3/26/13

หมอนามัย_รวมใจกระทุ้งให้_ผ่าน_ร่าง_พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข


วันที่ 21 มีนาคม 2556 หมอนามัย_รวมใจกระทุ้งให้_ผ่าน_ร่าง_พรบ.วิชาชีพสาธารณสุข
วันนี้ หมออนามัยอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ไปร่วมแสดงพลัง สมทบกับคณะ นายไพศาล บวงชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กับประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย คุณสำเริง จงกล, นายกสมาคมหมออนามัย คุณสาคร นาต๊ะ, นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย คุณยงยศ แก้วเขียว และผู้แทน อสม. ตลอดจนสมาชิกนักสาธารณสุข และหมออนามัย รวมกว่า 5,000 คน เพื่อชุมนุมในวันนี้ (21 มีค.2556) และในนามของประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 14,982 คน ร่วมกันเข้าชื่อเสนอให้มีร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ขอบพระคุณ นักรบ เมืองบั้งไฟ ทุก ท่าน อาทิเช่น
นายสมัคร  พุ่มทอง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกุง
นายขจรเกียรติ   อุปยโสธร  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่  
นายอรุณ  ฉายแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บกน้อย
นายคมสัน  อดกลั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาแก 
นางโสภิดา  พลไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาคำ 
นางเครือวัลย์ คนชม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาเวียง
นายอุทิศ ฝูงดี      ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กู่จาน
นายบัณดิษฐ สร้อยจักร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โพนสิม เป็นต้น




ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 163 ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ต้องหยุดชะงักลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ยุบสภาในปี 2554 จึงเรียกร้องให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้นำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ตกจากสภาฯ เมื่อเกิดเหตุการณ์ยุบสภาในปี 2554กลับคืนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารับหลักการและผ่านความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ร่างที่มีหลักการทำนองเดียวกัน ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ... ที่เสนอโดยคณะรัฐบาล กับร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. .... อีก 3 ร่าง ที่เสนอโดย ส.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ กับคณะ จากพรรคเพื่อไทย และ ส.ส.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กับคณะ จากพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งร่างที่เสนอโดยประชาชน และได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ตลอดจนผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาโดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ได้ลงมติไม่เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และตั้งกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้
นับถึงวันนี้ครบหนึ่งเดือนแล้ว ยังไม่มีการนัดเรียกประชุมกรรมาธิการร่วมกันของสองสภาแต่ประการใด ถือเป็นความล่าช้าที่ผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของนักสาธารณสุขและหมออนามัยที่กระจายปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กว่าหมื่นแห่งทั่วประเทศ จนอาจส่งผลเสียหายตามมาต่อการทำหน้าที่ดูแลประชาชนในชุมชนท้องถิ่นและถิ่นทุรกันดารห่างไกลรวมถึงพื้นที่ชายแดนและเสี่ยงภัยเนื่องจากไม่มีกฎหมายใดมาคุ้มครอง 
การเดินทางมาชุมนุมของเครือข่ายนักสาธารณสุข และหมออนามัย ตลอดจนผู้แทนจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย และอสม.จากทั่วทุกภูมิภาคในวันนี้มีวัตถุประสงค์สองประการหลัก
ประการแรก เพื่อประกาศเจตนารมณ์ว่าเห็นด้วยกับสภาผู้แทนราษฎรในการให้คงความหมายเดิมไว้ในร่างมาตรา 3 ที่ระบุคำนิยาม วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนตามร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ...ที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา ซึ่งเห็นว่า ไม่สมควรตัดความหมายในสาระสำคัญเกี่ยวกับ การบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น และการตรวจประเมินอาการเจ็บป่วย ออกจากคำนิยาม วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลในร่างมาตรา 50 ด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งส่งมอบบัญชีรายชื่อประชาชนกว่าแสนคนที่สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเช่นกัน
ประการที่สอง เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการประชุมพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันของสองสภา และรับทราบเหตุผลของความล่าช้าที่ผิดปกติ จึงเรียกร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรให้เร่งนำร่างพระราชบัญญัตินี้มาดำเนินการพิจารณาให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้เพื่อให้มีการบัญญัติกฎหมายนี้ไปบังคับใช้ได้ในปี2556 
ดังนั้น หากเกิดความล่าช้า นักสาธารณสุขและหมออนามัยทั้งประเทศที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ รพ.สต.ทุกแห่งทั่วประเทศ จะนัดรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลในการยุติบทบาทที่จะต้องทำหน้าที่ให้บริการประชาชนทางด้านการดูแล รักษาพยาบาลเบื้องต้น หรือบางหน้าที่ที่ไปก้าวล่วงวิชาชีพแพทย์ พยาบาล หรือวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขจะต้องจัดการแก้ไขปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างต่อไป 

No comments:

Post a Comment