12/24/15

17ธค2558กลไกสุขภาพDHSคำเขื่อนแก้ว_ขับเคลื่อนแล้ว_ระบบสุขภาพระดับอำเภอ

17ธค2558(Day)กลไกสุขภาพDHSคำเขื่อนแก้ว_ขับเคลื่อนแล้ว_ระบบสุขภาพระดับอำเภอ

วันที่ 17 ธันวาคม 2558  ภาคเช้า วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ เข้าร่วม ประชุมเชิงปฏิบัติการและพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ
เพื่อขับเคลื่อนกลไกสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม โรงแรมอารยา รีสอร์ท อำเภอโขงเจียม
จังหวัดอุบลราชธานี
ประธานในพิธีเปิด โดย นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอคำเขื่อนแก้วเข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๓๐ คน
ประกอบด้วย นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว  สมาชิกสภาจังหวัดยโสธรเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว หัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรี/นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล กำนันทุกตำบล ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และคณะกรรมการ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
                   ประเด็นเนื้อหา หลัก คือการหลอมรวมใจ เป็นเวที การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในบทบาทภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ
                        “ในวันพรุ่งนี้ จะมี พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนกลไกสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม โรงแรมอารยา รีสอร์ท อำเภอโขงเจียม แห่งนี้ ในบรรยากาศแห่งมิตรภาพและบรรยากาศการทำงานร่วมกันด้วยใจ ทั้งห้องจะอบอวลไปด้วยความรักของพวกเราที่มีให้กันและกันทั้งในระดับตำบลระดับอำเภอ หากพวกเราสังเกตที่ตราสัญลักษณ์การประชุมในวันนี้ จะพบว่า ไม่มีสัญลักษณ์ใดที่บ่งบอกว่าเป็นของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง มีแต่สัญลักษณ์ที่สื่อให้เห็นว่า ต้องทำงานร่วมกันในทุกๆส่วนอย่างเป็นระบบ จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ และเมื่อร่วมกันขับเคลื่อนแล้ว หากมีหน่วยงานใดหยุดหรือไม่ทำงานก็จะทำให้ระบบต่างๆหยุดชะงักไปด้วย ผมจึงใช้ฟันเฟืองเป็นการสื่อความหมาย เมื่อทำงานเป็นระบบร่วมกันแล้ว ก็จะเกิดภาพการทำงานอย่างมีความสุข ผมจึงใช้สัญลักษณ์สีเขียว การทำงานที่เป็นระบบก็ทำงานด้วยความโปร่งใสสะอาด จึงใช้สีขาว ผลงานที่ออกมาก็จะส่งผลถึงความรุ่งโรจน์ประชาชนอยู่ดีมีสุข คำว่าคำเขื่อนแก้ว จึงใช้สีเหลือง ส่วนสีชมพู ที่จะใส่ร่วมกันในวันพรุ่งนี้ ในปี พ.ศ.2452 วันก่อตั้งอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นวันอังคาร จึงใช้สีชมพู เป็นสื่อเพื่อมอบความรักให้แก่กันและกันระหว่างพวกเรากับพวกเรากันเอง ระหว่างพวกเรากับประชาชนต่อไป”  นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธาน คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอคำเขื่อนแก้ว

ข้อตกลงการขับเคลื่อนกลไกสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว(ข้อตกลงโขงเจียม)  รายละเอียดที่นี่































เนื้อหา เรื่อง แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
คำถามยอดฮิต : เวลาทำโครงการ เอาเงินกองทุน เวลา สตง.เรียก เงินคืน เอาเงินผู้ทำโครงการคืน

กล่อง ถุงยาง หยอดเหรียญ เ
ซื้อโดยตรงไม่ได้ แต่ ต้องเป็นสิ่งที่อยู่ใน กิจกรรมการแก้ปัญหา  เช่น 1 อบรม
2 สำรวจ  3 จัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ( กล่อง ถุงยาง หยอดเหรียญ เป็นต้น )

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้มีสายตาผิดปกติ
            เช่น กิจกรรม การสำรวจ การคัดกรอง 300 คน  พบวาวะผิดปกติ 50 ส่งผ่าตัด
2. จัดหาแว่นตา สำหรับผู้มีสายตาผิดปกติ
3. เปิดตา ผู้มีสายตาผิดปกติ

คำแนะนำ โครงการประชุม DHS ในลักษณะวันนี้ สามารถเขียนโครงการในภาพรวมของอำเภอ
ใช้ตาม ข้อ 7(4) สามารถใช้ร่วมกันได้ ทั้งอำเภอได้

