8/5/09

การวิพากย์ งานวิจัย : โดยคุณ มัทนา


วันที่ 05 สิงหาคม 2552 ประสานการเป็นเจ้าภาพร่วมในการทำบุญให้กับ สถานีอนามัยและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .) ใน อำเภอคำเขื่อนแก้ว ทราบ ซึ่งการทำบุญครั้งนี้ นายแพทย์ปราชญ์ บูญวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารระดับสูงจาก กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ จะมาทอดถวาย ที่วัดหนองใคร้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ในวันที 8 สิงหาคม 2552 นี้ ท่านวันชัย อุดมสิน ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานอำนวยการการจัดงาน โดยมี นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นเลขานุการผู้ประสานการทำบุญในครั้งนี้
ขออนุโมทนาสาธุการให้ผ็มีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพในการทำบุญครั้งนี้ จงมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป
ประสานการสนับสนุนงบประมาณสำหรับส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้พิการ จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่ อุบลราชธานี
ภาคบ่ายเข้าร่วมประชุมคณะพัฒนางานวิจัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุม พญาแถน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ประธานการประชุมโดย นางชฎาภรณ์ ชื่นตา หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร คณะนักวิจัยจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จาก ทุกอำเภอ ส่วน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มี นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ นส.ประกายรุ่ง จวนสาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลตำบลดงแคนใหญ่ และ
วันนี้ขอบคุณ น้อง ชลภัสสรณ์ วิวรรณพงศ์ จาก โรงพยาบาลยโสธร ที่ นำเสนอผลงานการวิจัย เป็นตัวอย่างให้กับพวกเราได้ ศึกษาร่วมกัน เรื่อง การใช้หมอนสามเหลี่ยมให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้กอดเอาไว้ ขณะที่พยาบาลดูดเสมหะ เพื่อลดความเจ็บปวด....เป็น งานวิจัย R to R ที่ดีมาก...ส่วน อีกท่านที่ขอขอบพระคุณคือ
คุณพัฒนา พงษ์สนิท นักวิชาการสาธารณสุขจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทรายมูล
ได้ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ แก่ที่ประชุม ประกอบการนำเสนอผลงานการวิจัย เพื่อให้ทีมงานได้เตรียมตัวเตรียมเอกสารให้พร้อม โดยยึดหลัก 7 R ในการ เตรียมตัวรับการวิพากย์ ของคณะกรรมการ คือ
7 R ในการวิพากย์งานวิจัย ประกอบด้วย
1. Research Idea
2. Research Problem
3. Research Question
4. Research Objective
5. Research Design
6. Research Framework
7. Research Title
ส่วนใครที่ทำเรื่องวิจัยเชิงคุณภาพ การวิพากย์ งานวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องที่นี่ คุณ มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขาเสนอไว้เป็นวิทยาทานให้กับทุกคน
http://gotoknow.org/blog/phddiary/96953
เรื่อง วิธีวิพากษ์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (1) เธอเขียนสรุปย่อๆได้ดังนี้
คนที่ไม่ได้ทำงานวิจัยด้านนี้ ไม่เคยเรียนด้านนี้มาเลยก็น่าจะได้ประโยชน์จากบันทึกนี้ค่ะ จุดประสงค์ของบันทึกนี้คือการทำหน้าที่เป็น "โพย" ค่ะ ผู้เขียนจะ list เป็นข้อๆไปว่า เวลาอ่านบทความวิจัยเชิงคุณภาพนั่นควรคิดถามอะไรตัวเองในใจไปด้วย บทความแบบไหนเป็นประโยชน์ (usefulness) แบบไหนน่าเชื่อถือ (credibility)
1. คำถามวิจัย/จุดประสงค์งานวิจัยฟังดูมีเหตุผล มากพอที่ควรจะเสียเวลาเสียทรัพยากรมาหาคำตอบหรือไม่ งานนี้เป็นการเติมเต็มให้ gap of knowledge ได้จริงหรือไม่นั่นเอง
2. คำถามแบบนี้เหมะสมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรึเปล่า
3. อธิบายว่าเป็นงานเชิงวิจัยประเภทไหน เช่น เป็น phenomenology, ethnography, case study, grounded theory, action research, participatory action research ฯลฯ (เอาวิธีมาผสมผสานกันก็ได้ค่ะ แถมแต่ละแบบก็มีโรงเรียนย่อยไปอีก เช่น traditional ethnography, interpretive ethnography เป็นต้น)
