วันที่ 2 มีนาคม 2555 ยโสธร:สรุปผลการตรวจราชการสาธารณสุขเขต13ครั้ง1/2555
ภาคเช้าผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วม รับฟัง การสรุปผลการการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ จากผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 13 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2555
ซึ่ง นายแพทย์บุญชัย ธีระกาญจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร และ นายแพทย์จรัญ ทองทับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมรับรับฟังและให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลยโสธร ประธานการสรุปผลการตรวจราชการ โดย นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ ผู้ตรวจ ราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 13
ซึ่งครอบคลุมหัวข้อสรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานในประเด็น ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานและกระบวนการแก้ปัญหาของจังหวัดยโสธร
2. จุดเดนที่น่าชื่นชมของจังหวัดยโสธรเพื่อขยายผลให้จังหวัดอื่นดำเนินการ
3. จุดด้อย และโอกาสในการพัฒนา OFI: Opportunity for Improvement
4. ปัญหา หรือเรื่องที่ ต้องการให้ผู้ตรวจราชการติดต่อประสานงานกับส่วนกลางหรือการแก้ไขในระดับนโยบาย
ทีมที่ ๑ ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ หัวหน้างานตรวจราชการ ผู้นิเทศงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการแบบบูรณาการ และคณะที่ ๑ การติดตามนโยบายและปัญหาเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข
ทีมที่ ๒ ประกอบด้วย ผู้นิเทศงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ คณะที่ ๒ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ คณะที่ ๓ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
และคณะที่ ๔ การบรหารจัดการระบบสุขภาพ
ผลสำเร็จ หรือค่าตัวเลขที่ใช้ในการติดตามงานจากการตรวจราชการครั้งนี้ อาทิเช่น
คณะที่ ๑ : การติดตามนโยบายและปัญหาเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข
ผลสำเร็จ หรือค่าตัวเลขที่ใช้ในการติดตาม
๑. ร้อยละ ๖๐ ของหน่วยบริการปฐมภูมิเขตเมือง (ศูนย์สุขภาพชุมชน เมือง) และเขตชนบทผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ๖ ข้อ ตามนโยบายการพัฒนา
๒. รพ.สต.ขนาดใหญ่ในชุมชน และ ในเขตเมือง ผ่านเกณฑ์ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างน้อยร้อยละ 10 อยู่ในระดับดีมากขึ้นไป
3.ทุกจังหวัดมีระบบที่ดีแก้ปัญหาได้ครบวงจรและมีความคืบหน้าตลอดเวลา(CQI) โดยใช้ตัวเลขทางคลินิกในข้อ3 เป็นฐานเปรียบเทียบความก้าวหน้าของงาน
๔. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มากกว่าร้อยละ ๕๐ ได้รับการรักษาด้วยการเปิดเส้นเลือดด้วยการให้ยา Streptokinase หรือได้รับการส่งต่อ ทำบอลลูนขยายเส้นเลือด และมีการพัฒนา CCU Stoke Unit ใน รพศ.ของเขตบริการ
๕. ร้อยละของสตรีอายุ ๓๐–๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap Smear/VIA (ข้อมูลสะสม)
-ร้อยละ ๖๐ สตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับ การตรวจมะเร็งปากมดลูก (สะสมรวม) และ ทุกรายที่มีผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาและ ส่งต่อ
๖. มีระบบตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้โดยมีผลการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมเมื่อเวลาผ่านไปอย่างน้อยดังนี้
- ทุกจังหวัดมีการประชุมร่วมกันระดับจังหวัดในการจัดทำแผนรองรับภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ รวมทั้งโรคระบาด อย่างเป็นระบบ อย่างน้อยปีละ ๔ ครั้งเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและอย่างน้อยร้อยละ 90 ของสถานบริการมีระบบสั่งการ และจัดการที่ดี
- ยามปกติผู้ป่วยภาวะวิกฤติฉุกเฉินที่เป็นสีแดงมารพ.ด้วยระบบ EMS ของจังหวัดมากกว่าร้อยละ๑๕ ในปี ๒๕๕๕ และดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
- ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับตติยภูมิ ในภาวะภัยพิบัติ ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ อย่างน้อยเขตตรวจราชการละ ๑ ทีม
