10/11/09

ปลัดสธ.นพ.ไพจิตร์ วราชิต ประกาศจะดูแลให้ความเป็นธรรมกับบุคลากรทุกสายงาน






วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2552 ปลัดสธ.นพ.ไพจิตร์ วราชิต ประกาศจะดูแลให้ความเป็นธรรมกับบุคลากรทุกสายงาน: เวลา 08.09 น. ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นางจำนรรจา บุญแจ้ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว นางอภิญญา บุญถูก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เพื่อเข้าร่วมประชุม เพื่อรับฟังยโยบายการปฏิบัติราชการ ของ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ ห้องประชุม ชั้น 5 โรงพยาบาลยโสธร ภูมิใจที่ทีมงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ของพวกเรา แม้วันนี้จะเป็นวันหยุดราชการ พวกเรามากันครบ ทุกแห่ง และร่วมลงทะเบียนเข้าห้องประชุมก่อนเพื่อน งานนี้ นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายแพทย์อดิเกียรติ เอี่ยมวรนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร นำทีมผู้บริหารการสาธารณสุข และ โรงพยาบาล ใน จังหวัด ยโสธร ร่วมต้อนรับ และรับฟังนโยบายจากท่าน ในโอกาสนี้ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 13 และ นพ.ธงชัย ไชยสิริยะสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 13 ได้ร่วมมอบช่อดอกไม้ แสดงความยินดี เนื่องในโอกาส ที่ได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ ผู้บริหารทุกคน ทีมงานสาธารณสุขอำเภอ ทีมงานผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ต่างได้ร่วมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีในครั้งนี้ด้วย...งานในวันนี้ถือเป็นงานใหญ่ งานแรก หลังการเข้ารับตำแหน่งของท่านอย่างเป็นทางการ เพราะภาคบ่ายวันนี้ ท่านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะได้นำทีมผู้บริหารการสาธารณสุข และ หัวหน้าสถานีอนามัยทุกแห่ง ร่วมต้อนรับ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ณ วิทยาลัยเทคนิค ยโสธร...
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประทับใจ แนวคิด นโยบายของท่าน ซึ่งขออนุญาต นำมาเผยแพร่บางตอนดังนี้...
“กระทรวงสาธารณสุข เป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุด ในการบริหารระบบราชการของ สำนักงาน กพ. มีข้าราชการ 180,000 กว่าคน ลูกจ้างประจำ 40,000 กว่าคน ลูกจ้างชั่วคราว 100,000 กว่าคน รวม 230,000 กว่าคน ...
เรื่องที่ 1 ด้านความรักความสามัคคี ...ผมมีข้อสังเกต ที่สำคัญ จากประสบการณ์ การรับราชการคือ จำนวนคนยิ่งมาก ความรัก ความสามัคคีกัน ยิ่งน้อยลง ตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคน และแต่ความความยุ่งยาก ซับซ้อน และความไม่เข้าใจกัน จะเพิ่มขึ้นทวีคูณขึ้น จากประสบการณ์รับราชการครั้งแรกที่ผมไปทำงานในโรงพยาบาลเล็กๆ มี เจ้าหน้าที่ รวมกันไม่ถึง 10 คน พวกเรา รัก สามัคคีกัน ทำงานด้วยความสุข เป็นภาพที่ประทับใจผมจนถึงปัจจุบัน... ทางแก้ปัญหา ที่ดี ที่สุด ในกรณี ที่เรามีความรัก ความสามัคคีกันน้อยลงคือ ต้องดูตนเองให้น้อยลง ดูคนอื่นให้มากขึ้น ...
เรื่องที่ 2 ด้านขวัญ กำลังใจที่ดีของบุคลากร ... ผมทำงานส่วนมากอยู่ในแวดวงของกรมวิชาการต่างๆ มีโอกาสได้ทำงานด้านการบริหารในภาพกว้าง ครั้งแรกในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงเมื่อปี 2543 และได้รับทราบข้อมูลประกอบการบริหารมากที่สุดเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ... ผมทราบว่า แนวทางที่จะแก้ปัญหา ให้กับพวกเรา ที่ดีที่สุด สิ่งสำคัญคือ ความเป็นธรรม ... และกระจายความสุข ให้ครอบคลุมและทั่วถึงกัน ในทุกกลุ่มวิชาชีพ...ผมจะพิจารณาทบทนว และพิจารณาค่าตอบแทนให้พวกเราได้รับกันอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม... เปรียบเหมือน มีผ้าห่ม อยู่ผืนเดียว นอนด้วยกัน 3 คน ในห้องแต่อากาศหนาวเย็นมาก... ถ้าคนที่แข็งแรงกว่า แย่งเอาผ้าห่มไปห่มคนเดียว...แล้วพูดว่า เมื่อคืนนี้นอนหลับด้วยความสุขมาก ...โดยลืมนึกถึงหัวอกของคนรอบข้างที่ต้องทนนอนหนาวตลอดคืน...หากเราเป็นคนแรก อาจจะมีความสุข ...แต่ถ้าวันใดที่เรา เป็น อีก 2 คนหลัง...จะเกิดความรู้สึกอีกความรู้สึกที่แตกต่างๆกัน..
เรื่องที่ 3 ด้านการทำงาน ... สิ่งที่สามารถเรียกศรัทธาและความร่วมมือจากประชาชนได้ดีที่สุดคือ ต้องทำให้คนอื่น หรือประชาชน เห็นว่า เราได้ทำ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ กับตัวเขา...ฉะนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่เป็นนโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ พวกเราต้องตระหนักเอาไว้ว่า ทำแล้ว ต้องให้ ประชาชนจับต้องได้ และประชาชนได้ประโยชน์ ...เรื่องนี้ ในส่วนกลาง จะมีการจัดตั้ง K Bank (Knowledge Bank)หรือ MK ( Muesium of Knowledge) ให้สามารถเป็นเวที ที่สามารถ่ายทอด ความรู้ เทคโนโลยี และดู ความดี ซึ่งกันและกันได้
เรื่องที่ 4 ภาพฝัน หรือ Ultimate Goal ของผม ... ด้วยความที่ผม เป็นคนไม่เก่ง ฉะนั้น ผมจึงต้องรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ จากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารงาน... ผมอยากจะเห็น พวกเราเดินไปด้วยกัน ทั้งกระทรวงสาธารณสุข และ ส. ทั้งหลาย อาทิ สปสช. สวรส. สสส . .. สิ่งที่ผมตระหนักอยู่เสมอ ในทุกที่ที่ผมทำงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนั้นคือ...กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้อะไร ไว้แก่ตัวผม และครอบครัวมากมาย...ทั้งเงินเดือน การศึกษาต่อ การฝึกอบรมดูงาน การศึกษาต่อ ทั้งใน และต่างประเทศ ชื่อเสียง ตำแหน่ง ฉะนั้น ในเวลาที่เหลืออยู่อีก 3 ปี ของชีวิตราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ความรัก ความสามัคคีกันที่ดีของพวกเรา... ผมจะทำแต่สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อตอบแทนบุญคุณ ของ กระทรวงสาธารณสุข หลังจากนั้น นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้มอบ พระพุทธบุษยรัตน์ เป็นที่ระลึกเพื่อเป็นสิริมงคล ให้กับ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง พระพุทธบุษยรัตน์หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง ซึ่ง เป็นพระพุทธรูป ปางสมาธิเป็นศิลปะสมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙ นิ้วเป็นพระบูชาคู่บ้านคู่ เมืองของยโสธร ที่พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้า ฯ พระราช ทาน ให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธร คนแรก ...

No comments:

Post a Comment