4. นักวิจัยมีีกรอบแนวคิดเบื้องหลังงานนี้อย่างไร บ้าง มีการแสดงออกอย่างชัดเจนในจุดยืนของเขาว่ามีความเชื่อเรื่อง epistemology อย่างไร เช่น เขาใช้แนวคิดแบบ post-postivisit หรือ critical theorist หรือ post-modernist นอกจากนั้นยังมีมุมมองในเรื่องนั่นๆอย่างไร ต้องประกาศออกมาให้ชัดเจน เช่น เป็น feminist ทำงานวิจัยเรื่องสิทธิสตรี หรือ เป็นหมอทำงานวิจัยเรื่องสิทธิของคนไข้ เป็นต้น คนอ่านจะได้รู้ว่านักวิจัยมาจากมุมมองไหน (เพราะงานวิจัยเชิงคุณภาพเชื่อว่า เราไม่มีทางกำจัด bias ได้ นักวิจัยทุกคนมี preconception ในเรื่องที่กำลังศึกษา เราไม่ควรเสแสร้งพยายามจะกำจัด bias แต่ควรประกาศให้รู้แต่เนิ่นๆไปเลยว่าคิดยังไง ให้คนอ่านวิพาษ์เอง)
5. มีวิธีเก็บข้อมูลกี่วิธี อะไรบ้าง (individual interview, focused group discussion, observation, document analysis ฯลฯ) ถ้ามีหลายวิธี นักวิจัยได้นำข้อมูลจากแต่ละแหล่ง แต่ละเวลามาเทียบกันหรือไม่ (triangulation) ถ้าใช่งานก็น่าเชื่อถือมากขึ้น (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่จุดประสงค์การวิจัยค่ะ บางกรณีแค่สัมภาษณ์คนเดียวแต่ได้ข้อมูลลึกซึ้ง นำมาเขียนเป็นอัตชีวประวัติก็มีประโยชน์มากมาย กว่างานวิจัยที่ส่งใบสอบถามหาคนเป็นพันๆได้)
6. มีเกณฑ์การเลือก สถานที่ เลือก participant หรือ เลือกกรณีศึกษา อย่างไร (เช่น snowball sampling, theoretical sampling, typical case sampling, extreme case sampling, opportunistic sampling ฯลฯ) ไม้ต้องมองหาว่า random sampling หรือ มีจำนวน subject สูงค่ะ แต่ต้องดูว่า ที่เลือกมาเนี่ยะเหมาะสมกับคำถามวิจัยหรือไม่ แล้วคนๆนั้น หรือ กรณีนั้นๆ หรือ องค์กรนั้นๆ มีข้อมูลที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหานั้นๆมากขึ้น ลึกซึ้งขึ้นหรือไม่
7. ถ้าใช้การสังเกตการณ์ (observation) ให้ดูว่าใช้วิธีไหน แบบมีส่วนร่วมหรือไม่มีหรือกึ่งๆ
8. การเก็บข้อมูลมี follow-up interview, member check หรือ participant validation ไม๊ คืิอ มีการเอาผลวิจัยขั้นต้นกลับไปให้ participant ดูหรือไม่ participant ได้มีโอกาสชี้แจ้งหรือวิจารณ์ผลหรือไม่
9. มีการจัดการกับข้อมูลอย่างไร
• 9.1 ถอดเทปแบบไหน เช่น ถอดคำต่อคำ ถอดแบบละเอียดยิบ คือ คนตอบหยุดเงียบไป ก็ให้บันทึกไว้ด้วย เราจะวิเคราะห์ได้ว่าคนตอบลังเล ในงานวิจัยด้านนิติศาสตร์ หรือ ภาษาศาสตร์ นั้นบางครั้งจำเป็นมาที่ต้องเก็บรายละเอียดเหล่านี้ไว้ให้หมด (ใน transcript จะใช้จุดๆ "......" 6 จุดแปลว่าหยุดเงียบไป 6 วินาทีเป็นต้น) แต่งานวิจัยโดยทั่วไปจะถอดเทปแบบ verbatim ค่ะ อย่างมากก็มีการบันทึก non-verbal gestures ด้วย
• 9.2 field note บันทึกอะไรไว้บ้าง
• 9.3 ข้อมูลที่เป็นความลับ เก็บไว้อย่างไร มีล็อค หรือมี keyword หรือไม่ เช่น ข้อมูลเรื่องชื่อคนที่เราสัมภาษณ์ถูกเก็บเป็นความลับหรือไม่ ถ้าเราให้ confidentiality แก่ participant มาก participant อาจเปิดใจคุยมากกว่า
10. งานนี้ผ่าน ethical approval หรือไม่ participants มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ เรื่องที่วิจัยsensitiveไม๊ เช่น การสัมภาษณ์คนไข้ที่โดนข่มขืนมา เราก็ต้องดูลึกลงไปว่าคำถามท่ี
่สัมภาษณ์ กระทบกระเทือนจิตใจคนไข้ไม๊ เป็นต้น ถ้างานนี้ผ่านคณะกรรมการด้าน ethic แล้วก็น่าเชื่อถือมากกว่างานที่ไม่กล่าวถึง ethic งานวิจัย
11. วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร (open coding หรือ framework coding) มีผู้วิเคราะห์กี่คน ใช้ computer software อะไรช่วยด้วยหรือไม่ แล้ววิเคระห์พวก deviant case ด้วยหรือไม (ถ้ามีจึงดี)่
12. การนำเสนอข้อมูลอย่างไร เป็น theme เป็น category เป็น model อ่านแล้วเข้าใจง่ายไม๊ make senseไม๊ มีlogical flowไม๊ ตอบคำถามวิจัยไม๊ ถ้าเป็นกรณีศึกษาก็ดูว่าบรรยายละเอียดไม๊ มีการบรรยายบริบทของงานหรือไม่ แล้วเป็นแค่การรายงานผลว่า participantพูดอะไร หรือเป็นการวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก (ยิ่งลึกยิ่งดี)
13. มีการเขียน implication for policy หรือ implication for practice หรือไม่ คนอ่านจะนำความรู้ไปใช้ต่อได้อย่างไร (transferability)
14. มีการวิพากษ์จุดอ่อนของตัวเอง
เหล่านี้คือตัวอย่างการวิจารณ์ค่ะ อาจมีไม่ครบทุกข้อก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ
15. ผลงานวิจัยนี้ทำประโยชน์อะไรให้แก่วงการ
รอติดตามภาค 2 ได้คะ ...

No comments:

Post a Comment