6/30/12

ยโสธร นำเสนอแผนพัฒนาระบบบริการ:Service Plan






วันที่ 29 มิถุนายน 2555: ยโสธร นำเสนอแผนพัฒนาระบบบริการ:Service Plan
ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุม การนำเสนอ แผนพัฒนาระบบบริการ:Service Plan ณ ห้องบั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นายแพทย์ สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  นำคณะเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง และผู้รับผิดชอบงาน จาก สาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลทุกแห่ง
เป็นเวที การนำเสนอ แผนพัฒนาระบบบริการ: Service Plan จากเครือข่ายบริการ ทุกแห่ง
ผู้ร่วมประชุม จากเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอคำเขื่อนแก้ว  ประกอบด้วย
นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นายจำกัด พลไชย  นางนัยนา  ดวงศรี  รัชฎาภรณ์ แสนทวีสุข
                   การปฏิบัติที่สำคัญ คือ พัฒนาระบบบริการสุขภาพ  5 ด้าน ให้เป็นบริการไร้รอยต่อ (Seamless referral system)ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรคและควบคุมโรค ด้านรักษาพยาบาล ด้านฟื้นฟูสภาพ และ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ นายแพทย์ สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าว
                   “วิธีการปฏิบัติที่สำคัญคือ Shared ทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบสุขภาพ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นได้ โดยไม่มีการปฏิเสธคนไข้ ไม่ว่า เหตุผลใดๆ บริการ Long term Care แล้ว จัด บริการตามกลุ่ม CANDO ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยนพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าว
            “ในยุคที่เรากำลังมีโอกาสพัฒนาระบบริการ ให้เราช่วยกันนึกถึงว่า เป็นการจัดบริการเพื่อตัวเราเอง เพื่อญาติของเรา ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ เพราะหากเราเกษียณไปแล้ว เราเป็นผู้รับบริการ เราอยากจะทำแค่ไหนก็ไม่มีโอกาสได้ทำพ.ญ.ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย

ทั้งนี้ โครงการแผนพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค : Service Plan
มีกรอบแนวคิดคือ
1. ความจำเป็นของการจัดระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเครือข่าย แทนการขยายโรงพยาบาลเป็น
แห่งๆ โดยใช้หลักการ เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ (Seamless Health Service Network)” ที่สามารถ
เชื่อมโยงบริการทั้ง 3 ระดับเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามสภาพ
ข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์และการคมนาคม โดยไม่มีเส้นแบ่งของการปกครองหรือการแบ่งเขตตรวจราชการ
เป็นตัวขวางกั้น
2. แต่ละจังหวัดจะต้องมี เครือข่ายบริการระดับจังหวัด (Provincial Health Service Network)” ที่
สามารถรองรับการส่งต่อตามมาตรฐานระดับจังหวัดได้อย่างสมบูรณ์ (Self-containment for Referral
Provincial Network) อย่างน้อย 1 เครือข่าย โดยเครือข่ายจะต้องพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการของ
เครือข่ายให้สูงขึ้นตามมาตรฐานที่กำหนด ประกอบด้วยโรงพยาบาลทั่วไปที่อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นแม่ข่าย
และรับผิดชอบการจัดบริการของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) เครือข่ายอาจ
ส่งต่อผู้ป่วยไปนอกเครือข่ายเท่าที่จำเป็นหรือในรายที่เกินขีดความสามารถเท่านั้น ทั้งนี้ การบริหารเครือข่ายให้
ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
3. ให้มีการจัด ระดับโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อ (Referral Hospital Cascade)” ของระบบบริการ
เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เพื่อใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายที่มีอย่างจำกัดให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด หลีกเลี่ยงการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และขจัดสภาพการแข่งขันกัน
ก) โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับต้น (First-level Referral Hospital) ประกอบด้วยเครือข่าย
บริการทุติยภูมิ มีหน้าที่รับผู้ป่วยส่งต่อจากเครือข่ายบริการปฐมภูมิ กำหนดให้เป็น รพ.ระดับ
F1/F2/F3
ข) โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับกลาง (Mid-level Referral Hospital) ประกอบด้วยโรงพยาบาล
ทั่วไปขนาดเล็ก และ รพ.ชุมชนขนาดใหญ่ มีหน้าที่รับผู้ป่วยส่งต่อจากเครือข่ายบริการทุติยภูมิ
กำหนดให้เป็น รพ.ระดับ M1/M2
ค) โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับสูง (High-level Referral Hospital) มีหน้าที่รับผู้ป่วยส่งต่อจาก
โรงพยาบาลตติยภูมิขนาดกลาง แบ่งเป็น 2 ระดับ
1) โรงพยาบาลทั่วไปที่เป็นแม่ข่ายของเครือข่ายบริการระดับจังหวัด (Standard-level
Referral Hospital) กำหนดให้เป็น รพ. ระดับ S
2) โรงพยาบาลศูนย์ ที่รับส่งต่อจากเครือข่ายบริการระดับจังหวัด กำหนดให้เป็น รพ.ระดับ A
ระบบบริการปฐมภูมิ
P1         เขตเมือง ดูแล ปชก. ไม่เกิน 30,000 คน และมี แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว ที่สามารถดูแลได้ตลอด
P1         เขตชนบท ดูแล ปชก. ไม่ต่ำกว่า 8,000 คน และมี แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว ที่สามารถดูแลได้ตลอด
            เป็นที่ตั้งของ ชุด Unit ทำฟัน
P2         เขตชนบท คือ รพ.สต.ทั่วไป ที่ มี พยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 1 คน

No comments:

Post a Comment