วันที่ 20 สิงหาคม 2555: 6 Blocks for Health ค้นหาสังเคราะห์รูปแบบการจัดระบบบริหารการปฐมภูมิในเขตเมือง (ศสม.และรพ.สต.)
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ คุณอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เข้าร่วมประชุม สัมมนาวิชาการ “ค้นหาสังเคราะห์รูปแบบการจัดระบบบริหารการปฐมภูมิในเขตเมือง (ศสม.และรพ.สต.)” ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
นิยามคำว่า ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.)หมายถึง หน่วยบริการที่มีแพทย์ร่วมปฏิบัติงานเป็นการประจำที่จัดบริการสาธารณสุขครบทั้ง มิติทั้งด้านการรักษาพยาบาล และด้านการส่งเสริมป้องกันโรค หากมีคลินิกชุมชน หรือหน่วยบริการที่ทำหน้าที่เพียงด้านการรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่นับเป็น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.)
เป็นการประจำ อาจจะประจำ สัปดาห์ หรือ ประจำ เดือน ก็ได้
ประธานการประชุมโดย โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ(ด้านเวชกรรมป้องกัน) ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข มีผู้เข้าร่วมประชุม จากทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ ร่วมให้ข้อมูล
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ถือเป็นผู้ที่มีความรู้ เรื่องบริการปฐมภูมิ เป็นอย่างดี เพราะท่านคือผู้ที่ดูแลเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น อดีต ท่านเคย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายฯและยุทธศาสตร์
หลักการเหตุผล ประชากรในเขตเมือง เพิ่มจากร้อยละ 31 จากปี 2543 เป็นร้อยละ 41 ในปี 2553 ในพื้นที่ในเขตเมือง ไม่มี หน่วยบริการระดับ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ แม้ว่าจะมี ผู้ให้บริการรักษาพยาบาลหลายราย ทั้ง รพศ. รพท. รพ.มหาวิทยาลัย รพ.เอกชน รพ.ของส่วนราชการอื่นๆ คลินิกเอกชน สถานบริการ ของ อปท. หน่วยบริการเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับงานด้านการรักษาพยาบาล แต่งานด้านสาธารณสุข เรื่องการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพมักจะถูกละเลย หรือไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และ แม้จะมี ก็มีความยากในการทำงาน เพระเห็นผลในการเปลี่ยนแปลงช้า เวลาราชการ ไม่เหมาะสม กับวิถีชีวิตของชุมชนเขตเมือง
การบริการปฐมภูมิ ในเขตเมืองของประเทศไทย ที่ผ่านมามี 3 รูปแบบ คือ
1. บางจังหวัด ให้ศูนย์บริการสาธารณสุขของ เทศบาลดำเนินการเอง
2. บางจังหวัด โรงพยาบาลดำเนินการร่วมกันกับ ให้ศูนย์บริการสาธารณสุขของ เทศบาล
3. บางจังหวัด โรงพยาบาลเปิด ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) มาดำเนินการเอง
ซึ่ง ทั้ง 3 รูปแบบนั้น ต้องมี Catchment Area ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
ตัวอย่างที่ดี จากการบริการใน ศสม.ใน พื้นที่ต่างๆ เช่น
รพศ. ขอนแก่น รพศ. ระยอง จะปิด OPD รับผู้ป่วยระดับปฐมภูมิ ทุก Case ที่มารับบริการที่ รพศ. ต้องถูกส่งตัวมาจาก ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.)
