วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2555
: R2Rงานประจำนำมาพัฒนาให้ เป็น สปก.(สุข
ปัญญา ก้าวหน้า)
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วม ประชุมโครงการเพิ่มพูนสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วในการพัฒนาคุณภาพงานประจำสู่งานวิจัย ปี 2556
: เวทีวิชาการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความรู้ระบวนการพัฒนาคุณภาพงานประจำ
การเขียนเอกสารงานวิชาการ ประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษ โดย นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
วิทยากรโดย ดร.ธีรพัฒน์ สุทธิประภา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ บรรณาธิการ วารสารวิจัยเเละพัฒนาระบบสุขภาพ
และ ดร.นิภาพร ละครวงษ์ โรงพยาบาลยโสธร R2R : การสงเคราะห์ความรู้กับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
จากการดู Video ของ
รพ.หนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดย คุณสิริมา
และ นพ.เอกวิทย์ เจริญพร ผอ.รพงหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสิธุ์
R2Rคือ การพัฒนางานประจำของตนให้ดีขึ้น
ปัญหาหน้างานคือ
ผู้ป่วยขาดนัด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง
ภาวะความเครียด
คำถามการวิจัย
ประเพณีผูกเสี่ยวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล ผู้ป่วยเบาหวานได้จริงหรือไม่
คำถามการวิจัย
ประเพณีผูกเสี่ยวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานใน ผู้ป่วยเบาหวานได้จริงหรือไม่
การพิจารณาว่าเป็น
R2R หรือไม่ มีเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ 4 ประการคือ
1. โจทย์วิจัย หรือ คำถามวิจัย R2R ควรมาจากปัญหาหน้างานประจำของเรา
2.
ผู้ทำวิจัยควรเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง และเป็นคนทำ R2R โดยแสดงบทบาทหลักของงานวิจัย
3. ผลลัพธ์ของงานวิจัย ควรถึงผลต่อผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ
4. นำผลการวิจัย ไปใช้ ปรับปรุงใช้ในงานประจำต่อการบริการให้ดีขึ้นในบริบทขององค์กรนั้นได้
R2R มี 2 รูปแบบคือ
แบบที่
1 เป็น R2R แบบทำความเข้าใจปัญหา
แบบที่
2 เป็น R2R เพื่อแก้ไขปัญหา
การตั้งคำถามการวิจัย
แบบที่
1 เป็น R2R ทำความเข้าใจปัญหา เช่น ทำไม เพราะอะไร
แบบที่
2 เป็น R2R เพื่อแก้ไขปัญหา คำถามการวิจัย เช่นทำ...แล้วจะส่งผลให้เกิด....ได้หรือไม่
Stept การตั้งคำถามการวิจัย
Stept
แรก วิเคราะห์ปัญหาหน้างานของเรา จาก เอ๊ะ
ตั้งคำถามวิจัย
โดยใช้ PICO
โดยมีเป้าหมายการทำงานวิชาการ
R2R มี 3 ประการคือ สปก.
ส.
มีความสุข มีความสนุกในการทำงาน
ป.
ประเมืองปัญญา เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น
เข้าใจและเชื่อมโยงเรื่องต่างๆได้ดีขึ้น ทำให้ชีวิตการทำงานของเราดีขึ้น
ก.
