12/30/15

30ธค2558คำเขื่อนแก้ว_กำชับ ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์_ยโสธร_ศคร7อุบลฯ

30ธค2558คำเขื่อนแก้ว_กำชับ ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์_ยโสธร
วันที่ 30 ธันวาคม 2558  ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ออกปฏิบัติงาน ร่วมกับ คณะ จาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว ทีทำการปกครองอำเภอคำเขื่อนแก้ว และเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
๑.     กิจกรรม ออกตรวจให้คำแนะนำ ร้านค้า ผู้ประกอบการ เพื่อให้ดำเนินงานตาม ภายใต้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ในพื้นที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร   ให้คำแนะนำ ขอความร่วมมือไปยังส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง กวดขันและปฎิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ อย่างเคร่งครัด
2.   ขอบเขตการดำเนินงาน  ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ 3 ฉบับ ดังนี้
2.1  พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551
2.2  พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535
2.3  พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535
รายละเอียด ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม ที่ นี่




















โดยได้รับความร่วมมือด้วยดี จากผู้ประกอบการร้านค้า ด้วยดี
            ขอบพระคุณ ผู้ร่วมปฏิบัติงาน อาทิเช่น จาก สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค อุบลราชธานี
นส.เสาวลักษณ์ เห็มวัง  นายพฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน
นายธีรภัทร์ ปรีชาพิริยะกุล  นส.สุทธิดา แสนวงษ์  นายพัชรพงษ์ วงษ์สามารถ  
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางกชพร จันเสละ นางส่งศรีมูลสาร
สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว พ.ต.ท. มนูญ วงศ์ก่อ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
ร.ต.ท.นิวัฒ เหลืองแก่ รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
นางสาวดวงตา ราชอาษา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นางจิราภรณ์ ผลอ้อ เป็นต้น

            ทั้งนี้ รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน ลดละเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และกวดขันเข้มงวดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ และเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาครอบครัว รวมทั้งเป็นสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และเป็นตัวการหลักทำให้อายุเฉลี่ยคนไทยสั้นลง และเป็นสาเหตุก่อโรคต่างๆ กว่า ๖๐ โรค
โดยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จะพบการกระทำอันฝ่าฝืนพระราชพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ ได้แก่
๑) การจัดจำหน่ายกระเช้าของขวัญปีใหม่ที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม มีโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒) การจัดลานเบียร์ ซึ่งถือเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ายังฝ่าฝืนอีก ผู้ฝ่าฝืนยังมีโทษปรับอีกวันละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
๓) การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับบุคลอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๔) การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีการหรือในลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๕) การขายและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ในวัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาล ร้านขายยา สถานที่ราชการ หอพัก สถานศึกษา สถานีบริการเชื้อเพลิง สวนสาธารณะของทางราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน แอลกอฮอล์บนทาง (มาตรา ๒๗) มีโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖) การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกวัน หรือเวลาที่กำหนด โดยห้ามจำหน่ายสุราทุกชนิดในเวลาอื่น (นอกจากเวลาตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๔.๐๐ น. และตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. ถึงเวลา ๒๔ นาฬิกา) เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจ สำหรับนครหลวง กรุงเทพ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่น ๆ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


No comments:

Post a Comment