คณะที่ 2 : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ
ปัญหาการปฏิเสธการส่งต่อผู้ป่วยในปี 2555 ลดลงกว่าปี 2554 โดยเฉพาะการส่งต่อผู้ป่วยข้ามเขต
ระบบข้อมูลการส่งต่อทั้งในส่วนของข้อมูลผู้ป่วย และข้อมูลการดำเนินงานของ ศสต. สามารถใช้ประโยชน์ได้ในระดับจังหวัด เขต และส่วนกลาง
จังหวัดสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริการของ รพ. โดยเทียบเคียงกับค่าเฉลี่ยในกลุ่มเดียวกัน และมีการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อน
จังหวัดสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริการพื้นฐานด้านส่งเสริมป้องกัน และมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความครอบคลุมมากขึ้น
จังหวัดมีรูปแบบการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพในโรงพยาบาลและชุมชน เป็นตัวอย่าง 1 อำเภอ
คณะที่ 3 การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
พัฒนาศักยภาพทีม SRRT เพื่ออำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดย
1. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติถอดบทเรียนการเฝ้าระวังเหตุการณ์ของทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล โดยการสุ่มคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รพสต อปท อสม อำเภอ จังหวัด เขต แห่งละ 1-2 คน
2. การอบรมระบาดวิทยาสำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก ผู้อบรมเบิกจ่ายจากต้นสังกัด
3. การอบรมระบาดวิทยาก่อนปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาระดับเขตและจังหวัดที่ปฏิบัติงานใหม่
4. นิเทศ ติดตาม ประเมินผลทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล โดยสุ่มตรวจรพสต บางแห่ง
5. โอนเงินสนับสนุนจังหวัดดำเนินการอบรมหลักสูตร SRRT ระดับตำบล
6 จัดการประกวด เชิดชูและให้รางวัล
- มีการสนับสนุนงบประมาณให้แก่จังหวัดพื้นที่สีแดง
- มีข้อมูลผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จรายจังหวัดเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงอัตราการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- มีการทอดองค์ความรู้ของพื้นที่ที่ได้ดำเนินการ เพื่อได้วิเคราะห์ตนเอง และป้องกันได้ตามบริบท
- การพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากรเครือข่าย
- มีมาตรฐานการบริการผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายระดับ รพศ./รพท./รพช.
-ชุดความรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและการดูแลรักษาผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่ผลิตโดยกรมสุขภาพจิต
-สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ต่างๆและรับข้อแนะนำเพิ่มเติมได้ทาง www.suicidethai.com , www.dmh.or.th
1.โครงการตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว
1.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ตำบลนมแม่ฯ จัดโดยศูนย์อนามัยเขต1-12
1.2 มีคู่มือตำบลนมแม่ฯ ตัวอย่างVDO ผลงานและรายงานผลการดำเนินงานตำบลนมแม่ของ 5 ตำบล
2.โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
2.1 ประกาศเกียรติคุณโรงพยาบาลสายใยรักระดับทองและสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กครั้งที่ 4
2.2 โปรมแกรมประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายใยรักแห่งครอบครัว
2.3 โปรมแกรมประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
2.4 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ในบริบทประเทศไทยและคลินิกเด็กดีคุณภาพ
2.5 การประเมินและรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวและโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายใยรักแห่งครอบครัว
2.6 โล่โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทองใหม่และประกาศเกียรติคุณโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวที่ผ่านการประเมินซ้ำ
2.7 โล่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายใยรักแห่งครอบครัว
๑.พัฒนาบุคลากร
-อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร “การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)(ครู ก.)
