2/13/10

PCA คืออะไร PCA Concept

วันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2553: PCA คืออะไร PCA Concept: ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
สามารถสรุปย่อสั้นๆ จาก หัวข้อที่ผ่านมา ได้ดังนี้
ทำไมจึงใช้ Malcolm Baldrige Criteria (MBC) เป็นหลักการประกันคุณภาพการบริการของเครือข่ายบริการสุขภาพ เหตุผลสำคัญคือ เนื่องจากหลักการมีความสอดคล้องกับแนวทางการบริหารของภาคราชการปัจจุบันที่ให้ความสำคัญและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เอาพื้นที่เป็นเป้าหมาย ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดถึงการจัดการให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน
PCA 7 หมวด มีอะไรบ้าง
Malcolm Baldrige National Quality Award thank data from http://www.asq.org/
The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) is presented annually by the President of the United States to organizations that demonstrate quality and performance excellence. Three awards may be given annually in each of six categories:
• Manufacturing
• Service company
• Small business
• Education
• Healthcare
• Nonprofit
Established by Congress in 1987 for manufacturers, service businesses and small businesses, the Baldrige Award was designed to raise awareness of quality management and recognize U.S. companies that have implemented successful quality-management systems.
The education and healthcare categories were added in 1999. A government and nonprofit category was added in 2007.
The Baldrige Award is named after the late Secretary of Commerce Malcolm Baldrige, a proponent of quality management. The U.S. Commerce Department's National Institute of Standards and Technology manages the award and ASQ administers it.
Organizations that apply for the Baldrige Award are judged by an independent board of examiners. Recipients are selected based on achievement and improvement in seven areas, known as the Baldrige Criteria for Performance Excellence:
1. Leadership: How upper management leads the organization, and how the organization leads within the community.
2. Strategic planning: How the organization establishes and plans to implement strategic directions.
3. Customer and market focus: How the organization builds and maintains strong, lasting relationships with customers.
4. Measurement, analysis, and knowledge management: How the organization uses data to support key processes and manage performance.
5. Human resource focus: How the organization empowers and involves its workforce.
6. Process management: How the organization designs, manages and improves key processes.
7. Business/organizational performance results: How the organization performs in terms of customer satisfaction, finances, human resources, supplier and partner performance, operations, governance and social responsibility, and how the organization compares to its competitors.
7 t0 11 หรือ จาก 11 core value to 7 group in PCA
โดยมีหลักแก่คุณค่าของการทำงาน 3 ส่วน คือ ด้านการคิด การทำ และการปรับ 11 ประการ
1. การคิด หรือ การนำองค์กร ( Strategic Leadership)
2. การบริหารจัดการองค์กร ( Exeution Excellence)
3. การปรับปรุงและพัฒนาองค์กร ( Organization Learning )
การคิด หรือ การนำองค์กร ( Strategic Leadership) ประกอบด้วย แก่นหลักคิด 4 ส่วน คือ
1.การนำหน่วยบริการปฐมภูมิ
2. รับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
3. การมองเชิงระบบ
4. การมุ่งเน้นอนาคต
การบริหารจัดการองค์กร ( Exeution Excellence)ประกอบด้วย แก่นหลักคิด 4 ส่วน คือ
5.การมองประชาชนเป็นศูนย์กลาง
6. การทำงานเป็นทีมและมีส่วน่วม
7. การมีความคล่องตัว
8. การยึดผลสัมฤทธิ์และการสร้างคุณค่า
การปรับปรุงและพัฒนาองค์กร ( Organization Learning )ประกอบด้วย แก่นหลักคิด 3 ส่วน คือ
9.การสร้างนวตกรรม
10. การเรียนรู้ของหน่วยงาน หรือของบุคล
11. การใช้ข้อมูลจริงในการบริหารจัดการ
ซึ่ง ทั้ง 11 core values นี้ สามารถ จำได้ง่ายๆคือ
ระบบนำ มองไกล ในสังคม คนผสม ทีมงาน การคล่องตัว
ข้อมูลจริง เรียนรู้ใหม่ ไม่ปวดหัว สัมฤทธิ์ชัวร์ สร้างคุณค่า ราคาเรา

แปลงไปเป็น Malcolm Baldrige Criteria (MBC) 7 หมวด ของ PCA ในรูปแบบของ Hamberger Baldrige frame
ได้ 7 หมวด ตามภาพด้านบน