7(2) หน่วยงาน กลุ่มองค์กร เน้น ซื้อของได้ไม่เกิน 5,000 บาท
            แต่ ถ้าเป็นหน่วยบริการ ซื้อ สามารถซื้อเกิน 5,000 บาทได้
นายสมบูรณ์ เพ็ญพิมพ์ หัวหน้างานผู้รับผิดชอบ
7(3) สนับสนุน ศูนย์เด็ก พัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
7(4) ใช้สำหรับ คณะกรรมการ
            ไม่เกิน ร้อยละ 15 ของรายรับแต่ละปี
            หากซื้อครุภัณฑ์ ซื้อได้ไม่เกิน 20,000 บาท
            นอกจากเบี้ยการประชุม กรรมการแล้ว
สามารถเขียนระเบียบการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ด้านอื่นๆได้
            เช่น ค่าตอบแทนการออกปฏิบัติงาน เป็นราย Case ได้ เป็นต้น

7(5) ใช้สำหรับ ตอบโต้โรคระบาด พิษภัยสุขภาพ

เงินกองทุน ใช้ข้ามปีได้ไหม
            ตอบ ได้ ไม่ได้ ขึ้นอยู่ กับมติของคณะกรรมการ นั้นๆ

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ประเมินตนเองแล้ว 2 แห่ง คือ และลงบันทึกข้อมูลได้สมบูรณ์ ได้แก่ กองทุน ตำบลดงแคนใหญ่ และ กองทุนตำบลกู่จาน
( สามารถตรวจสอบได้ทางหน้า web )

ปลัดเนรมิต สายสุด
การบริหารจัดการ ร้อยละ 15 % ด้านการบริหารสามารถเบิกข้ามปีงบประมาณได้หรือไม่
เงิน บริหารจัดการร้อยละ 15 % ด้านการบริหาร ไม่สามารถเบิกข้ามปีงบประมาณได้
กรรมการมอบให้ผู้อื่นประชุมแทนเบิกได้หรือไม่
            ตอบ      กรรมการโดยตำแหน่ง ให้คนอื่นประชุมแทน เบิกได้
กรรมการระบุชื่อให้คนอื่นประชุมแทนเบิกไม่ได้
            การประชุม หากไม่มีวาระเพื่อพิจารณา สามารถเบิกค่าประชุมได้หรือไม่
ตอบ การเบิกค่าประชุมได้หรือไม่ ต้องประกอบด้วย  อย่างน้อย 4 องค์ประกอบ
มีแผนงานโครงการ
มีวาระการประชุม
มีรายงานการประชุม
มีรายชื่อ ผู้เข้าร่วมประชุม

ดรรชนี เขียนนอก
กรณีมีโรคระบาด หรือภัยพิบัติ ไม่มีแผนงานล่วงหน้า จะสามารถใช้ เงิน 7(5) ได้เลยหรือไม่

ตอบ ไม่ได้ แต่มีข้อแนะนำคือ ให้จัดทำแผน สำหรับ ตอบโต้ โรคระบาด หรือภัยพิบัติ  กว้างๆ ไว้ตั้งแต่ต้นปี 
รายละเอียดตามคำกล่าวรายราย ของนายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ความว่า
                       
                        ระบบสาธารณสุขในระดับอำเภอ คือ ระบบการทำงานด้านสุขภาพระดับอำเภอร่วมกันของทุกภาคส่วนด้วยการบูรณาการทรัพยากร ภายใต้บริบทของพื้นที่ ผ่านกระบวนการชื่นชมและการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนพึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเป้าหมายร่วม เพื่อสุขภาวะของประชาชน
                        โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้จัดการประชุม
ครั้งนี้ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ด้านสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้  
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการระบบสุขภาพอำเภอโดยใช้
กระบวนการทำงานตามหลัก ๕ ร่วม (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมประเมินผล)
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม มีเอกภาพการทำงาน ใน ๕ คุณลักษณะการทำงานแบบมีส่วนร่วม
ทั้งการร่วมเป็นคณะกรรมการ ร่วมรับรู้รับทราบโรคและภัยสุขภาพ การจัดทำแผนสุขภาพชุมชนร่วมกัน
การใช้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน การประเมินผลตามผลลัพธ์การทำงานแบบผสมผสานตามหัวใจ ๕ ห้องระดับปฐมภูมิร่วมกัน (ประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ 
และการคุ้มครองผู้บริโภค)
เพื่อให้ผู้นำการจัดการระบบสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว สามารถจัดทำแผนสุขภาพขับเคลื่อน
อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นอำเภอ ๕ ดี มีความสุข ได้แก่ ดีที่ ๑.ดูแลกันและกันดี  ดีที่ ๒.สะอาดดี
ดีที่ ๓. แม่และเด็กสุขภาพดี  ดีที่ ๔. วัยเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมสุขภาพดี  ดีที่ ๕. ดูแลสุขภาพตนเองดี
                        การจัดประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน
                        ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารโรงเรียน กำนัน ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการกองคลัง
เจ้าหน้าสาธารณสุข จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมจำนวน ๑๓๐ คน  
                        วิทยากร ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๐ อุบลราชธานี







