2/13/10

จาก HCA ทำไมต้องเป็น PCA



วันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2553 : ทำไมจึงต้องใช้ PCA : ประชุมวิชาการ PCA ณ Miracle กทม. ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้เข้าร่วมประชุมจาก จังหวัดยโสธรเรา 4 คน นำโดย ท่านองอาจ แสนศรี รอง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร คุณพี่ระยอง มีดี จาก สอ.สมสะอาด เลิงนกทา คุณ สิริกัลยา เศกศิริ อุปนิสากร ผู้ประสานงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร มี คุณพี่ดำริ นนทสามารถ เป็นโซเฟอร์ผู้นำทาง สรุป จากการประชุม
PCA คืออะไร
PCA มีใช้ในหลากหลายวงการ ซึ่ง แต่ละวงการ จะรู้และเข้าใจในความหมายเฉพาะของตน เช่น

ในแวดวง วิชาการ งานสถิติวิจัย Data analysis ใช้ PCA ในความหมายดังนี้ PCA หรือ Principal Component Analysis หรือภาษาไทยเรียกว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก คือเทคนิคในการผสมลักษณะเด่นในเวคเตอร์นำเข้าเพื่อสร้างเวคเตอร์ใหม่ที่อยู่ในปริภูมิที่มีมิติน้อยกว่าเวคเตอร์เดิม โดยการผสมที่เราใช้นั้นจะเป็นการผสมเชิงเส้นตรงหรือ linear combination นั่นคือการเอาลักษณะเด่นมาคูณค่าคงที่บางอย่างแล้วค่อยบวกกัน

ในวงการตำรวจ หมายถึง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ Police Cadet Academy : PCA

ทางการแพทย์ ก็ใช้ PCA คือ Principal Component Analysis เป็นวิธี ในการลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ชนิดหนึ่ง ที่ Patient Controlled Analgesia

ในวงการความงาม PCA คือ เซรั่มจากรกแกะ PCA (Placental Concentrated Antiage Serum) หรือ Ramita PCA
สกัดมาจากรกซึ่งห่อหุ้มลูกแกะหลังการคลอด เซรั่มรกแกะใช้เป็นเครื่องสำอาง

