10มีค57เขต10workมากDistrict
Health System Management Learning:DHML
วันที่
10 มีนาคม 2557
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ
เข้าร่วมประชุม โครงการ หลักสูตรการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning:DHML)
ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี
ประธาน
โดย น.พ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เขตบริการสุขภาพที่ 10
วิทยากร เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย
นายแพทย์สุรพร
ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
นายแพทย์เรืองศิลป์
เถื่อนนาดี ผู้อำนวยการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .) เขต 10
อุบลราชธานี
รองศาสตราจารย์
นายแพทย์ ป่วน สุทธิพินิจธรรม คณะบดีวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นพ.ยงยุทธ
พงษ์สุภาพ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .)
DHMLคืออะไร DHMLหมายถึง DHMLทำอะไร
DHMLทำอย่างไร DHMLทำอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์
DHML วิธีการเรียนใน DHML
DHML: เพื่อพัฒนาคนปฐมภูมิ
และพัฒนาคุณค่าการบริการปฐมภูมิ
“เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารCUPเพื่อร่วมกันจัดบริการสุขภาพในระดับอำเภอเพื่อให้คนไม่ป่วย ตามเป้าหมาย 3
ดี คือ สุขภาพดี คนดี(สังคมไม่ทอดทิ้งกัน) รายได้พอดี
ซึ่งสามารถวัดผลได้
จาก มิติการประเมิน คุณภาพ 4 มิติ หรือ จำง่ายๆว่า E Q E SA ประกอบด้วย มิติด้านประสิทธิผล Effectiveness
มิติด้านคุณภาพ Quality มิติด้านประสิทธิภาพ Efficiency มิติด้านการพัฒนา ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
Social Accountability เพื่อพัฒนาคนปฐมภูมิ
และพัฒนาคุณค่าการบริการปฐมภูมิ โดยใช้หลักของกระบวนการ
Context Base Learning : CBL ศาสตร์ที่คือ เวชศาสตร์ครอบครัว
ผ่านการบริการที่ดีส่งไปยังประชาชน โดยระบบหมอครอบครัว
ที่มีการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัยและกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ให้ได้รับการ Appreciation
เหมือนกับการผ่าตัดรักษา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมาก เช่นเราฉีดวัคซีนได้ 100%
ไม่ค่อยได้รับ Appreciation แต่รักษา
ได้ถือว่าดี ป้องกันไม่ให้คนติดยา เราได้อะไรมากมายทั้งคนดี สังคมดี
ครอบครัวอบอุ่น
แต่ไม่ค่อยได้รับ Appreciation แต่ไปให้ความสำคัญกับการรักษาผู้ติดยาเสพติด
หรือป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจได้
ไม่ค่อยได้รับ Appreciation แต่ผ่าตัดใส่ Balloon bypass ได้ ได้รับ Appreciation เป็นต้น ที่กล่าวมานั้นจะสำเร็จได้ ต้องขึ้นอยู่กับ 3 Key Success
factor นี้คือ 1ต้องมี Core Team 2.ใช้อปริหานิยธรรม
(ธรรมะที่นำไปสู่ความเจริญ 3Net Working ทั้ง individual
organize และ expertise ” น.พ.ทวีเกียรติ
บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เขตบริการสุขภาพที่ 10
“หากเราสร้างเครือข่ายในชุมชนที่เข้มแข็งได้
โดยเฉพาะในระดับอำเภอ จะส่งผลให้ระบบ Primary Care ของเราเข้มแข็ง
ซึ่งนั่นหมายถึงว่าระบบสุขภาพของเราจะมีประสิทธิภาพ
สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาได้ เพราะ ปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 70 สามารถแก้ไขได้ในระดับ Primary Care” รองศาสตราจารย์
นายแพทย์ ป่วน สุทธิพินิจธรรม คณะบดีวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
“ใน 5
กรอบ UCARE ของDHS นั้น DHML ถือว่าเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของความสำเร็จของ DHS ซึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลถึงความสำเร็จคือผู้นำ ผู้นำที่สำคัญในระดับอำเภอคือ
นายอำเภอ ฉะนั้น ต้องหากลวิธีที่จะต้องให้ นายอำเภอนายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัด
อบต.มาร่วมในกระบวนการเรียนของเราด้วย LCC
หรือศูนย์ประสานงานที่จะให้ Work ได้เลยและเหมาะสมที่สุดควรเป็น
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะเริ่มทำได้ทันทีคือ
ต้องมีงบประมาณสนับสนุนให้ทำได้ทันที หากโครงการนี้สำเร็จ UCARE ก็จะบรรลุผลสำเร็จและมีความยั่งยืนได้ในอนาคตต่อไป”
นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
“DHML ต้องขอขอบพระคุณ
คณะที่เริ่มแนวคิดที่ ก่อกำเนิด ณ อำเภอราศีไศล เพื่อ Support การทำงาน DHS ของกระทรวงสาธารณสุข
ที่มุ่งเน้นทั้งความสำเร็จและความยั่งยืน” นพ.ยงยุทธ
พงษ์สุภาพ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .)
