วันที่ 17 ธันวาคม 2555 ยโสธร จัดทำองค์ความรู้โครงการ
TO BE NUMBER ONE (ระดมสมองยกที่ 1)
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แคนน้อย ร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาองค์ความรู้โครงการ
TO BE
NUMBER ONE จังหวัดยโสธร
ณ
ห้องประชุมพญาแถนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย
ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ดำเนินการประชุมโดย
นางสิริพร พงศ์พัฒนโชติ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางพิสมัย รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
คุณ
นพพร รากวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ทั้งนี้
การประชุมวันนี้ เป็นการประชุม ตาม คำสั่งจังหวัดยโสธร ที่ ๓๘๙๓ / 2555 ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาองค์ความรู้โครงการ TO BE NUMBER ONE
จังหวัดยโสธร
ซึ่งมีหลักการเหตุผล
ประกอบการออกคำสั่งนี้ คือ ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มี คู่มือการดำเนินงานTO BE NUMBER ONE ทั้ง 4 ประเภท ( จังหวัด สถานศึกษา ชุมชน
สถานประกอบการ) จังหวัดยโสธร จึง ได้รวบรวมประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มา เป็น
คู่มือการดำเนินงานTO BE NUMBER ONE
เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE
ในภาพรวมต่อไป (เน้นการจัดการความรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน)
ซึ่งคณะทำงาน
แต่ละประเภท มีหน้าที่ ดังนี้
๑.
จัดทำร่างและรูปแบบคู่มือการดำเนินงานแต่ละประเภทชมรม
๒.
นำเสนอรูปแบบคู่มือการดำเนินงาน เพื่อให้คณะกรรมการอื่น ร่วมให้ข้อเสนอแนะ และปรับปรุงแก้ไข
๓.
นำคู่มือการดำเนินงานไปทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไขให้สามารถดำเนินการได้
๔.
สรุป
และให้ข้อเสนอแนะ
๕.
รวบรวมผลการดำเนินงานส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
เพื่อพิมพ์และเผยแพร่ต่อไป
มติที่ประชุม 1. ทุกประเภท
ให้คงเนื้อหาหลักที่เป็นรูปแบบในภาพรวมของ โครงการ TO BE NUMBER ONE ไว้
ซึ่งประกอบด้วย ความสำคัญและความเป็นมาของการดำเนินงาน
TO BE
NUMBER ONE
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์
มติที่ประชุม 2. เนื้อหา
ขนาด กระดาษ A4 THSaraban ขนาด 16 จำนวน
50-80 หน้า
การพัฒนาศักยภาพองค์ประกอบของชมรม TO BE NUMBER
ONE
(3 ก. กรรมการ กิจกรรม กองทุน)
3 ย. ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน TO
BE NUMBER ONE
1.การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
2.การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและอ่อนไหวที่สุดของปัญหายาเสพติด
3.การสร้างและพัฒนาเครือข่ายชมรมให้ต่อเนื่องยั่งยืน
การดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE
ในสถานศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา เน้น 3 ก 3 ย. (ประถม
ตัด Friend Conner ออกไป)
โรงเรียนมัธยม ดำเนินงานตาม 3 ก 3 ย. โดยมีจุดเน้น เรื่อง เพื่อนช่วยเพื่อน TO BE NUMBER ONE Friend Conner (ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ)
ขอบพระคุณ คณะทำงานพัฒนาองค์ความรู้โครงการ
TO BE
NUMBER ONE จังหวัดยโสธร
ทุกท่านที่ร่วมให้คำแนะนำและร่วมมือการปฏิบัติงานด้วยดี ประอบด้วย
คณะที่๑. คณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานจังหวัด
TO BE
NUMBER ONE ประกอบด้วย
๑.๑. นายองอาจ แสนศรี
นวก.สาธารณสุข เชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา)
ประธานคณะทำงาน
๑.๒. นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม นวก.สาธารณสุขชำนาญการ รองประธานคณะทำงาน
๑.๓. นางพิศมัย รัตนเดช นวก.สาธารณสุขชำนาญการ คณะทำงาน
๑.๔. นายนพพร รากวงค์ นวก.สาธารณสุขชำนาญการ คณะทำงาน
๑.๕. นางสิริพร พงศ์พัฒนโชติ
นวก.สาธารณสุขชำนาญการ
คณะทำงานและเลขานุการ
๑.๖. นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ นวก.สาธารณสุข คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะที่๒.
คณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา
ประกอบด้วย
๒.๑. นางวิภาษณ์ เทศธรรม รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคยโสธร ประธานคณะทำงาน
๒.๒. นางนิรมล จงจินากูล รองผู้อำนวยการโรงเรียนเลิงนกทา รองประธานคณะทำงาน
๒.๓. นางสตรีรัตน์ บุญวิทย์
โรงเรียนเลิงนกทา คณะทำงาน
๒.๔. นางสายสมร วงศ์สิรภัค
โรงเรียนเลิงนกทา คณะทำงาน
๒.๕. นางสมผล
ตีระนันทน์ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร คณะทำงาน
๒.๖. นายสุทธิพงศ์ ปัคมา
วิทยาลัยเทคนิคยโสธร คณะทำงานและเลขานุการ
๒.๗. นางสุปราณี ศรีพรหม โรงพยาบาลยโสธร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
๒.๘. นางสุปรานี พลไชย โรงพยาบาลยโสธร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
๒.๙. นางสาวจิตลดาวรรณ
โสวะภาสน์ สสอ.เลิงนกทา คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะที่๓.
คณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE ในชุมชน ประกอบด้วย
๓.๑. นายวิทยา เพชรรัตน์
สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานคณะทำงาน
๓.๒. นางสาวราศรี อาษาจิตร
โรงพยาบาลป่าติ้ว รองประธานคณะทำงาน
๓.๓. นายศุภเกียรติ บุญทศ
สสอ.มหาชนะชัย รองประธานคณะทำงาน
๓.๔. นายนคร ผิวอ่อน
สสอ.ทรายมูล คณะทำงาน
๓.๕. นางมนัชยา กองทำ
รพ.สต.แคนน้อย
คณะทำงานและเลขานุการ
๓.๖. นางธันยาภัทร์ ทองมูล
โรงพยาบาลค้อวัง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะที่๔. คณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบการ
๔.๑. นางสาวจุฑารัตน์
สบู่ม่วง
สำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร ประธานคณะทำงาน
๔.๒. นายรุ่งนิรันดร์ วงษ์ราช บริษัทซาบีน่า จำกัด (มหาชน) รองประธานคณะทำงาน
๔.๓. นางสาวพรสวรรค์
สุจิวรณ์
บริษัทบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) คณะทำงาน
๔.๔. นางอนัญญา โรจนชาตรี โรงพยาบาลกุดชุม คณะทำงาน
๔.๕. นางจันทร์เพ็ญ นิยมพงษ์ โรงพยาบาลไทยเจริญ คณะทำงาน
๔.๖. นางสาวธัญญรัตน์ ชื่นตา บริษัทซาบีน่า จำกัด (มหาชน) คณะทำงานและเลขานุการ
๔.๗. นางนิตยา รัตนวัน สสอ.
เมืองยโสธร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
๔.๘. นางณกมน มีธรรม สสอ.เมืองยโสธร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
๔.๙. นางสุชาทิพย์
โคตรท่าค้อ รพ.สต.ดู่ทุ่ง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
ตามที่จังหวัดยโสธรได้ดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE
ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มาจนครบ ๑๐ ปี ผ่านรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลาย มีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธะกิจ
เป้าประสงค์และดำเนินงานตาม 3
ยุทธศาสตร์หลักของโครงการมาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบจนได้รับรางวัลการประกวดกิจกรรมในโครงการ
TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศอย่างต่อเนื่องจนเป็นจังหวัดหนึ่งในสามของระดับประเทศ
ที่ได้รับรางวัลจังหวัดกลุ่มมาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเพชร ปีที่ 2 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประกวดกิจกรรมในโครงการ
TO BE NUMBER ONE ปี
๒๕๕๖ กลุ่มมาตรฐานจังหวัดต้นแบบระดับเพชร กิจกรรมหนึ่งซึ่งต้องดำเนินการคือ การพัฒนาองค์ความรู้ TO BE NUMBER ONE ซึ่งจังหวัดยโสธรกำหนดให้มีการจัดทำคู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
TO BE NUMBER ONE จำนวน ๔ ประเภท ได้แก่
๑.) ประเภทจังหวัด TO BE
NUMBER ONE ๒.) ประเภทชุมชน ๓.) ประเภทสถานประกอบการ และ ๔.) ประเภทสถานศึกษา เพื่อให้เครือข่ายสมาชิก TO BE NUMBER
ONE ทุกประเภท ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ
ซึ่งจะส่งผลให้โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมีความมั่นคงยั่งยืนต่อไป
No comments:
Post a Comment