ก้าวหน้า สร้างงานประจำให้เกิดความก้าวหน้า เกิดผลงานวิชาการ
“จุดตัดสินใจที่ทำให้ดิฉันถือศีล
ปฏิบัติธรรม มีหลายประการ ตั้งแต่ศึกษามาจนมีปริญญาเอก 2 สาขา
แล้ว ก็ยังไม่ค้นพบคำตอบของชีวิต แต่เมื่อได้มีโอกาสได้ไปปฏิบัติธรรม กับ หลวงปู่ประสาร
สุมโน เจ้าอาวาสวัดป่าหนองไคร้ แล้ว รู้สึกว่า
มีความสุขอย่างอธิบายไม่ได้ จากนั้นมาจึงเริ่มศึกษาและปฏิบัติ
จึงพบว่าเส้นทางนี้แหละใช่เลย คือ การทำงานกับ ธรรมะนั้น
หากนำมาใช้ควบคู่กันขะทำให้ชีวิตมีความสุข รวมทั้ง คำพูดของ ดร.วรพัฒน์ ภู่เจริญ
อดีต วิศวกร NASA* บอกว่า You โชคดี
ที่เป็นคนยโสธร มีโอกาสได้ใกล้ชิดเกจิอาจารย์หลายๆท่าน
เพราะท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดยโสธร ปัจจุบันดิฉัน แต่งกายแบบนี้ หลังเลิกงานขับรถไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ทุกวัน
โกนผมเอง ในทุกวันโกน ” ดร.นิภาพร ละครวงษ์
โรงพยาบาลยโสธร กล่าว
แง่คิดของการทำวิจัยจากงานประจำ คือ “R2R is
the Journey, not destiny"
Journeyการเดินทาง การฝึกฝน ประสบการณ์ destinyเคราะห์กรรม
R2Rที่ทำกันอยู่ นั้น ประกอบด้วย 4 ประเด็นคือ
Intervention
assessment study (เช่นเรื่อง COPD ขยะ)
Problem
Study (เช่นเรื่อง DMศีลอด)
Organization
/ system development management study (เช่นเรื่อง Ashma
Clinic เรื่อง เสี่ยวหวานเย็น หนองกุงศรี)
Technology
development study (เช่นเรื่อง กระติก อกอุ่น อิ่ม เย็น)
การพิจารณา
ตัดแขน ตัดขาคนไข้ ต้องพิจารณาให้รอบด้านว่า จะตัดวัว ตัด ควายชาวบ้านไหม
เพราะเขาต้อง
ขายวัว ขายควาย มาใช้จ่ายในการตัดแขนตัดขา หลังจากตัดแล้ว กลับไป
เขาจะไปทำมาหากินอะไร
จะฟื้นฟู สุขภาพได้อย่างไร
PICO
หลักการตั้งคำถามการวิจัย คำถามในการศึกษา ด้วย PICO
การตั้งคำถามการวิจัย
โดยใช้หลัก PICO
P Pt / Subject ประชากรกลุ่มเปาหมาย ptเบาหวาน
I Intervention / Issue ที่เราต้องการใส่เข้าไป เช่น ประเพณีผูกเสี่ยว อายุขัยเฉลี่ย
C Compare (ถ้าไม่มีการเปรียบเทียบก็ไม่ต้องมีก็ได้)
O Out put Outcome คือ ตัวแปรตาม ตัวแปรที่เราจะวัดผล ประสิทธิภาพการทำงานใน ptเบาหวาน
(ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานในผู้ป่วยเบาหวาน
คุณสิริมา มอง 3 ประเด็น คือ ระดับน้ำตาล ความเครียด )
Issue คือปรากฎการณ์ที่ไม่เคยมีศึกษามาก่อน เช่น อายุขัยเฉลี่ยต่ำ ที่สุด ของ ตำบลนาคำ
เป็นต้น
วิเคราะห์
ปัญหา มาจาก อุบัติการณ์ ที่เกิดซ้ำบ่อยๆ จากสถิติที่ผ่านมา หรือ เป็นปัญหา
ที่กำหนดโดยนโยบาย
เป็นปัญหา ที่กำหนดโดยนโยบาย
ตัวอย่าง
P
แม่เด็กหญิง
I
การอบรมศีล5
O การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
คำถามการวิจัย
การอบรมศีล5จะช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร ในแม่เด็กหญิงได้หรือไม่
สำหรับบางครั้งการศึกษาใหม่นั้น
มีเพียง P
กับ I ก็ได้ เช่น อายุขัยเฉลี่ย
เมื่อแรกเกิดต่ำ
