12/9/15

24-26พย.2558_ยโสธร_บูรณาการแผนปฏิบัติราชการ_สาธารณสุข_The Bloom_เขาใหญ่

24-26พย.2558_ยโสธร_บูรณาการแผนปฏิบัติราชการ_สาธารณสุข_The Bloom_เขาใหญ่
              วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดแนวทางการกำกับ ติดตามและประเมินผล
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2559 ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะ บลูม บาย ทีวี พูล (The Bloom Hotel by TV Pool) อำเภอปากช่อง โคราช จังหวัดนครราชสีมา
ประธานการประชุมและมอบนโยบาย โดย นายแพทย์วันชัย เหล่าเสถียรกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ผู้เข้าประชุม ๑๕๐ คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและหัวหน้างานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และผู้แทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วัตถุประสงค์หลักคือ การจัดทำและบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2559 ของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร




































































              ในโอกาสนี้ นายแพทย์วันชัย เหล่าเสถียรกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าวเปิดงานความว่า
              จากคำกล่าวรายงานของนายแพทย์จักราวุธ  จุฑาสงฆ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานของทุกหน่วยงานและทุกระดับ จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  (Decision Making) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  (Implementation) การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์  (Benefits) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล  (Evaluation)
              ในส่วนของการกำกับ ติดตามและประเมินผลนั้น ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการคุณภาพ PDCA ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการปรับปรุงและพัฒนางานให้มีคุณภาพ ประกอบด้วย การวางแผน (Plan : P) การดำเนินการตามแผน   (Do : D) การตรวจสอบ (Check : C) และการปรับปรุงแก้ไข (Act : A)    
              การกำกับ ติดตามและประเมินผล เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการปฏิบัติ เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด และเพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ในหน่วยงาน ดังนั้นการกำกับ ติดตามและประเมินผล จึงถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนางาน เพราะวัฏจักรของการทำงานต้องการปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้งานดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
              ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีนั้น นอกจากการมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการวางแผนแล้ว  ในขั้นตอนของการกำกับ ติดตามและประเมินผล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติและผู้ทำหน้าที่กำกับ ติดตาม ประเมินผล ต้องมีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวชี้วัด การกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกัน
            สรุปรายละเอียดการประชุม ได้ ตามที่ นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร(นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน) ได้กล่าวรายงาน ดังนี้

            สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมกับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทาได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำและบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 255๙ จังหวัดยโสธร โดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ทั้งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  (Implementation) การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์  (Benefits) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล  (Evaluation) กิจกรรมดำเนินการที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรได้จัดประชุมรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี  การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำแผน แก่ผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อให้การจัดทำแผนปฎิบัติราชการประจำปี ๒๕๕๙ ของหน่วยงานสาธารณสุขของจังหวัดยโสธร ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล มีความสอดคล้อง เชื่อมโยงและสนับสนุนการปฏิบัติงานระหว่างกัน  การจัดประชุมในวันนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดแนวทางการกำกับ ติดตามและประเมินผล แผนปฏิบัติราชการประจำปี ๒๕๕๙ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และผู้กำกับ ติดตามและประเมินผลในระดับจังหวัด ได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวชี้วัด และกำหนดวิธีการประเมินผลร่วมกัน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด Program Manager และเลขานุการทุกคณะ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และผู้แทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมจำนวน  ๑๕๐  คน กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย ๑) การบรรยายเรื่องนโยบาย ทิศทางการควบคุมกำกับและประเมินผลการปฏิบัติราช ปี ๒๕๕๙  ๒) การคัดเลือกตัวชี้วัดเพื่อการควบคุม กำกับและติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ และ ๓) การแบ่งกลุ่มเพื่อพิจารณาและกำหนด  แนวทางการควบคุม กำกับ และติดตามประเมินผล ตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข

No comments:

Post a Comment