23ธค2558กระเป๋าหนังบ้านหนองหาบแห_ผลิตภัณฑ์จากกก บ้านโนม่วงตำบลกุดกุง_ศูนย์บริการเศรษฐกิจฐานราก_อำเภอคำเขื่อนแก้ว
วันที่ 23 ธันวาคม 2558 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง ได้รับมอบหมายจาก นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เข้าร่วมกิจกรรม
ให้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ
ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
อำเภอคำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
วาระเพื่อพิจารณา
การคัดเลือก กลุ่มอาชีพ และ หรือ ผู้ประกอบการ OTOP ใหม่ ประจำปี 2558
ที่ประชุมร่วมกัน เสนอ กลุ่มอาชีพ และ หรือ ผู้ประกอบการ OTOP ใหม่ ประจำปี 2558 ต่อที่ประชุม
เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 38,000 บาท สำหรับให้การสนับสนุน งบประมาณ ให้กับ
กลุ่มอาชีพ อย่างน้อย 2 กลุ่ม กลุ่มละ 18,000 บาท ดังนี้
กลุ่มที่ 1. กลุ่มผลิตกระเป๋าหนังสะพาย บ้านหนองหาบแห ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร
กลุ่มที่ 2. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกก บ้านโนนม่วง ตำบลกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร
มติที่ประชุม รับทราบและอนุมัติ
5 ก. OTOP ข้อเสนอแนะเพื่อความยั่งยืน
ให้คณะกรรมการกลุ่มและคณะทำงานร่วมกัน
สร้างความมั่นคงทางด้านอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชน ผ่านกลุ่มดังกล่าว ภายใต้หลัก
5 ก. OTOP ยั่งยืน
ก.1 กลุ่ม ต้องมีสมาชิกกลุ่ม
อย่างน้อย 15 คน
ก.2 กลุ่ม ต้องมีคณะกรรมการ
ก.3 กลุ่ม ต้องมี กองทุน
ก.4 กลุ่ม ต้องมี กติกา กฎ
ระเบียบ ของกลุ่ม
ก.5 กลุ่ม ต้องมี กิจกรรมของกลุ่ม
แผนปฏิบัติการประจำปี 2559
1. ส่งเสริมให้กลุ่ม ที่มีอยู่ 80 กลุ่ม มีโอกาสเสนอสินค้า ใน ช่องทางการจำหหน่ายในตลาดระดับอำเภอ 3 วัน ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์
2. สร้างความเข้มแข็ง ให้กลุ่มต่างๆ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ มาตรฐาน เช่น ได้มาตรฐาน อย. ได้รับเครื่องหมาย มอก. หรือตราเครื่องหมายรับรองคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นต้น
มติที่ประชุม รับทราบและอนุมัติ
ทั้งนี้เป็นการปฏิบิตราชการตามหนังสือ
ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่ ยส. ๐๓๑๙ / ว.๑๔๖๓ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
ความเป็นมา รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาโครงการที่เกิดจากศักยภาพของชุมชน
และก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน โดยการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น
และจังหวัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสมาชิกกลุ่มอาชีพ
กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
กองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ประจำหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน
และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพ
โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนองค์ความรู้การเข้าถึงแหล่งทุน
และพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ
กรมการพัฒนาชุมชน
ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง โดยมีเป้าประสงค์คือ
ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยใช้ กลยุทธ์ที่สำคัญคือ
บูรณาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อนโยบาย
จึงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
(ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) ขึ้นและในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
กรมการพัฒนาชุมชน
ได้เปลี่ยนชื่อศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ที่มีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” จากศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร
เป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” (
Operation Center )
ความหมาย ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
หมายถึง
ศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการและพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
โดยเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด
แหล่งความรู้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
และเป็นกลไกขับเคลื่อนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการแหล่งทุน
กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สำหรับการสร้างงานสร้างอาชีพ
และสร้างรายได้แก่ชุมชน เพื่อส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้าน
ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานรากด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมเชื่อมโยงการพัฒนาชุมชน
ระหว่างภาคีการพัฒนาในระดับอำเภอ
การให้บริการของศูนย์ฯ
หมายถึง การให้บริการตามภารกิจของศูนย์ฯอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
หรือทุกภารกิจแก่บุคคล/กลุ่มเป้าหมายที่ขอรับบริการของศูนย์ฯตามความต้องการของผู้รับบริการนั้น
ๆ ทั้งในเชิงรับ คือ ให้บริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ฯ และเชิงรุก
คือให้บริการเคลื่อนที่ ตามความต้องการของชุมชนและตามสถานการณ์เร่งด่วน
โดยการบริหารจัดการและให้บริการในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่าย OTOP แกนนำชุมชน ผู้เชี่ยวชาญปราชญ์ชาวบ้าน
ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีหน่วยงานภาครัฐ
วัตถุประสงค์
ทั้งนี้
ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำเภอคำเขื่อนแก้ว มี วัตถุประสงค์ ที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและ พัฒนากลุ่มอาชีพ
ที่มีพื้นฐานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้ ผู้ประกอบการ OTOP ในระดับอำเภอ
2. เพื่อบูรณาการ กองทุนชุมชนและความร่วมมือ
กับหน่วยงานภาคีในระดับอำเภอ ในการส่งเสริมความเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากระดับอำเภอ
3. เพื่อสร้างความั่นคงทางด้านอาชีพ
และรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน
ประโยชน์ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
๑. ประชาชน กลุ่ม องค์กร ในพื้นที่
มีแหล่งในการขอรับคำปรึกษา แนะนำ และศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ
สามารถนำไปใช้พัฒนาอาชีพและรายได้ให้ดีขึ้น
๒. เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจในระดับฐานราก
ทำให้ประชาชน
กลุ่มองค์กรที่มาขอรับบริการมีข้อมูลเพียงพอเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจประกอบอาชีพ
ทำให้ลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบ การตลาด ทุนดำเนินการ เป็นต้น
๓. เป็นสถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภูมิปัญญา
ฝีมือ ทักษะ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในระดับฐานราก อันเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน
กลุ่ม องค์กร เกิดการพัฒนาและเรียนรู้ให้เท่าทันสภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจตลอดเวลา
๔. เป็นเวทีให้ผู้นำชุมชน
มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
๕. เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
และการทำงานร่วมกันเกิดการพัฒนาการทำงานในรูปแบบเครือข่ายชุมชน
กับภาคีการพัฒนาภาครัฐ และภาคเอกชน
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากกศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
ได้แก่
๑. กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชน
๒. กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
๓. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๔. กองทุน กขคจ./กองทุนหมู่บ้าน
๕. กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ ในชุมชน
๖. ประชาชนในหมู่บ้าน/ตำบล
ผลิตภัณฑ์
OTOP อาทิเช่น
หมี่น้ำ
มีเฉพาะที่หล่ม คล้ายๆราดหน้า แต่ไม่เหนียวและข้นเท่า เกือบเหมือนกระเพาะปลา แต่มีเส้น
น้ำราด ประกอบด้วย
ผักกวางตุ้ง /หน่อไม้ซอย/หรือไม่ก็แขนงกะหล่ำ กระดูกอ่อน
/ซี่โครง/ก้อนเลือด/เท้าไก่ และโรย หมูสับ เวลาทาน ปรุงรสเหมือนก๋วยเตี๋ยว
20 ปีก่อน ถ้วยละ 5 บาท เดี๋ยวนี้ 15-20 บาท
No comments:
Post a Comment