Pประชาชนตำบลนาคำ
Iอายุขัยเฉลี่ย
เมื่อแรกเกิดของตำบลนาคำต่ำกว่าอายุขัยเฉลี่ยของประเทศ
คำถามการวิจัย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนตำบลนาคำมีอายุขัยเฉลี่ย
เมื่อแรกเกิดต่ำที่สุดในประเทศไทยคืออะไร
P ชุมชน
+ Care giver
I รูปแบบการดูแลผู้ป่วยTB
ด้วยระบบ DOTs
C
O
คำถามการวิจัยรูปแบบการดูแล
ผู้ป่วยTB
ของCare giver และชุมชนเป็นอย่างไร
ถ้าไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ
อะไรเป็นผล ไม่รู้ว่าสาเหตุคืออะไร ก็ไม่ต้องมี O ก็ได้ เช่น
P ผู้หญิงม้ง
I การฆ่าตัวตาย
เป็น Issue
C
O
คำถามการวิจัย
สาเหตุการฆ่าตัวตายของผู้หญิงม้งคืออะไร
สถานการณ์
จนท.สาธารณสุข ในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
จำนวน 70 คน
มีผลการปฏิบัติงานที่ดีเด่นในระดับต่างๆ มากมาย แต่สามารถเขียนเป็นผลงานที่เป็น
เอกสารทางวิชาการ ในปี 2555 เพียง 3 เรื่องเท่านั้น
จุดประสงค์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ต้องการให้
จนท.นำงานที่ปฏิบัติอยู่แล้ว นำมาเขียนเป็นผลงานในเชิงวิชาการได้ในรูปแบบของการทำงานไป
ปรับปรุงไป แบบ R2R โดยการัดทำโครงการเพิ่มพูนสมรรถนะบุคลากร
นี้ขึ้น
PICO ที่ส่งมานี้
ต้องเขียน R2Rจากการประเมินผลโครงการนี้ครับ อาจารย์
ดร.กระปุ๋ม
P เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
I การจัดกิจกรรมตามโครงการเพิ่มพูนสมรรถนะบุคลากร
C
O การพัฒนาคุณภาพงานประจำสู่งานวิจัย
การจัดกิจกรรมตามโครงการเพิ่มพูนสมรรถนะบุคลากรจะสามารถพัฒนาคุณภาพงานประจำสู่งานวิจัยของ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้วได้หรือไม่
ตัวอย่าง P วัยรุ่น
I กิจกรรมครอบครัวอบอุ่น
O ติดยาเสพติด
คำถามการวิจัย
กิจกรรมครอบครัวอบอุ่นจะช่วยลดอัตราการติดยาเสพติดของวัยรุ่นได้หรือไม่
หมายเหตุ
ให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ทุกแห่ง ส่ง หัวเรื่อง ตาม PICO ให้
ได้ที่ kapoom@gmail.com
*ดร.วรพัฒน์ ภู่เจริญ บริการจัดการองค์กรด้วยหลักพุทธธรรม
หากเอ่ยถึงที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ
ในแวดวงนักบริหารน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ‘ดร.วรพัฒน์ ภู่เจริญ’ เจ้าของบริษัทพรีม่า แมเนจเม้นท์ จำกัด
เนื่องด้วยเขาเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการที่ได้รับการยอม
รับจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายต่อหลายบริษัทของเมืองไทย
ไม่แปลกที่บริษัทเหล่านี้ว่าจ้างให้เขาเข้าไปทำการ ปรับกระบวนยุทธ์ในการบริหาร
แต่ที่น่าแปลกใจคือ กลยุทธ์ที่เขาแนะนำแก่บริษัทต่างๆนั้น
ไม่ได้มาจากตำราหรือหลักการบริหารของฝรั่งมังค่า ทว่ามาจาก ‘หลักธรรม’
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่เขายืนยันว่าพระพุทธเจ้าเป็นบรมครูของวิชาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง
No comments:
Post a Comment