ในโอกาสนี้ นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ให้โอวาสความว่า
                        จากคำกล่าวรายงานของท่าน ชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ทำให้ทราบว่า
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพ ในทุกระดับ จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  การมีส่วนร่วม
รับผลประโยชน์  และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล
                        การประชุมในวันนี้ถือเป็นปฐมฤกษ์การพัฒนาระบบสุขภาพในระดับอำเภอ ซึ่งถือเป็นระดับ
ที่เหมาะสมที่สุด ด้วยเหตุผล ๓ ประการคือ
                        ประการที่ ๑ สามารถเชื่อมต่อการดำเนินงานการดำเนินงาน ด้านสุขภาพจากนโยบายสู่การปฏิบัติ เพราะระดับอำเภอ มีความใกล้ชิดมากพอต่อการรับรู้ถึงปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นในพื้นที่ รวมทั้งยังสามารถกำหนดนโยบาย วางแผนการพัฒนาทั้งอำเภอได้อย่างเหมาะสม
                        ประการที่ ๒ สามารถประสานงาน และกระจายทรัพยากร ในส่วนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การสนับสนุนทางวิชาการ การจัดการ และการใช้ประโยชน์ จากระบบข้อมูล ร่วมกับองค์กรภาคีในพื้นที่ อย่างครอบคลุม และเป็นธรรม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
                        ประการที่ ๓ สามารถบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนา ทั้งในเชิงบริหารจัดการ
บริการสุขภาพ และพัฒนาสังคมได้อย่างเป็นระบบ
                        คาดหวังว่า พวกเราที่อยู่ในห้องประชุมแห่งนี้ ซึ่งถือเป็น บุคลากรหลัก หรือ Key Man ของอำเภอ จะร่วมมือกันปฏิบัติงาน เพื่อจัดการระบบสุขภาพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล อย่างเป็นเอกภาพ  
อันจะส่งผลให้ บรรลุวัตถุประสงค์หลัก ของการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ ๔ ประการ คือ
คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
สถานะสุขภาพ ของประชาชนจะดีขึ้น สามารถจัดการปัญหาโรคและภัยสุขภาพได้ด้วยตนเอง           
เกิดเครือข่ายความร่วมมือ ในการจัดการสุขภาพที่เข้มแข็ง มีพลังในการขับเคลื่อน
การสร้างสุขภาวะใน ตำบล อำเภอ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น
การบริการมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุขในการทำงาน

                        ขอขอบคุณ ผู้จัดการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ขออำนวยพรให้การประชุม สำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ 
เสวนา กลุ่ม
- นายชื่น วงษ์เพ็ญ             สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร
- นายสุริยันต์ เจริญชัย                     นายกเทศมนตรีตำบล คำเขื่อนแก้ว
- นายอนุสรณ์ นาเวียง          นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กู่จาน  
- ดร.คูณ วงษ์อนันต์                         ผู้อำนวยการโรงเรียนแคนน้อย หนองเลิง
- นายวิชาญ สมยา              ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาหลู่
- นายไพศาล เพชรอุบล                    ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอคำเขื่อนแก้ว
- นายเนรมิต สายสุด                        ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กุดกุง   
- นางปุณยาพร แสงทอง                   ผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบล ดงแคนใหญ่
ดำเนินการอภิปรายโดย นางอารีรัตน์ เนติวัชรเวช  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วันนี้ เป็นวันเริ่มต้นที่ทีดี ของ อำเภอที่เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้น จนสามารถ ขับเคลื่อน อำเภอคำเขื่อนแก้ว ของเราให้ไปข้างหน้าได้อย่างแน่นอน
            พุทธกาล เขียนข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่างๆ ไว้มากมาย หลายปีผ่านไป ต่างคนต่างตีความทำให้เกิดปัญหาต่างๆ
เรามาปฐมสังคายนา ในเรื่องสุขภาพ ล้วนแล้วแต่ผู้นำที่สามารถ ตัดสินใจได้ ในทุกระดับ มารวมกันทั้งอำเภอ
            อยากเห็น รอยยิ้ม ที่เป็นสื่อ ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้คนนั้น มีสุขภาพที่ดี  นายชื่น วงษ์เพ็ญ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร
อปท.ทุกแห่งมีหน้าที่ สร้างสุขให้กับ คนคำเขื่อนแก้ว ฉะนั้น พวกเราพร้อมแล้วที่จะสร้างและ คืนความสุขให้คนคำเขื่อนแก้ว
การจัดการขยะ แบบบูรณาการ เพื่อคนคำเขื่อนแก้ว  
ชุดช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ป่วย เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว จะสนับสนุน การดูแลกันและกันดี เพื่อการนี้ จำนวน จำนวน ชุด
นายสุริยันต์ เจริญชัย นายกเทศมนตรีตำบล คำเขื่อนแก้ว
การทำงานร่วมกันในพื้นที่ ให้ประสบผลสำเร็จได้โดยการทำงานร่วมกัน โดยไม่มีอคติต่อกัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน ด้วยความรักความสามัคคี จากทุกภาคส่วน ทั้ง ท้องที่ ท้องถิ่น ศึกษา ศาสนา สาธารณสุข และภาคีต่างๆในชุมชน
นายอนุสรณ์ นาเวียง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กู่จาน 

