1/21/22

9 ม.ค.65 ปฏิวัติโลก Wave Revolution ครั้งที่ 5 ด้าน Creative & innovation

9 ม.ค.65 ปฏิวัติโลก Wave Revolution ครั้งที่ 5 ด้าน Creative & innovation

 วันที่ 9 มกราคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  บันทึกเตือนความจำ  

 

ปฏิวัติโลก ครั้งที่ 1 ด้าน เกษตรกรรม            

ปฏิวัติโลก ครั้งที่ 2 ด้าน อุตสาหกรรมเบา

ปฏิวัติโลก ครั้งที่ 3 ด้าน สารสนเทศ information

ปฏิวัติโลก ครั้งที่ 4 ด้าน ความรู้ Knowledge

ปฏิวัติโลก ครั้งที่ 5 ด้าน ความคิดสร้างสรรค์ นวตกรรม (Creative & innovation )

 



ขอบคุณภาพนี้ จาก

https://www.worktechacademy.com/creativity-feeds-innovation-process/

 

 

      คลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (Wave Revolution)  อาจารย์ เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ  สรุปไว้ได้ดี 4 ยุค  Published: Sunday, 18 November 2018 13:44 | Written by เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ 

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลประกอบจาก

 

https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/235-wave-revolution

 

 

จากที่เผยแพร่มา ถึงปัจจุบัน(2565)  ผ่านไป 4 ปี ดูเหมือนว่า ครั้งที่ 5 หรือยุคที่ 5 กำลังจะมาเร็วครับ

คือด้าน Creative (Creative & innovation )

เดิมผมสามารถพูดคุยกับครอบครัวได้ เห็นหน้า ได้ยินเสียง แบบไม่มีกระตุก ก็อัศจรรย์แล้ว

แต่ปัจจุบัน ปี 2565 ผมประชุมกับคนเป็น 100 ได้ เหมือนอยู่ในห้องห้องประชุม แต่ ประชุมอยู่ที่ไหนก็ได้ ผ่านระบบ on line

ผมเบิกจ่ายเงินให้ใครก็ได้ โดยไม่ต้องไปธนาคาร

ผมซื้อสินค้าที่ไหนก้ได้ เพียงอยู่บ้านก็จะมีสินค้ามาถึงบ้าน

ผมเห็นคนไปเที่ยว อวกาศ กันแล้ว

ผมเห็นรถ ไม่ต้องเติมน้ำมัน วิ่งกันในหมู่บ้านอย่างขวักไขว่

ผมเห็นคนที่สร้างรายได้หลักร้อยล้าน พันล้านได้ ในระยะเวลาไม่กี่ปี

ผมเห็นเครื่องบินต้นแบบ บินได้โดยไม่ต้องเติมน้ำมัน

ผมเห็นรถไฟประเทศจีน วิ่ง 300 กม./ชม. ด้วยระบบแม่เหล็ก ล้อไม่สัมผัสราง บินได้โดยไม่ต้องเติมน้ำมัน

ผมเห็นคนทำงานอยู่ที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปในสำนักงาน

ผมเห็นคนได้รับปริญญาจากต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

ผมเห็นการใช้จ่ายโดยอะไรก็ได้ที่กำหนดกันขึ้นมาในวงการบางอย่าง ซื้อ จ่ายสิ่งของ โดยไม่ต้องใช้เงิน

และอีกหลายๆอย่างมากมายที่เห็น รวมถึง อีก มากกกกก มายยยยย ที่ผมไม่เห็น แต่มเชื่อว่า มีและเกิดขึ้นได้แล้ว ที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดจาก  ความคิดสร้างสรรค์ นวตกรรม (Creative & innovation )

ฉะนั้น การปฏิบัติ หรือ คลื่นลูกที่ 5 น่าจะเรียกได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ นวตกรรม (Creative & innovation )

 

ปฏิวัติโลก ครั้งที่ 5 ด้าน ความคิดสร้างสรรค์ นวตกรรม (Creative & innovation )

 

 

 

