12/13/12

ยโสธร ประเมิน PCA ที่ รพ.สต.แคนน้อย_คำเขื่อนแก้ว





วันที่  12 ธันวาคม 2555 ยโสธร ประเมิน PCA ที่ รพ.สต.แคนน้อย_คำเขื่อนแก้ว
ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
เพื่อร่วมต้อนรับ นายกันตภณ   รัตนปัญญา หัวหน้าทีม และ นางอารีรัตน์  เนติวัชรเวช ผู้ประสานงาน PCA จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ กรรมการ QRT จังหวัดยโสธร ในกิจกรรมทดลองใช้เครื่องมือ การประเมิน PCA ด้วยตนเองของหน่วยบริการปฐมภูมิ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร  
นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  ได้นำ คณะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ใน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ร่วมต้อนรับและรับฟังการเสนอแนะจากคณะกรรมการ
            นางมนัชยา กองทำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นำเสนอได้ดีมาก ในกระบวนการ PCA เริ่มจาก การวิเคราะห์ องค์กรภายในด้วย SWOT และ สภาพแวดล้อม ด้วย PEST (Policy Economic Social Technology) ก่อนนำเสนอแยกตามหมวดต่างๆ ทั้ง 7 หมวด
นายสงบ ชื่นตา ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอกุดชุม  กล่าวว่า ผมจะนำเอาทีมงานมาศึกษาดูงาน จากแคนน้อย ในหลายๆเรื่อง ทั้งด้านเอกสารมาตรฐาน และสิ่งก่อสร้าง เช่น เตาเผาขยะ ที่ได้มาตรฐาน  โรงเรือนล้างเครื่องมือ ที่ดี เป็นต้น
นายกันตภณ รัตนปัญญา หัวหน้าทีม QRT จังหวัดยโสธร กล่าวว่า ต้องชื่นชม นางมนัชยา กองทำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย และคณะ ที่ได้ร่วมกัน ปฏิบัติงานเป็นทีมด้วยดี ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่ คนที่ปฏิบัติงานในระดับ รพ.สต. จะมีเอกสาร หลักฐานแสดงให้เห็น ถึง ร่องรอยของการปฏิบัติงาน ด้วยว่า รพ.สต.มีขีดจำกัด ในการทำงาน ทั้ง คน เงิน ของ ที่ขาดแคลน และมีภาระงานที่มาก กระบวนการที่ต้องชื่นชมและถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ กระบวนการสื่อสารและการจัดทำแผนกลยุทธ ร่วมกันของทีมงานใน รพ.สต.แคนน้อย แล้วกระจายไปสู่งานต่างๆให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้อย่างครอบคลุม ณ ปัจจุบัน วันเริ่มต้นของการพัฒนา PCA ถือได้ว่า แคนน้อย และ รพ.สต.ตูม ถือเป็น ครู ที่ดี ของเรา ในการเรียนรู้ และพัฒนา บริการ ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้ได้ตามมาตรฐานต่อไป




แนวทางการประเมินPCA กระบวนการADLI ประเมินผลลัพธ์LeTCLi
การประเมิน PCA หมวด 1ถึง หมวด 6 เป็นการประเมิน กระบวนการ ตามแนวทาง ADLI
A (Approach) การมีแนวทาง P=Plan /วางแผน
            1 การตั้งวัตถุประสงค์
2 การวางแผนดำเนินงาน/เป้าหมาย/ผู้รับผิดชอบ
3 การวางแผนประเมินและตัวชี้วัด
D (Deployment) การปฏิบัติ D=Do/ปฏิบัติ
            1 การปฏิบัติตามแผนดำเนินงาน
2 ความรับผิดชอบของบุคลากร
3 ความมุ่งมั่นตั้งใจของบุคลากร
L (Learning) การเรียนรู้ C=Check/ตรวจสอบ
            1 การติดตามประเมินผลและการปรับปรุง
2 การสรุปบทเรียนและสร้างนวัตกรรม
3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปรับปรุง
I (Integration) การบูรณาการ A=Action/ ดำเนินการ
1 ความสอดคล้องของระบบจัดการ
2 การใช้ระบบตัววัด การประเมิน การปรับปรุง
3 การมีแนวทางที่มุ่งสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย

การประเมิน PCA หมวด 7 ผลลัพธ์ เป็นการประเมิน กระบวนการ ตามแนวทาง LeTCLi
Le: Level ระดับผลลัพธ์ของการดำเนินงานบรรลุผลตามค่าเป้าหมายในทุกตัวชี้วัด
T: Trendsทิศทางแนวโน้มของผลลัพธ์การดำเนินงานมีทิศทางที่ดีหรือเหมาะสมในทุกตัวชี้วัด
C: Comparisonระดับของผลการเปรียบเทียบค่าผลลัพธ์กับหน่วยงานอื่น มีผลในระดับแนวหน้าของกลุ่ม ในทุกตัวชี้วัดที่สำคัญ
Li: Linkageความครอบคลุมของตัวชี้วัดและระดับผลลัพธ์ที่สามารถแสดงถึงความสำเร็จในการตอบสนองต่อความต้องการของ  ผู้รับบริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและโครงการสำคัญขององค์กร











No comments:

Post a Comment