12/23/15

22ธค2558จาก3 ก้อนเส้า สู่เสา4ต้น_อ.น้ำเกลี้ยง_อ.คำเขื่อนแก้ว_แลกเปลี่ยน_กองทุน สปสช. ณ รพ.สต.แคนน้อย

22ธค2558จาก 3 ก้อนเส้า สู่เสา 4 ต้น_น้ำเกลี้ยง_คำเขื่อนแก้ว_แลกเปลี่ยน_กองทุน สปสช.

ณ รพ.สต.แคนน้อย

วันที่ 22ธันวาคม 2558  ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะกรรมการกองทุนตำบลแคนน้อย ร่วมต้อนรับ นายประวัติ ศรีสุวรรณ สาธารณสุขอำเภอน้ำเกลี้ยง นายอนุสรณ์ จันทสินทธิ์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอน้ำเกลี้ยงและคณะศึกษาดูงาน จาก อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
กิจกรรม การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ การบริหารงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
จาก 3 ก้อนเส้า สู่เสา 4 ต้น_ยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล
นำเสนอโดย นายสุกล กิจเกียรติ์ นายก องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย ในฐานะ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตำบลแคนน้อย ร่วมกับ นางมนัชยา กองทำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย ...            เป้าหมายสูงสุดการบริหารงานในภาพรวมทั้งตำบล จากทุกหน่วยงานทุกองค์กร คือ ประชาชนอยู่ดี มีสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตำบลแคนน้อย เป็นหนึ่ง ในเครื่องมือ หรือ กลไก การพัฒนาตำบลเพื่อให้บรรลุ ประชาชนอยู่ดี มีสุข  
ตำบลแคนน้อย บริหารภายใต้ยุทธศาสตร์ จาก 3 ก้อนเส้า สู่เสา 4 ต้น
เดิมยังไม่มีสถานีอนามัย สามก้อนเส้า ในการพัฒนาคือ บวร. บ้าน วัด โรงเรียน
ปัจจุบัน เสาที่สำคัญ คือ เพิ่มอีก ต้นหนึ่งที่สำคัญ คือ สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย  ฉะนั้น เสาสี่ต้น ในปัจจุบัน จึง ประกอบด้วย บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย โดย อบต.แคนน้อย อาสาทำหน้าที่ เป็น ขื่อ เป็น คาน เชื่อมประสานเสาสี่ต้นนี้เข้าด้วยกัน ให้เป็นบ้านเป็นเรือนที่มั่นคง  
กองทุนเรา ทำอะไรไม่ได้ ก็ปฏิบัติภายใต้ระเบียบกองทุน และ ผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนของเรา ...
















อำเภอคำเขื่อนแก้ว ขับเคลื่อนระบบสุขภาพพระดับอำเภอ โดย กลไกสุขภาพ
เริ่มจาก ตัว S แรก คือ Structure  จัดโครงสร้าง คณะกรรมการที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ ในทุกระดดับ ทั้ง ระดับอำเภอ (DHS)  ระดับ ตำบล(THS)   ระดับ หมู่บ้าน (VHS)  
            กลไกสุขภาพทุกระดับ ขับเคลื่อนร่วมกัน เริ่มจาก I ตัวที่ 1 Information โรคและภัยสุขภาพในเชิงระบาดวิทยา ปรึกษากลไกสุขภาพทุกระดับ แล้ว คืนข้อมูล ให้กับชุมชนหรือ ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ
เพื่อจัดทำแผนสุขภาพชุมชนร่วมกัน
            I ตัวที่ 2 คือ Integrate ภาคปฏิบัติคือ การมอบหมายให้ จนท.สาธารณสุข 1 คน รับผิชอบทุกงาน ใน 1 พื้นที่ แบบผสมผสาน เป็นเจ้าภาพดูแลรับผิดชอบทุกงานในพื้นที่นั้นๆเลย
I ตัวที่ 3 คือ Innovation ก็จะเกิดตามมาจากการปฏิบัติงาน ในแต่ละพื้นที่นั้นๆ
ส่วนที่กลไกสุขภาพจะร่วมกันขับเคลื่อน ในบทบาทหลักอีกประเด็นที่สำคัญ คือ การประเมินและควบคุมกำกับ หรือ M&E หากเราทำหน้าที่นี้ดีประโยชน์ก็จะตกสู่ประชาชน เช่น จาก Data Center เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน จังหวัดยโสธร ร้อยละ 80 ขึ้นไป แต่จากการสุ่มสำรวจของ คณะกรรมการระดับเขต
พบว่ามีผลงานเพียงร้อยละ 20 เป็นต้น
           

สุขภาวะ ภาวะที่สมบูรณ์ด้วย ความสุข ซึ่งประกอบด้วย สุขด้านกาย สุขด้านจิตใจ สุขด้านปัญญา          สุขด้านสังคม


ทั้งนี้ คณะศึกษาดูงานจากอำเภอน้ำเกลี้ยง ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ท้องถิ่นอำเภอ  ในฐานะที่ปรึกษากองทุน และผู้ประเมินระดับอำเภอ คณะกรรมการ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จากทุกตำบล ในเขต อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ อาทิเช่น นายก องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ปลัด อบต. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ใหญ่บ้าน รวม 45 คน

No comments:

Post a Comment