ถือได้ว่า DHS นี้จะเป็นกลไกที่สำคัญ ในการขับเคลื่อน ระบบสุขภาพระดับอำเภอได้  
            พฤติกรรมวัยเรียนวัยรุ่น ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานที่เป็นระบบ โรงเรียนอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยลำพัง เพราะเกิดจากหลายปัจจัย ฉะนั้น การแก้ไขจึงต้องแก้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วน ทั้งระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน เฉกเช่นที่อำเภอคำเขื่อนแก้วของเรากำลังทำในขณะนี้
            ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน ข้อสังเกต การอบรมเด็ก อายุน้อยลง เด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ก็จะเป็นกลุ่มอายุ ที่น้อยลงไปตามกลุ่มที่อบรมเหล่านั้น ฉะนั้น การดำเนินงานต่างๆจึงต้องมีการประเมินผล เป็นต้น  
            กูบ่ย่านมานเด๊ หมอเพิ่นบอกเบิดแล้วว่า ถุงยางไปซื้อไส เฮ็ดจั่งได๋ สิบ่มาน
            ยืดอก พกถุง เด็ก จะภูมิใจ ที่ได้พก พกไปแล้ว เขาต้องหาทางไปใช้
                วิทยากร ที่สอนมีส่วนสำคัญ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
            ดร.คูณ วงษ์อนันต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนแคนน้อย หนองเลิง

เรื่องสุขภาพของเด็กในโรงเรียน ไม่ใช่ภาระ แต่ เป็นหน้าที่ ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
การบูรณาการขับเคลื่อนในการพัฒนา ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน จะขับเคลื่อน ผ่าน คณะกรรมการสถานศึกษา ที่ประกอบด้วยบุคคลในภาคส่วนต่างๆ หลักการสำคัญ คือ บวร บ้าน วัด โรงเรียน รพ.สต. บูรณาการ ผ่านการขับเคลื่อนของผู้นำองค์กร
นายวิชาญ สมยา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาหลู่  

สะอากาย เจริญวัย สะอาดใจ เจริญสุข
หน้าบ้าน น่ามอง ปราศจากลูกน้ำ ยุงลาย
ปลูกฝัง ตั้งแต่เด็ก ให้ดูแลสิ่งแวดล้อม 5 ห้อง ในครอบครัว เก็บที่นอน ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องครัว ห้องแต่งตัว ห้องทำงาน แล้ว นิสัยเหล่านี้จะติดตัวไปตลอดชีวิต
                พ่อสูงอายุตาบอด ดูแล ลุก ตาบอด อายุ 30 ปี อยู่ได้ ด้วย การช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในชุมชน 
 นายไพศาล เพชรอุบล ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอคำเขื่อนแก้ว
           
ปลัด อปท. เป็นผู้ซักผ้า คือเป็น แม่บ้าน ของ ตำบล บทบาทหลักคือ ถ้าหัวเดิน หางก็ต้องเดิน เพื่อ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์
สูงสุด มีหน้าที่จัดทำแผนสุขภาพชุมชน โดยใช้งบประมาณกองทุน สปสช. เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี เช่น โครงการจากรพ.สต. โครงการลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นต้น
            3 เรื่องหลัก ที่อยากเสนอเป็นวาระอำเภอ
คำเขื่อนแก้ว เมืองสะอาด อาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพประชาชน
ความสะอาด เริ่มจาก ครัวเรือนทุกครัวเรือน  และ ดูแลให้สะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย
อาหารปลอดภัย มีร้านค้า แนะนำ ที่สะอาด ปลอดภัยจริงๆ
การมส่วนร่วมด้านสุขภาพ   
นายเนรมิต สายสุด                         ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล กุดกุง  

หาก ปลัด อปท. เป็นผู้ซักผ้า คือเป็น แม่บ้าน ของ ตำบล กองคลัง คือผู้ตากผ้า เก็บผ้า อำนวยความสะดวก ด้านเอกสารและการเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อขับเคลื่อน อำเภอคำเขื่อนแก้ว ให้ บรรลุ 5 ดี ต่อไป

นางปุณยาพร แสงทอง ผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบล ดงแคนใหญ่ 

No comments:

Post a Comment