วัตถุประสงค์ของโครงการ DHML
โครงการหลักสูตรการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District
Health System Management Learning:DHML)
เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของทีมผู้เรียน
บนพื้นฐานของการมีสมรรถนะในการควบคุมตนเอง การมีวิสัยทัศน์ การวิเคราะห์ การวางแผน
การสนับสนุน การควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินการดำเนินงาน การนำการเปลี่ยนแปลง
การทำงานเป็นทีม และการมีความสามารถในการใช้ เครื่องมือ
เพือการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ ตามความแตกต่างของปัญหา และ
ความแตกต่างของการดำเนินการตามบริบทของพื้นที่
วิธีการเรียนรู้ ในหลักสูตร
DHML โครงการหลักสูตรการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District
Health System Management Learning:DHML)
เป็นการเรียนรู้แบบ Context Base
Learning : CBL ผู้เรียนสมัครเรียนเป็นทีม โดยใช้ DHS ของผู้เรียน เป็นฐานการเรียนรู้ ผ่านการดำเนินโครงการในพื้นที่
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือศึกษาดูงานในระบบสุขภาพอำเภอที่เป็นกรณีศึกษา
ภายใต้การมีชุดการเรียน 11 Module ( 2 Core module และ 9
module สำหรับเลือก) Module ในภาษา KM เรียกว่า Explicit Knowledge) เพื่อเสริมหลักการ แนวคิด
และทฤษฎี ที่สามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาตามบริบทของแต่ละพื้นที่
โดยมีพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ การพัฒนาในพื้นที่ และอาจารย์จากสถาบันการศึกษา
สนับสนุนการเรียนรู้ ของทีมผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลา 1 ปี โดยมีศูนย์ประสานงานและจัดการด้านการเรียน Learning and
Coordinating Center: LCC
จะเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการประสานงานให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์
จากสถาบันการศึกษา พี่เลี้ยงและทีมผู้เรียน ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิต
เพื่อใช้ต่อยอด เรียนในระดับปริญญาที่สูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมได้
“UCARE ของDHS ตัวที่สำคัญที่สุดคือ ตัว U เพราะหากตัว U ไม่ work ตัวอื่นก็จะไม่
work หากตัว U work ตัวอื่นก็จะมาเอง
หากเราเอาแนวคิดของ นพ.สุรพร ลอยหา มาใช้
คือให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมได้ก็จะดีมาก เพราะ นายอำเภอ
หัวหน้าส่วนที่เข้ามาร่วมเรียนรู้นั้น อย่าไปสนใจว่าเขาจะย้ายหรือไม่ย้าย เพราะ
สิ่งที่ได้คือความรู้ ย้ายไปอยู่ที่ไหน ก็นำความรู้ติดตัวไป สร้างสุขภาวะ
ให้กับพื้นที่นั้นๆได้ต่อไป คนไข้ติดเตียง ให้การ long term care นั้น พยาบาลเวชปฏิบัติคนเดียวทำไม่ได้แน่ เพราะไม่ได้มีแค่คำแนะนำ
แค่สำลีทำแผล แต่มันมีเตียงที่เหมาะสม มีถังออกซิเจน มีที่กายภาพบำบัด
มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีผู้ดูแลที่มีคุณภาพ(ที่ไม่ใช่คนที่เป็นเตี้ยอุ้มค่อม
ที่ไปไหนไม่ได้ ต้องดูแลชั่วนาตาปี) เราต้องพึ่ง DHS มาช่วย” นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการปฐมภูมิ
การการพัฒนา DHML 2องค์ประกอบ คือ 1มีโครงการที่ทำร่วมกัน
2เรียนเป็นทีม
องค์ประกอบ1 มีโครงการ กระบวนการเรียนจะช่วยให้การทำโครงการได้ง่ายขึ้น
สนุกขึ้น สำเร็จหรือไม่ไม่สำคัญ แต่สิ่งที่ได้คือ ได้องค์ความรู้ จากการทำโครงการ
ที่เน้น Context Base Learning : CBL ที่สามารถตอบคำถาม 4
ข้อนี้ได้ คือ 1เลือกทำเรื่องอะไร 2ทำไมจึงเลือกทำเรื่องดังกล่าว (สภาพปัญหา) 3ลงมือทำอย่างไร
(Process)
4ผลที่คาดว่าจะได้รับ
องค์ประกอบ2 เรียนเป็นทีม
ทั้งจาก โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ ภาคประชาชน ด้วย (เช่น อบต. นายก
สุกล จิตอาสา ทีมผู้เรียน ( Core team) ทำงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติ(Actor)
Participatory
Interactive Learning though Action: PILA
PILA คือ มีCommunity เป็น Class room ที่ต่างจาก Class room
ของการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาทั่วไป
PILA เป็นการเรียนรู้จากชีวิตในการทำงานจริง
ของคนทำงานจริง Actor team กับนักวิชาการ Learning Team ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ Resource Person
คนที่สำคัญที่สุดในการเรียนคือ
Team สมาชิกทีมผู้เรียน
หากจำเป็นต้องปรึกษาทางวิชาการก็อาจมีอาจารย์พี่เลี้ยงได้ ( Resource
Person กับ Learning Team ของอำเภอต่างๆ)
Academic Institutional:AI
สถาบันการศึกษา
Learning and
Coordinating Center: LCC
Learning Team:LT ทั้ง Core Team และ Actor team
Preceptor ครูพี่เลี่ยง อาจเป็น สาธารณสุขอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน
หรือผู้ที่จบการศึกษาปริญญาโท จากเบลเยี่ยม รพ.ที่ผ่านหลักสูตร CUP
Management หรือผู้ที่ Team คัดเลือกร่วมกันว่าสามารถ
Support ให้โครงการสามารถเดินไปได้ด้วยดี
Sources for
Learning:SL แหล่งเรียนรู้ กรณีศึกษา เพื่อการศึกษาดูงาน
เรื่องที่ทำ
มี 3 ประเภทคือ
เรื่องที่ไม่ยุ่งยาก
simply อาจจะต้องทำ
หลายเรื่อง เช่น เป็นเรื่องระดับตำบล หากทำทั้งอำเภอถือว่ายาก ทำเรื่องเดียว
เรื่องที่ยาก
Complicated
ความยาก
ยากเชิงสังคม Socially Complicated เช่น การงดเหล้าในงานศพ
หรืองานเทศกาลต่างๆ
ความยาก ยากเชิงเทคนิคTechnically
Complicated การให้ยาในผู้ป่วย Stroke ในรพ.
การพัฒนาระบบข้อมูล(Software) ใน DHS
เรื่องที่ซ้ำซ้อน Complex เช่น
เด็กหญิงแม่ ลดอุบัติเหตุ Long
term care home base care ลดความแออัด ผู้ป่วยในโรงพยาบาล
การวิเคราะห์การไหลเวียน และกลไกการเงินในDHS เป็นต้น
ผู้ร่วมประชุม
ในวันนี้ ประกอบด้วย 25 เครือข่าย DHS จาก
5 จังหวัด เขตบริการสุขภาพที่ 10
นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร คัดเลือกให้ เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ
เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ในครั้งนี้ จำนวน 4 อำเภอประกอบด้วย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ คำเขื่อนแก้ว
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ มหาชนะชัย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอป่าติ้ว
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกุดชุม
No comments:
Post a Comment