Wave Revolution คลื่นลูกที่ 1 การปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีผ่านมาแล้ว นับตั้งแต่ในช่วงปลายยุคหินใหม่ มนุษย์ในยุคนั้นได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่ร่อน ล่าสัตว์ และเก็บพืชผลไม้ป่าเป็นอาหารมาเป็นการเริ่มเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทีการตั้งบ้านอาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งมีรูปแบบเป็นอารยธรรม ปัจจัยแห่งยุคนี้คือ ที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร เพื่อปกป้องทรัพยากรและหาแหล่งทรัพยากรใหม่ให้สังคมของตน  ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้านักธุรกิจ จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าเพื่อเลี้ยงดูตนและกองทัพ อารยธรรมโลกยุคแรกเกิดขึ้นในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ในบริเวณที่ปัจจุบันคือ ประเทศปากีสถาน และที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำฮวงโหในประเทศจีน เมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาลการชลประทานและการค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ

Wave Revolution คลื่นลูกที่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เกิดขึ้นจากปัญญาชนในยุคนี้ปฏิเสธความคิดความเชื่อที่เกิดจากศรัทธาในศาสนาของยุคกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 นำไปสู่การให้ความสำคัญในเรื่องผลิตผลและประสิทธิภาพ  การหาวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและความเจริญก้าวหน้าแก่มนุษย์ นิยมการค้นหาความจริงโดยหลักของเหตุและผล มองโลกในแง่ดีเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์ นำความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ไปอธิบายปัญหาสังคม  โดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นผู้นำ การปฏิวัติอุตสาหกรรม แบบแผนการทำงานในโรงงานยังเข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งต้องนำงานมาส่งให้แรงงาน อันทำให้รูปแบบของสินค้า แรงงาน และสถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยพลังงานและเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ถ่านหิน และไอน้ำในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก มาเป็นพลังงานไฟฟ้า เคมี และน้ำมันในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้น วิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ แม้กระทั่งระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงต่อระบบการทำงานส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์แทบทุกด้าน ปัจจัยของยุคนี้คือทุนเครื่องมือได้แก่ เครื่องจักร เครื่องกล โดยมีไอน้ำและไฟฟ้าเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ โลกเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมมีการสร้างถนนและสาธารณูปโภค การเดินทางไปมาหาสู่กันมีมากขึ้นเนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน พ่อค้า นักธุรกิจ

Wave Revolution คลื่นลูกที่ การปฏิวัติสารสนเทศ (Information Revolution) เป็นยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์สารสนเทศและกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเกิดจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น ที่มุ่งแปรสภาพจากสังคมเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrial Economy) ไปเป็นสังคมเศรษฐกิจบริการ (Service Economy) โดยเป็นการผลิตที่ใช้สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น และมีการใช้นโยบายกีดกันการค้าเข้าแทนที่นโยบายการค้าเสรีที่เคยใช้มาก่อน รวมทั้งใช้นโยบายเสรีนิยมทางการเงิน (Financial Liberalize) ทำให้ทุนและเงินตรากลายเป็นปัจจัยการผลิตที่ไร้เชื้อชาติและสัญชาติ และสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศโดยเสรีโดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศมีความสำคัญแซงหน้าการลงทุนโดยตรง ปัจจัยแห่งยุคคือ ข้อมูลมีเครื่องมือคือ IT (Information Technology) สิ่งต่างๆ ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างง่ายๆ 

Wave Revolution คลื่นลูกที่ การปฏิวัติความรู้ (Knowledge Revolution) เป็นยุคสมัยแห่งการสร้างสังคมแห่งองค์ความรู้ โดยเน้นในปัจจัยคือ ความรู้ (Knowledge) เครื่องมือคือ ศาสตร์วิทยาการในแขนงต่างๆ    เช่น nanotechnology, biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น ยุคนี้จะมีการใช้ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกเฉพาะตนที่มากขึ้น มีการบูรณาการความรู้และใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดความแตกต่างหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง 

จากภาพแนวคิดที่โลกหมุนเวียน การพัฒนาปฎิวิติสร้างความเจริญก็มีการหมุนเวียนไปตามทิศทางของโลก จึงมีคำถามว่าคลื่นลูกที่ 4 จะหมุนเวียนกลับมาที่แถบโซนเอเซียได้หรือไม่ นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะ ปัจจุบันทั้งจีนและอินเดีย ต่างก็มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่แถบนี้มีปริมาณประชากรที่มากเกินครึ่งของประชากรทั้งโลก

No comments:

Post a Comment