5/30/12

ประชุมกรรมการขับเคลื่อนสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ยโสธร

 วันที่ 30 พฤษภาคม 2555   ประชุมกรรมการขับเคลื่อนสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ยโสธร
ภาคบ่าย ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย
(NCD BOARD) ณ ห้อง พญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
ผู้เข้าร่วมประชุม จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โรงพยาบาลยโสธร
โรงพยาบาล ทุกแห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ทุกอำเภอ
อาทิ  นาง อรวรรณ ยืนยง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายอิสระ ยาวะโนภาสน์ สาธารณสุขอำเภอ ป่าติ้ว
นายพรชัย  ทองบ่อ สาธารณสุขอำเภอ ไทยเจริญ
นางภูมิจิตร ศรีวะรมย์ นายศิริลักษณ์ คุณสุทธิ์
นายนิวัฒน์ ศรีเล็ก เป็นต้น
ประสานการปรุชมด้วยดี โดย นางประชุมพร  กวีกรณ์ หัวหน้ากลุ่มงาน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางเกศินี มีชัย นางส่งศรี มูลสาร นักวิชาการสาธารณสุข  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรและคณะ
             ทั้งนี้ จังหวัดยโสธร ได้เห็นความสำคัญของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ที่มีสาเหตุหลักจาก 5 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ 3อ. 2ส. คือ อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์  การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา  
            เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง เสริมปัจจัยเอื้อ และสร้างภูมิคุ้มกัน ในการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย และสกัดกั้นปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ดังกล่าว ซึ่งเป็น โรควิถีชีวิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรจึงได้ ดำเนินงานตาม ยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ.2554-2563  โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ เป็นวิถีชีวิตที่ลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดการตาย และลดรายจ่ายด้านสุขภาพ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศ ให้ก้าวสู่ วิถีชีวิตพอเพียง สุขภาพพอเพียง ระบบสุขภาพพอเพียง และสังคม สุขภาวะ ภายใต้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข  ในระยะยาวต่อไป

สรุป จุดเน้นที่สำคัญ ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ปี 2555
•  รณรงค์สร้างกระแสสังคม นโยบายสาธารณะ และมาตรการทางสังคม ลดปัจจัยเสี่ยง เสริมปัจจัยเอื้อ และลดภัยโรควิถีชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น และแสวงหาความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน
•  ส่งเสริมการสร้างแบบอย่างที่ดีของบุคคลและองค์กรสร้างสุขภาพดี  วิถีชีวิตไทย (Healthy Organization)
•  ขยายผลและต่อยอดหมู่บ้าน/ชุมชนสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย   ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย
•  เร่งรัดการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป และดูแลกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เหมาะสมและต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาศักยภาพในการเฝ้าระวังโรคและจัดการภาวะแทรกซ้อน
•  สนับสนุนและพัฒนา รพ.สต. ให้มีขีดความสามารถในการจัดบริการเชิงรุกและเชิงรับ และเชื่อมโยงระบบบริการระดับสูง
•  พัฒนาศักยภาพ NCD Board, System Manager, Case Manager และระบบข้อมูล Data Center
•หน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร โดยให้ทำเป็นงานปกติ(งานคัดกรอง ปชก.กลุ่มเสี่ยง)
•ปชช. ภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดความรู้และสนับสนุน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
•การจัดระบบบริการสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกัน โรค DM/  HT
•คลินิกDPAC
เป้าหมายและตัวชี้วัดที่สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ปี 2555
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. ชุมชนสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย (3อ.2ส.) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าต่อหน่วยบริการสาธารณสุข (งาน สสม.)
2. รพ.สต.ขนาดใหญ่ (1,000 แห่ง ในชุมชน และ 215 แห่ง ในเขตเมือง)   ผ่านเกณฑ์ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ตามมาตรฐานที่กำหนด (งาน สสม.)
3. เครือข่ายองค์กรสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยในทุกเขต                   (งาน สสม.และงานอาหารปลอดภัย)
4. ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง DM & HT ร้อยละ 90  (งานส่งเสริมสุขภาพ)
5. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อ DM (pre - DM) ป่วยเป็น DM ไม่เกินร้อยละ 5  (งาน NCD)
6. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อ HT (pre - HT) ป่วยเป็น HT ไม่เกินร้อยละ 10(งาน NCD)
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
7. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 4(งาน NCD)
8. อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 8(งาน NCD)
9. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน (ตา ไต เท้า) ร้อยละ 60 (งาน NCD)
10. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน (ตา ไต) ร้อยละ 60(งาน NCD)
11. สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี  Pap Smear  ร้อยละ 20(งาน NCD)
12. อัตราตายโรคหัวใจขาดเลือดลดลง ร้อยละ 1(งาน NCD)
13. อัตราตายโรคหลอดเลือดสมองลดลง ร้อยละ 2 (งาน NCD)

