วัน ที่ 13-18 กุมภาพันธ์ 2552 เข้ารับการอบรม ณ โรงแรม ทาวน์ อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร หลักสูตรการประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล เพื่อการเลื่อนเงินเดือน และเลื่อนระดับตำแหน่ง รวมถึง หลักสูตรการประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล เพื่อการเลื่อนเงินเดือน และเลื่อนระดับตำแหน่ง วิทยากรหลักในวันนี้คือ
ซึ่งเนื้อหา ตาม พรบ.ข้าราชการพลเรือน 2551 ทั้งมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง
การประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล เพื่อการเลื่อนเงินเดือน และเลื่อนระดับ
สรุป คนที่จะได้รับการเลือนระดับ ต้องมีคุณสมบัติครบ ทั้ง เงินเดือน อายุการดำรงตำแหน่ง การประเมินค่างาน การประเมินสมรรถนะ เอกสารวิชาการ และต้องได้รับการชี้ตัวจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชา
พรบ.ข้าราชการพลเรือน 2551 มีที่มาจากทฤษฎีที่สำคัญ คือ ทฤษฎี New Public Managements: NPM และ GG: Good governance. (ด้านล่างเพิ่มเติม)
การประเมิน ข้าราชการต้องผ่าน 248 2K4S8C ดังนี้
2 K (know) คือ K1 ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน และ
K2 ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
4S (Skill) คือ S1 การใช้คอมพิวเตอร์
S2 การใช้ภาษาอังกฤษ
S3 การคิดคำนวณ
S4 การจัดการข้อมูล
8 C (Competency) คือ 5C หลัก และ 3 C ประจำกลุ่มงาน ดังนี้
5C หลัก ประกอบด้วย อาจจำได้ง่ายๆว่า RESET
C1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ RBM
C2 การให้บริการที่ดี SERVICE
C3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน Expertise
C4 ยึดมั่นในความถูกต้อง เป็นธรรม Equity
C5 การทำงานเป็นทีม (ร่วมแรงร่วมใจ )Teamwork
3 C ประจำกลุ่มงาน HAT
C6 การพัฒนาศักยภาพคน Human
C7 การบริการเชิงรุก Active
C8 การคิดวิเคราะห์ Thinking
3.หลักความพร้อมรับผิด Responsibility หมายถึงความตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหา
5.หลักความมีส่วนร่วม Participation หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ เช่น การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ
สาธารณะของบ้านเมือง การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน
ความหมายของสมรรถนะ Competency (สำนักงาน ก.พ.)
หมายถึง
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะ อื่น ๆ
ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ
ในองค์กร
กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ
สมรรถนะเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่องค์กรต้องการจากบุคลากร เพราะเชื่อว่าหากบุคลากรมีพฤติกรรมการทำงานในแบบที่องค์กรกำหนดแล้ว จะส่งผลให้บุคลากรผู้นั้นมีผลปฏิบัติงานดี และส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ
การกำหนดความสามารถ หรือสมรรถนะ
(competency) แบ่งออกเป็น 3
มุมมอง ได้แก่ KSA
K
: ความรู้ Knowledge หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งที่ถูกสั่งสมมาจากการศึกษา ฝึกอบรม
สัมมนา
รวมถึงข้อมูลที่ได้รับจากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์กับผู้รู้
S
: ทักษะ (Skills) หมายถึงสิ่งที่จะต้องพัฒนา และฝึกฝนให้เกิดขึ้นโดยจะต้องใช้ระยะเวลาเพื่อฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะนั้นขึ้นมา ทักษะจะแบ่งออกเป็น 2
ด้าน ได้แก่
1.
ทักษะด้านการบริหาร/จัดการ (Management
Skills) หรือบางตำราเรียก
Conceptual Skills หมายถึงทักษะในการบริหารควบคุมงาน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระบบความคิด
และการจัดการในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ
2.
ทักษะด้านเทคนิคเฉพาะงาน (Technical
Skills)
หมายถึง
ทักษะที่จำเป็นในการทำงานตามสายงานหรือกลุ่มงานที่แตกต่างกันไป
2.
ทักษะด้านความสัมพันธ์ (Human Skills) หมายถึง
ทักษะที่จำเป็นในการทำงานเป็นทีม ทักษะการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
ทักษะการปรับตัว ทักษะการส่อสาร ทักษะการประสานงาน
( ผม พันธุ์ทอง เพิ่มเติม : ภาษากลางเรียกว่า รู้จักคน
ภาษาอีสาน เรียกสั้นๆ ว่า รู้จักความ )
ดังนั้นทักษะที่ต้องการของคนที่ทำงานในแต่ละกลุ่มงานจะแตกต่างกัน
A
: คุณลักษณะส่วนบุคคล (Attributes) หมายถึง ความคิด
ความรู้สึก เจตคติ ทัศนคติ
แรงจูงใจ
ความต้องการส่วนบุคคล
ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมา
1.
สมรรถนะพื้นฐาน : ความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ แต่ไม่ได้แยกผู้ปฏิบัติงานดี ออกจากผู้ปฏิบัติงานปานกลาง
2.
สมรรถนะที่แยกความแตกต่าง : ปัจจัยต่าง ๆ
ที่ผู้ปฏิบัติงานที่ดีมี
แต่ผู้ที่ปฏิบัติงานปานกลางไม่มี
ส่วนของงานที่มอบหมาย
พฤติกรรมในการทำงาน หรือ
สมรรถนะ (คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม)
สมรรถนะของงาน
หมายถึงสิ่งที่บุคคลต้องทำในการทำงาน
สมรรถนะของคน หมายถึงคุณลักษณะที่ทำให้บุคคลสามารถทำงานได้ดี
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล
ReplyDeletePeople Active Analyzes 3 สมรรถนะประจำกลุ่มงาน
ReplyDeleteการสร้างสม ความเชี่ยวชาญในอาชีพ เพราะ ขรก เรา ต้องเจริญ เติบโต ในหน้าที่การงาน ฉะนั้น ต้อง รู้ทันต่อ โลก และ โรค รู้ทันโลกภายใต้ การเปลี่ยนแปลง ส่วนชาว สาธารณสุขเรา ต้อง รู้ทัน ต่อ โรค
ReplyDelete