ความสุขจากการทำงาน ของ พยาบาลในตึก ของ รพศ. ขอนแก่น เพิ่มขึ้น จากเดิมทำงานเพียง ชบด (เช้าบ่ายดึก) โดยเพิ่มการทำงาน เป็น ชบดช. (เช้าบ่ายดึกและชุมชน) เพราะคนในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับพยาบาลเหล่านั้นได้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในหลากหลายมุมมอง
ที่ โรงพยาบาลตรัง เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานใน ศสม. เป็นคุณหญิง คุณนาย แต่ คุณหญิง คุณนาย เหล่านั้น ร่วมมือ ร่วมใจ กันออกปฏิบัติงานในชุมชน ทั้งการเยี่ยมบ้าน Home Health Care ที่มีประสิทธิภาพได้
จังหวัดยโสธร มี ศสม. 2 แห่ง อาคาร เป็นของ เทศบาลเมืองยโสธร บุคลากร และ การบริการทั้งหมด อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ โรงพยาบาลยโสธร ศสม.แห่งหนึ่ง มี แพทย์นอกราชการ ที่มีจิตอาสามาปฏิบัติงานเพื่อประชาชนใน ศสม. สัปดาห์ละ 3 วัน
บทบาทหลัก หรือ หัวใจ ของ ศสม. คือ การเยี่ยมบ้าน ทั้ง Home Ward Home Health care Home Visit แต่ยังจำเป็นต้อง มี งานด้านการรักษาพยาบาล เป็นหัวหอก ในการสร้างศรัทธาในการให้ได้รับความร่วมมือจากชุมชน
ทั้ง 3 Home นั้นควรมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ว่าได้ปฏิบัติงานแล้ว
นวัตกรรมที่น่าสนใจ ใน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.) บางแห่งเช่น มีธนาคารเตียงนอนคนไข้ ยืม พอหายแล้ว ก็นำมาส่งคืน ให้ผู้ป่วยรายอื่นๆสามารถนำไปใช้บริการต่อได้
กสค. ให้การดูแล บุคคลในครอบครัวของตนเอง และ มี กสค. คู่ Buddy ในการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษากลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ผ่าน สถานีวิทยุชุมชน ในลักษณะของ Mass Media
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธานในที่ประชุมได้ นำผู้ที่เข้าร่วมประชุม ตาม 6 Blocks for Health หรือ SYSTEM BUILDIND 6 BLOCKS (6 BLOCKS ก็คือ 6 กล่องหัวข้อ ที่พิจารณา ซึ่งประกอบด้วย 4 M เดิม+ ระบบบริการ + ระบบข้อมูลข่าวสาร หรือจะจำง่ายๆว่า 4 M SI หรือ 4 M สิ ก็ได้ครับ)
แต่ ณ ที่นี้ ผมจะยังใช้ 6 กล่องหัวข้อ ให้เหมือนกับ ที่ WHO เขาใช้นะครับ ประกอบด้วย
ซึ่งประกอบด้วย 6 เรื่อง ที่เป็นปัจจัยนำเข้า สำคัญสำหรับการสร้างสุขภาพ ให้ คนไทยมีคุณภาพดีวิถีชีวิตไทย
เป็นตัวภาษาอังกฤษ จำง่ายๆ ว่า GF SMIT
G : Governance ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล Leadership Governance (Manage:การจัดการ)
F : Financing ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Money:การเงิน)
S : Service Delivery ระบบบริการ
M : กำลังคนด้านสุขภาพ Man: Health Workforce (Man:คน)
I : Health Information Systems ระบบข้อมูลข่าวสาร
T : เทคโนโลยีทางการแพทย์ Access To Essential Technology Medicines(Material:สิ่งของ)
สรุปมติการประชุม วันนี้ได้(ร่าง) รายงานผลการศึกษา เรื่อง การสังเคราะห์บทเรียนรูปแบบการจัดบริการศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม./รพ.สต.) เพื่อนำเสนอผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังที่
เลขานุการการประชุม จัดพิมพ์และรวบรวมโดย ภก.สุรัติ ฉัตรไชยาฤกษ์ เภสัชกรชำนาญการ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ Surut Chatchaiyalerk สรุปไว้ดังนี้ คลิคดูได้ที่นี่
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ เขต 10
บัดนี้เราเรียนรู้นานพอหรือยังที่เราจะสรุป
ว่า กล่องไหนสำคัญ หรือไม่สำคัญ
ในจำนวน6กล่องนี้ไม่รู้ว่ากล่องไหนก่อนกล่องไหนหลังนั้น
ถูกต้องแล้ว เพราะ ทุกกล่องไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ปัญหา ก็มีบ้าง เช่น ที่
ศสม.อุบล จะซื้อคอมพิวเตอร์ เพียง 2 ตัว
ต้องจัดทำแผนการเงินการคลัง ข้าม 2 ปี คอมพิวเตอร์
ที่ได้มาตามที่ขอ หมดประสิทธิภาพแล้ว ในปีที่ได้รับ
เรื่อง
1. หมอ จะต้องกำหนด มาตรฐานว่าเอาอะไร
เรื่อง 2. รพ.
