2/19/09
การบริหารผลการปฏิบัติราชการ : ดร.ภิญโญ นิลจันทร์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 การบริหารผลการปฏิบัติราชการ : ดร.ภิญโญ นิลจันทร์ จากสถาบันพัฒนศาสตร์ เป็นวิทยากร ที่อึด และทนมาก ท่านเหมาคนเดียว 2-3 วัน ยังสมารถถ่ายทอด ได้ดีไม่มีเสียงตก ถือเป็นตัวอย่างของคนที่มีสมรรถนะ ที่ดีมากๆ เสน่ห์อีกอย่างของท่านคือ ท่านรู้จริง มีประสบการณ์ในงานนั้นๆที่มาบรรยาจริง ศึกษางานในภาพรวมของงานภายในกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวมอย่างแท้จริงคนหนึ่ง เข้ากลุ่มย่อยกับคนคุ้นหน้า เช่น ผช. สาธารณสุขอำเภอพยุห์ จาก จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย คุณ วัลลีย์ คุณยศยิ่ง 0818877945 และ คุณ เอกจิตรา จินดาทอง 0897037086 จาก โรงพยาบาลอุ้มผาง จังวหวัดตาก ekchitra4@hotmail.com
การบริหารผลการปฏิบัติราชการ มีวัตถุประสงค์ ที่สำคัญ 2 ประการ สำหรับ ข้าราชการคือ
1. เพื่อเลื่อนเงินเดือน
2. เพื่อเลื่อนตำแหน่ง
ซึ่ง การเลื่อนเงินเดือนนั้น จะต้องจัดทำเอกสารประกอบ อย่างน้อย 5 รายการ
ส่วน การเลื่อนตำแหน่งนั้น จะต้องจัดทำเอกสารประกอบ อย่างน้อย 7 รายการ
การเลื่อนเงินเดือน จะต้องจัดทำเอกสารประกอบการประเมินอะไรบ้าน
เอกสารประกอบการประเมินการเลื่อนเงินเดือน
1. คำรับรองการปฏิบัติราชการ
2. ผลสัมฤทธิ์ของงาน
3. พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ 8 ด้าน (5c+3c)
4. IDP : Individaul Development Plan แผนพัฒนาการรายบุคคล
5. การรายงานผลการบริหารผลการปฏิบัตราชการ
คำที่ควรสังเกต คำรับรองการปฏิบัติราชการ IPA: Internal Personal Agreement ไม่ใช่ บันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน MOU: Memorandum of Understanding เพราะ MOU เป็นการจัดทำ ในหน่วยงานที่มีโครงสร้างต่างองค์กรกัน เช่น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ทำ MOU กับ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น ส่วน IPA เป็นการทำคำรับรอง ระหว่าง ผู้ปฏิบัติงานกับ ผู้บังคับบัญชา เหนือขึ้นไป 1 ระดับ ที่อยู่ติดกัน เช่น พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ใน สถานีอนามัย ลงนามทำ คำรับรองการปฏิบัติราชการ กับ หัวหน้าสถานีอนามัย นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน หัวหน้าสถานีอนามัย ลงนามทำ คำรับรองการปฏิบัติราชการ กับ สาธารณสุขอำเภอ หรือ หัวหน้างานใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ลงนามทำ คำรับรองการปฏิบัติราชการ กับ สาธารณสุขอำเภอ เป็นต้น
ส่วน IDP ต้องทำเมื่อ ได้ทำ ข้อ 1 2 3 เสร็จก่อน เพราะ แต่ละ ส่วน มีความสัมพันธ์ กัน
เอกสารประกอบการประเมินการเลื่อนตำแหน่ง
1. ระดับผลสัมฤทธิ์ของงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ >80%
( Job Description เหนือขึ้นไป 1 ระดับ )
2. ระดับความรู้ ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่
( ความรู้ในงาน ความรู้ในกฎหมาย ระดับ 3 เป็นต้น )
3. ระดับความรู้ ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่
(S1 การใช้คอมพิวเตอร์ S2 การใช้ภาษาอังกฤษ S3 การคิดคำนวณ S4 การจัดการข้อมูล
ระดับ 3 เป็นต้น )
4. ระดับสมรรถนะตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่
( 5C หลัก ประกอบด้วย C1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ C2 การให้บริการที่ดี
C3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน C4 ยึดมั่นในความถูกต้อง เป็นธรรม
C5 การทำงานเป็นทีม (ร่วมแรงร่วมใจ )
3 C ประจำกลุ่มงาน C6 การพัฒนาศักยภาพคน C7 การบริการเชิงรุก C8การคิดวิเคราะห์ )
ซึ่งเป็นรายการเดียวกันกับ พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ 8 ด้าน (5c+3c) ในการจัดทำ เอกสารประกอบการเลื่อนขั้นเงินเดือน
5. ระดับค่างานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ : ซึ่ง มีทั้งการ ชกป้องกันแชมป์ และการชกชิงแชมป์ หากมีคะแนนค่างานถึงจึงจะได้เป็นต้น
6. ระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการ ( อวช. สัมพันธ์ กับ งานแต่ละระดับเช่น นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ ทำเรื่อง ปัจจัย สาเหตุ องค์ประกอบที่มีผลต่อ.... นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ ทำเรื่องการพัฒนารูปแบบที่สามารถลดการเจ็บป่วย การพัฒนารูปแบบที่ สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งเขต กรม เป็นต้น )
7. ระดับผลสัมฤทธิ์ของงาน ที่โดดเด่น ในงานที่เป็น owner ต่างๆเช่น จนท. LAB ไปช่วยงานกาชาด ได้รับรางวัลดีเด่น จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นต้น
ส่วน ข้อ ที่ 5 นั้น หากเป็นการประเมินเพื่อทดแทนตำแหน่งเดิม ที่เกษียณ หรือลาออก ไม่ต้องจัดทำเอกสารแสดงค่างาน ส่วนเอกสารอื่นๆอีก 6 รายการ ต้องทำเช่นเดิม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล
ReplyDelete