PCA ในวงการคุณภาพของงานสาธารณสุข: แต่ PCA ที่พวกเรามาศึกษา ในครั้ง นี้ คือ PCA ที่เกี่ยวกับระบบคุณภาพ เดิม เราคุ้นเคยกับ วงจรคุรภาพ PDCA ของ Deming’s circle : Plan DO Check Act
PCA นี้ ก็ คล้ายๆกัน นั่นหละ เป็นเครื่องมือการสร้างคุณภาพของงานชนิดหนึ่ง มีกระบวนการขั้นตอนคล้ายๆกับ HCA HA PMQA TQA ต่างๆ ในงานคุณภาพ แต่นำมประยุกต์ ใช้ ใน สถานีอนามัย หรือ PCU เรียกชื่อใหม่ เท่ห์ๆ ว่า PCA ( Primary Care Award) สรุปรวมความว่า เป็นการพัฒนาตนเอง และ การพัฒนาเครือข่าย เพื่อให้ บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งเป็นการเรียนไปปรับไป อย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุด ถ้าสามารถทำได้คุณภาพทุกหมวดก็สามารถขอรับ Award ได้ การอบรมครั้งนี้ เป็นหลักสูตร 3 วัน จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมที่ปรึกษาการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่โรงแรม มิราเคิล Miracle กรุงเทพมหานคร ประธานเปิดประชุม โดยท่าน สถาพร วงษ์เจริญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดโดย สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อมุ่งหวังให้เป็นทีมพี่เลี้ยงหรือทีมที่ปรึกษาการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ( QRT ) ของแต่ละจังหวัด ใน Concept การพัฒนา ของพี่เลี้ยง ที่ไม่ใช้ผู้ประเมิน มีทีมงานที่น่าประทับใจ ทั้งคุณหมอช้าง สุพัตรา ศรีวนิชากร คุณหมอ สมพิศ จำปาเงิน ผอ.รพ.หนองหญ้าไซ สุพรรณบุรี คุณหมอ เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ ผอ.รพ. หนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ( คุณหมอที่มีลักษณะทำงานดี เพื่อสังคม เช่นท่านเหล่านี้ ประเทศไทยน่าจะผลิตออกมามากๆ บ้านเมืองเราจะเจริญรุดหน้าไปมากเลย) รวมทั้ง ทีมวิทยากร มืออาชีพ เช่น คุณพี่ ปรีดา หรือ นางสาวปรีดา โนวฤทธิ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพระบบบริการ สำนักงาน สุขจังหวัดหนองบัวลำภู ท่านปราณีต วงศ์สละ สาธารณสุขอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
ตลอดสามวัน เป็นการให้ QRT เรียนรู้และรู้จักกับเครื่องมือ เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ PCA : Primarycare Award ที่จะนำมาใช้ในการประเมินตนเองในปีนี้แทน HCA ซึ่ง HCA เดิม เราใช้ การประเมิน PCU ด้วยเกณฑ์มาตรฐาน HCA (26 ข้อ 42 เกณฑ์ประเมิน) ซึ่งเป็นเกณฑ์ผลผลิต(Output)...ที่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าผลผลิตที่นำไปใช้นั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนผลกระทบเป็นอย่างไร...ปีนี้จะใช้เครื่องมือเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ PCA ที่นำกรอบคุณภาพของ Malcolm Baldrige National Quality Award มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการประเมินตนเองเป็นขั้นๆ เป็นแนวทางพัฒนา ในรูปแบบของเครือข่าย เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งผู้ปฏิบัติ ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในระดับอำเภอและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) ซึ่ง ในปีที่ผ่านมา กพร. ใช้ Malcolm Baldrige Criteria (MBC) เป็นหลักการประกันคุณภาพการบริหารงาน ในรูปแบบของ PMQA …. ใน ปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขก้ประยุกต์ ใช้ Malcolm Baldrige Criteria (MBC) เป็นหลักการประกันคุณภาพการบริการของเครือข่ายบริการสุขภาพ ในรูปแบบของ PCA ...สรุปแล้ว สถานีอนามัยเรา คงไม่ยากเพราะพวกเรามีต้นทุนเดิมที่พัฒนากันมาเป็นเวลาหลายปี 7-8 ปีน่าจะได้ตั้งแต่การทำมาตรฐานตัวแรกคือ HCA ( 26 ข้อ 42 เกณฑ์ประเมิน) ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และประเมินรับรอง แต่สิ่งที่พวกเรายังขาดคือ กระบวนการทบทวนกระบวนงานระบบปฐมภูมิ ก็พัฒนาแบบประเมินตนเองระบบงานบริการปฐมภูมิให้ใช้กัน ( มาตรฐานนกสามตัว) ซึ่งใกล้เคียงกับเกณฑ์การขึ้นทะเบียนปฐมภูมิของ สปสช. ในเบื้องตนปีนี้ต้องการให้เราได้เรียนรู้การประเมินตนเองด้วย PCA เป็นขั้นๆ
เป้าหมาย ปรแรก นี้ ขอ 60% ของแต่ละ CUP ค่ะให้ประเมินตนเองสามหมวดก่อน ประกอบด้วย หมวด P หมวด3 และหมวด 6 คงไม่ต้องเอาหมดทั้งหมด 7 หมวดทำไประยะหนึ่งก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ไม่ต้องมากังวลว่าจะผ่านตัวชี้วัดกี่ตัวๆต่อไปแล้ว....ก็หวังว่าทุกคนจะทำเรื่องคุณภาพแบบมีความสุขมากขึ้น
หมายเหตุ : (พวกเรา พักห้อง 3023 3036 และ 7021)

No comments:

Post a Comment