล่าวรายงานโดย นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

หัวหน้าคณะวิทยากรโดย นพ. ดนัย ธีวันดา สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10

วิทยากร โดย นพ.ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

เนื้อหาหลัก แนวทาง มาตรการ ด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

สำหรับ   กิจการ   กิจกรรม และสถานประกอบการ

เพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19)

เป้าหมาย ไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือแพร่ระบาด จากกิจการ กิจกรรม ของสถานประกอบการนั้นๆ

เน้นการดำเนินการตาม มาตรการหลัก VUCA มาตรการเปิดเมือง

โดยไม่คำนึงถึงสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส เพราะผ่านความรุนแรงของเชื้อในระดับสูงสุดมาแล้ว            

VUCA ประกอบด้วย

V :  Vaccine Coverage เร่งฉีดวัคซีนให้บรรลุเป้าหมาย 90 %

U  :Universal Prevention ป้องกันตนเองครอบจักรวาล DMHTTA รักษาระยะห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากาก พยายามอยู่ในที่โล่ง หรือ หากไปในสถานที่ปิด ให้อยู่ในระยะเวลาอันสั้น

C : COVID Free Setting สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยองค์กรด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

COVID Free Environment ด้านสถานที่ พร้อม

            COVID Free Personnel ด้านบุคลากร ฉีดวัคซีนครบ  ผู้ให้บริการ ตรวจ ATK ทุกสัปดาห์

            COVID Free Customer ด้านบุคลากร ฉีดวัคซีนครบ 

( Focus On Vaccination เป็นหัวใจสำคัญที่สุด )

 

A ตรวจ ATK พร้อมตรวจเสมอ เมื่อใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หากพบการติดเชื้อให้โทร 1330 เพื่อขอคำแนะนำ โดยจะเน้นให้ผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยดูแลที่บ้าน มีการจัดยาและเวชภัณฑ์ให้ และติดต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุขได้ตลอดเวลา หากมีอาการมากขึ้นจะมีระบบส่งต่อโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว 

 




แนวทางการดำเนินงาน  CFS มาตรการความปลอดภัยองค์กรด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

1.    เข้า Thai Stop Covid Plus

2.    ประเมินตนเอง

3.    หากผ่าน Print ให้ผู้ประกอบการ ลงนามรับรอง

4.    หากไม่ผ่าน แก้ไข แล้ว ดำเนินการ ตาม 1-3 อีกครั้ง

เน้นการ รู้ด้วยตนเอง แก้ไขด้วยตนเอง สร้างความมั่นใจ ด้วยตนเอง

 

หากผ่านการประเมิน Thai Stop Covid Plus

               จึงสามารถประเมิน COVID Free Setting

สำหรับสถานประกอบการ เน้นการคัดกรอง ตาม Thai Save Thai

           ใช้มาตรการเชิงบวก คนทำดีต้องมีรางวัล

            ขับเคลื่อนในรูปของ สมาคม ผู้ประกอบการ

คำสั่งคณะทำงาน ระดับตำบล พื้นที่

           

           หากไม่ทำ  มีอะไร ไหม(อีเฒ่า)

ตอบ มี เป็นอำนาจ หน้าที่ของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่าน คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ จ.ยโสธร

ตาม พรบ. 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.สาธารณสุข 2535 และ พ.ร.บ.ควบคุมโรค 2558

            ใช้มาตรการ เชิงบวก ควบคู่กับมาตรการ เชิงบังคับ

            ด้านสิ่งแวดล้อม

            ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ

ให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารสร้างความเข้าใจ Stake Holder ก่อนการเปิดบริการ ให้มากที่สุด

           

หากมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมไม่ผ่าน  ไม่ให้เปิด

หากเปิดแล้ว ประเมินใหม่ ไม่ผ่าน ก็ให้สั่งปิดได้  ตามมาตรา 45-46 พรบ.สาธารณสุข มาตรา 35 พรบ.ควบคุมโรค

สภาพบังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค

           

คำตอบ    เป็น plat form สำหรับการประเมิน ระดับบุคคล องค์กร 

ระดับบุคคล ใช้ Thai Save Thai เป็นแบบประเมินระดับ personnel                       

               หากประเมินแล้ว มีความสี่ยง ให้ตรวจ ATK

               หากมีผล ATK เป็น บวก ไม่มีอาการ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง*   ให้ HI

               หากมีผล ATK เป็น บวก มีอาการ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง        ให้ CI

               หากมีผล ATK เป็น บวก มีอาการ มีปัจจัยเสี่ยง ให้        ให้เข้า รพ.

 

ปัจจัยเสี่ยง* เช่น มีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลพิเศษ กำลังรักษาด้วยรังสี  ต้องรับยาบางประเภทต่อเนื่อง เป็นต้น

  ข้อกฎหมาย

พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับ ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2563

มาตรา 34 (1) ผู้ที่เป็นโรคติดต่ออันตราย หรือเข้าข่ายต้องสงสัย  หรือมารับการตรวจรักษา ต้องเข้าสู่การแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ในสถานที่ที่กำหนด  จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ  ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

มาตรา 35 เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนให้สั่งปิดตลาด สถานที่ชุมชน สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดเป็นการชั่วคราวได้ ให้ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคโควิด 19 หยุดทำงานชั่วคราวได้ และสั่งห้ามผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรค เข้าสถานที่ชุมนุมชน เว้นแต่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535

อานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข

มาตรา 44 เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงาน สาธารณสุขมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยค าหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา

(2) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลา meการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจ สอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือรับรองการแจ้งหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่นั้น (3) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขใน ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือตามพระราชบัญญัตินี้

(4) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์ใน การดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น

(5) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือจะก่อให้เกิดเหตุรำคาญ จากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้อง ใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามวรรคหนึ่งในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้

มาตรา 46 ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่า ฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้า พนักงานสาธารณสุขแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยไม่ชักช้า และให้เจ้าพนักงาน สาธารณสุขซึ่งตรวจพบเหตุนั้นแจ้งต่อคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดหรือคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามมาตรา 11

 

มาตรา 58 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำเนินกิจการใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ปฏิบัติไม่ ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไข หรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไข หรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้น หยุดดำเนินกิจการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้ว ก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตาม สมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันที และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ดำเนินกิจการไม่ยอมรับคำสั่ง ดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของผู้ดำเนินกิจการ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี

 บทกำหนดโทษ

มาตรา 79 [42] ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก หรือไม่ยอมแจ้งข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือ หลักฐาน หรือขัดขวาง หรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือ เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 48 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 80 [43] ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีค าสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ หยุดดำเนินกิจการ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๕ มาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๖๕ วรรค สอง โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และ ปรับอีกไม่เกินวันละสองหมื่นห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง

มาตรา 81 [44] ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามมาตรา 46 วรรคสอง โดย ไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ต้องระวางโทษ จำคุกไม่ เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ










No comments:

Post a Comment