โครงการที่ 2 โครงการขยับการสบายชีวี สร้างสุขภาพดีวิถีไทย ลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
            กิจกรรม รณรงค์ 3 อ. และการแข่งขัน กีฬา ฮูลาฮูป ระดับจังหวัด โดยให้แต่ละอำเภอส่งทีมเข้าแข่งขันระดับจังหวัด ในวันที่ 28 มิถุนายน 2555 โดยมี งบประมาณให้ดำเนินการทั้งคัดเลือกและส่งทีมเข้ารับการแข่งขัน เฉลี่ รพ.สต.ละ 1,800 บาท

โครงการที่ 3  โครงการตรวจคัดกรองรักษามะเร็งตับและท่อน้ำดี เฉลิมพระเกียรติ 164 พรรษา มหาราชินี
คำว่าเฉลิมพระเกียรติ 164 พรรษา(มาจาก 84 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว+80 ปีพระราชินี)
            เป้าหมายหลักคือการคัดกรอง ให้พบก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการตาเหลือง ซึ่งจะสามารถรักษาได้

โครงการที่ 4 โครงการตรวจคัดกรองนิ่ว   เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 13
            เป้าหมายหลักคือ กวาดล้างนิ่วทางเดินปัสสาวะ  โดยการตรวจ Urine Strip หากมีภาวะเสี่ยง จะนัดหมายเพื่อตรวจ Plain KUB Digital หากพบนิ่ว ส่งต่อ โรงพยาบาลยโสธร เป้าหมาย การตรวจ ปี 2555 จำนวน 70,000  คน   ปี 2556 จำนวน 178,660  คน

ภารกิจทั่วไป อื่นๆของเราวันนี้
ภาคเช้า ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  เตรียมความพร้อม รับการลงพื้นที่ ชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชนต้นแบบระดับประเทศ
ประสานเตรียมความพร้อม การจัดค่าย คำเขื่อนแก้วร่วมใจ เทิดไท้องค์ราชัน
ประสานรายละเอียด การขอรับสวัสดิการ สำหรับข้าราชการในสังกัดที่เสียชีวิต
นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ ไปกราบคารวะและทำบุญ ร่วมกับ พระ สุรพร ลอยหา  ณ จังหวัดอุบลราชธานี
นายศุภสิทธิ์ ตั้งจิต หัวหน้างานสุขภาพภาคประชาชน  ไปร่วมกับ นายสมเพชร  สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายวุฒิศักดิ์ ดอกพุฒ พัฒนาการอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ในกิจกรรม ประกวดหมู่บ้านอยู่ดี มีสุข ณ บ้านโนนม่วง ตำบลกุดกุง นางอภิญญา บุญถูก หัวหน้างานควบคุมโรคไม่ติดต่อ  และคณะ จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)ทุกแห่ง ศึกษาดูงาน หฒุ่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ณ จังหวัด อำนาจเจริญ
นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ประสานรายละเอียด การเบิกจ่ายงบประมาณ สำหรับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) 

No comments:

Post a Comment