12/13/12

QRT ยโสธร ร่วม CBL ออกแบบ เกณฑ์การประเมิน PCA


วันที่  13 ธันวาคม 2555 QRT ยโสธร ร่วม CBL ออกแบบ เกณฑ์การประเมิน PCA
            ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นางมนัชยา กองทำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แคนน้อย นางสุภาวดี  ขอสุข  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนทัน  นางภัทรวรรณ จันทร์ศิริ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วเข้าร่วมประชุม การออกแบบตรวจประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ PCA โดยกระบวนการ CBL ณ ห้องประชุมพญาถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ดำเนินการประชุมโดย นางสุวรรณี แสนสุขหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
คุณอารีรัตน์  เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ผู้เข้าร่วมประชุมร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย คณะกรรมการ QRT จังหวัดยโสธร
โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อ ออกแบบและพัฒนาตรวจประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ PCA




            ข้อเสนอที่ดีจาก ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เช่น ดูในภาพรวมแล้ว เนื่องจาก ใช้กรอบการประเมินตามแนวคิดของ PMQA ซึ่ง PMQA ใช้ประเมินองค์กรระดับกรมระดับจังหวัดขึ้นไป แต่เรานำไปใช้ประเมินในระดับหน่วยบริการซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ฉะนั้นเกณฑ์ชี้วัดบางตัว ก็ต้องระวังและปรับกำหนดตัวชี้วัด ให้เป็นระดับ หน่วยงานย่อย เช่น การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร การจัดทำแผนด้านความผาสุกของพนักงาน ปกติจัดทำในระดับหน่วยเหนือ ควรเขียนเป็นว่า
มีเอกสารแสดงให้เห็นก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องจัดทำเอง เป็นต้น

ซึ่งเอกสาร การประเมิน PCA ด้วยตนเองของหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่กล่าวถึง เป็นการทดลอง ประเมินตามรูปแบบไฟล์ ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โดย  ได้ พัฒนาขึ้น สำหรับใช้ ใน เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 10 ขอบพระคุณทีมงานผู้ร่วมพัฒนาทุกคน  ออกแบบไฟล์การประเมินโดย นายประยงค์ สุดสุข ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อสรุปที่สำคัญ
หมวดที่ 1. การประเมินการนำองค์กร ให้ Focus ไปที่ ตัว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ไปประเมิน
หมวดที่ 2. เกณฑ์บางอย่างให้ใช้ในระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด
หมวดที่ 3. Scale Yes / No นั้น ห่างกันเกินไป ควรแบ่งเป็น Scale ย่อยๆ ลงไปอีกเพราะเสริมกำลังใจคนปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งข้อดี ของ Scale Yes / No ใช้ได้ดี ในการประเมิน เป็นกลุ่ม แต่มีข้อเสีย ในการประเมินโยคนคนเดียว
หมวดที่ 4. เป็นหมวดที่ซ่อนอยู่ แทรก อยู่ ในทุกหมวด การประเมิน ควรเป็นแบบ real time จาก Database
หมวดที่ 5. แบบประเมินความผาสุก ควรออกแบบเป็นแบบเดียวกันทั้งจังหวัด
หมวดที่ 6. ควรจับกระบวนงาน ตามวิสัยทัศน์ หรือ แผนงานกลยุทธ ตามหมวดที่ 2 มาประเมิน ให้เห็นถึงกระบวนงานที่สร้างคุณค่าได้
หมวดที่ 7. ประเมินจากระดับผลสำเร็จ ที่เป็นแบบ Mile Stone หากได้ผลในระดับ 1 คือ  ระดับ 2 คือ ระดับ 3 คือ อะไร เป็นต้น
            ต้องขอขอบพระคุณและชื่นชมทีมงาน QRT จังหวัดยโสธร ทุกๆๆท่าน ที่ร่วมกัน ทำงานคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องยากๆ ให้สามารถนำมาประเมินได้ ในรุปแบบที่ ง่ายๆได้ ซึ่ง ผมถือว่า ทีมงานของพวกเรามีฝีมือ และในอนาคต ทีมนี้คงจะร่วมกันพัฒนาไปให้ถึงขั้นเซียนได้ คือ การพัฒนาคุณภาพที่ไร้กระบวนท่า ทำงานทุกงานให้สามารถประเมินผลในเชิงคุณภาพได้ต่อไปภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าวในที่สุด

No comments:

Post a Comment