ซึ่ง รวมความแล้ว มุ่งเน้นให้ บุคคลในหน่วยงาน ( หมวด 5 ) ได้ใช้ศักยภาพที่พรั่งพรู เพื่อพัฒนางาน ให้ ประชาชน ตามหมวด 3 ให้ได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล (หมวด 7 ) โดยการทำ หมวด 6 ให้ได้ คุณภาพ ภายใต้การ สนับสนุนที่ดี จาก หมวด 1 และ หมวด 2 และ มีการประเมินผล โดยใช้ข้อมูล ที่ดี มีคุณภาพ จากหมวด 4 มาเป็น evidence base ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องไป เป็น Dynamic เรียนรู้ไปร่วมกัน ทำไปร่วมกัน ปรับไปร่วมกัน ทั้ง หน่วยบริหาร และหน่วยบริการ เพราะ PCA มี Concept ว่า การบริการที่ดี มาจากการสนับสนุนบริการที่ดี
ส่วนการสร้างคุณค่าในหมวด 6 นั้น ทั้ง 2 ส่วนไม่สามารถแยกออกจากันได้ ตามหลัการ บริการที่ดีมาจากการสนับสนุนที่ดี ทั้ง 6.1 การสร้างคุณค่าในการบริการ 6.2 การสร้างคุณค่าในการสนับสนุนการบริการ
ซึ่ง 6.1 การสร้างคุณค่าในการบริการ ประกอบด้วย ส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การบริการโดยภาพรวมของเครือข่าย และ การบริการในชุมชนระดับบุคคลและครอบครัว

การบริการโดยภาพรวมของครือข่าย นั้น มีข้อกำหนดรายละเอียด ที่สำคัญคือ 3CHAI หรือ CCCHAI
C : (Community Empowerment)มีการจัดการด้านต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองได้
เหมาะสม
C : (Continuity care) มีการจัดระบบให้ดูแลผู้ป่วยหรือประชากรเป้าหมายแบบต่อเนื่อง
C : (Co-ordination) ประสาน และเชื่อมต่อการดูแล ทั้งภายในหน่วยบริการและกับหน่วยบริการอื่น
เมื่อหน่วยบริการไม่สามารถดูแลได้เอง
H : (Holistic care) จัดระบบงาน และบุคลากรที่พร้อมให้บริการอย่างผสมผสาน เบ็ดเสร็จ เป็น
องค์รวม เสริมการพึ่งตนเองของประชาชน
A : (Accessibility) มีการจัดระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่ายอย่างเท่าเทียม
I : ( Integrate of care) จัดให้มีบริการครอบคลุมผู้ป่วยที่มีปัญหาเฉียบพลัน ฉุกเฉิน ปัญหาเรื้อรัง และ
การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค

การบริการในชุมชนระดับบุคคลและครอบครัว นั้นมีข้อกำหนดรายละเอียด ที่สำคัญคือ HCR_SPeC
H : (Holistic care) ให้บริการอย่างเป็นองค์รวม
C : (Continuity)มีการติดตาม ดูแลอย่างต่อเนื่อง
R : Relationship สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ (Good relationship)
S : (StandardClinical competency) ให้บริการสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานทางคลินิก
Pe : (People participation and empowerment) สร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังการดูแลตนเองของประชาชน
C : (Co-ordination) ประสาน เชื่อมโยงบริการ หรือส่งต่อเพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลที่เหมาะสม

6.2 การสร้างคุณค่าในการสนับสนุนการบริการนั้น นั้นมีข้อกำหนดรายละเอียด ที่สำคัญคือ MEDICAL
M : Matterial การจัดหา บำรุงรักษา การซ่อม เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์
E : Environment การจัด อาคารสถานที่ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
D : Drug Management การบริหารยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
I : ( Infection Control)
C : ระบบเฝ้าระวัง ป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ
A : Academic มีระบบข้อมูลวิชาการสนับสนุนการบริการที่ดี
L : Laburatory การจัดระบบการบริการด้านชันสูตร
ส่วนหมวดที่ 7 Result ผลลัพธ์ นั้น มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ E Q E OD
E : Effectiveness ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิผล
Q : Quality ผลลัพธ์การดำเนินการด้านคุณภาพของกระบวนการและ คุณภาพในมุมมองของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
E : Efficiency ผลลัพธ์การดำเนินการด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ ให้บริการ
OD : Organization Development ผลลัพธ์การดำเนินการด้านการพัฒนาองค์กรเครือข่าย
บริการปฐมภูมิ รายละเอียดของแต่ละหมวด เป็นอย่างไร สามารถศึกษารายละเอียดได้ จาก หนังสือ คู่มือ ชื่อ เกณฑ์คุณภาพ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ Primary Care Award : PCA ครับ

ทองแพงตรุษจีนพี่ยอมรับได้ พี่รับไม่ได้ คือ น้องใจง่ายวันวาเลนไทน์

No comments:

Post a Comment