เทศบาล จะต้องทำงานร่วมกันเป็น Partnership ที่ดี Win-Win
ท้องถิ่นได้หน้า เราได้งาน ประชาชนต้องได้ประโยชน์
นพ.ยศ
นักวิจัยประชาชน
PPP หรือ 3P เป็นสิ่งที่สำคัญ
ของการปฏิบัติงาน ใน ศสม. People Public Partnership
อย่าพยายาม
ขยายบริการ จาก ระบบริการที่เรามี แต่ PPP หรือ 3P เป็นสิ่งที่สำคัญ ของการปฏิบัติงาน ใน ศสม. People Public
Partnership
ยกตัวอย่าง
ประกันสังคม หากเขาสร้าง โรงพยาบาลเอง ปัจจุบัน คงจะวิ่งเรา ในการเจ๊ง แต่เมื่อ
ประกันสังคม ซื้อบริการจากเรา เหมือนในปัจจุบัน ก็สามารถลด Cost ในภาพรวมได้
กทม.
หาก ยุบหน่วยบริการที่มีอยู่ แล้ว นำ งบประมาณ มาซื้อบริการ เหมือนปรันสังคม
อาจจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประหยัดได้
ขอบพระคุณทุกๆความคิดเห็นจากผู้ร่วมประชุมทุกท่าน
รวมทั้งแขกผู้ใหญ่และแขกมีเกียรติอื่นๆที่ร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
อาทิเช่น นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เขต 10
นพ.อารักษ์
วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ที่ปรึกษาระดับ
11 ประจำสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการ
สสส . สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นพ.สมศักดิ์
ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)
พญ.สุพัตรา
ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
นายสังวรณ์ คำศรี สาธารณสุขอำเภอเมืองอุดรธานี เป็นต้น
ข้อคิดที่ได้จาก นพ.สมศักดิ์ (กีฬามวย
กีฬาเทควันโด เป็นกีฬาประเภทเดี่ยวเหมือนกันกับ กีฬาว่ายน้ำ กีฬาวิ่ง แต่ทำไม เรา ไม่เคยได้เหรียญ ใน กีฬาว่ายน้ำ
กีฬาวิ่ง เพราะ กีฬา ว่ายน้ำ
กีฬาวิ่ง เป็นประเภทแข่งขันกับตนเอง แต่ กีฬามวย กีฬาเทควันโด
เป็นกีฬาที่มีพื้นฐานมาจากการต่อสู้เพื่อที่จะเอาชีวิตรอด(Reactive sport และ Proactive sport)
ขอบพระคุณ คุณหมอศุภกิจ และทีมงานดีที่มีคุณภาพจาก
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ในการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อ
การบริการปฐมภูมิ สำหรับพวกเราด้วยดีเสมอมา
นส.ดารณี คัมภีระ(ตุ๊ก) นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
ภก.สุรัติ ฉัตรไชยาฤกษ์(เจง) เภสัชกรชำนาญการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
surut chatchaiyalerk
นส.กุลรัชต์ เกตุวิเศษกูล(หวาน) เจ้าหน้าที่โครงการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
นส.วิไลพร บรรจงแก้ว(โอ๋)เจ้าหน้าที่โครงการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
นส.ปาณิศา ยมยะมาลี (แนน)เจ้าหน้าที่โครงการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
วันนี้มีน้องใหม่ในทีมงานอีก
1 คน คือ น้องแจง
นส.ปวีนา ปิงเมือง
(แจง)เจ้าหน้าที่โครงการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
ส่วนทีมงานอื่นๆที่ไม่ได้มา
แต่ยังคงระลึกถึงทุกคนครับ ทั้ง
นางฉวีวรรณ ทิมา(พี่บ๊วย) ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ
สำนักนโยบายฯและยุทธศาสตร์
และนางจุฑารัตน์ ไต่เมฆ(พี่เอี้ยง) นักวิเคราะห์นโยบายฯชำนาญการ
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
No comments:
Post a Comment