- ศูนย์อนามัยเขต (ครู ก.) จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีวิชาการแก่ผู้เกี่ยวข้อง ระดับจังหวัด ท้องถิ่น (ครู ข.)
๒.พัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐานด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
๓.ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสนับสนุนการดำเนินงาน
๔.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว(LTC)...กับท้องถิ่นเข้มแข็ง..ประชาชนแข็งแรง”
๕.นิเทศติดตามประเมินผล
ข้อ 5) และ 6) อย. สนับสนุนงบประมาณค่าตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน และก๋วยเตี๋ยว โดยเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๑. คู่มือการปฏิบัติงาน(SOP) และแบบรายงานการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการ ๒. (ร่าง) พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๓. งบประมาณสำหรับดำเนินการสำรวจ/ตรวจประเมินมาตรฐาน/ส่งเสริมพัฒนาสถานประกอบการและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๔. การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรงานธุรกิจบริการสุขภาพส่วนภูมิภาค ๕. การประชุม สัมมนาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์งานธุรกิจบริการสุขภาพ
1.ส่งเสริมการผลิตและการกระจายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักอย่างเพียงพอ
2.จัดอบรมและมีคู่มือการใช้ยาสมุนไพร
3.สนับสนุนโปรแกรมที่จะวิเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยบริการในพื้นที่
คณะที่ ๔ การบริหารจัดการระบบสุขภาพ
๐๔๐๑ ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการการเงินการคลังระดับจังหวัด (Health Care Financing)
ระดับความสำเร็จ ๕ ระดับ
ระดับที่ ๑ มี process รองรับ ที่สอดคล้องกับการดำเนินการในหน่วยบริการที่มี FAI
ระดับที่ ๒ มี insight ระบุปัญหาที่สำคัญพื้นที่ชัดเจนสอดคล้องนโยบายโดยลำดับสำคัญ
ระดับที่ ๓ มีกระบวนการแก้ปัญหาและรูปแบบการแก้ปัญหาที่ชัดเจนในประเด็นนั้นๆ
ระดับที่ ๔ มีการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง และมีรายงานผลตามระยะทุกไตรมาส
ระดับที่ ๕ มีหลักฐานที่ประเมินได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ยอมรับได้
๐๔๐๒ ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดทำแผนกำลังคนสาธารณสุข
ระดับความสำเร็จ ๕ ระดับ
ระดับที่ ๑ แต่งตั้งคณะกรรมการวางแผนกำลังคนระดับจังหวัดที่มีองค์ประกอบทั้ง ๒ แผน โดย คณะกรรมการจะต้องมีบุคคลในทุกระดับสถานบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านกำลังคนของหน่วยงานระดับจังหวัดในภาพรวมในประเด็นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและการพัฒนากำลังคน สาขา วิชาชีพต่างๆ
ระดับที่ ๒ จัดทำแผนกำลังคน เพื่อรองรับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ระดับที่ ๓ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับสมรรถนะในระดับจังหวัด เป็นแผนระยะสั้น แผน๑ ปี (ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕) และแผน ๓ ปี (๒๕๕๖-๒๕๕๘)
ระดับที่ ๔ มีการดำเนินการตามแผนกำลังคนสาธารณสุข ทั้ง ๒ แผน สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
ระดับที่ ๕ ติดตาม กำกับ และประเมินผลการดำเนินการตามแผน และรายงานผล
๐๔๐๖ ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ระดับความสำเร็จ ๕ ระดับ
ระดับที่ ๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ระดับจังหวัด และมีการจัดทำแผนงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ระดับที่ ๒ มีการกำหนดหัวข้อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของจังหวัดและเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) ระดับที่ ๓ มีการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายหรือเป็นนวัตกรรมและมีกระบวนการติดตามให้สอดคล้องตามแผนที่กำหนด
ระดับที่ ๔ มีตัวอย่าง/ผลงานการสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม
ระดับที่ ๕ มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงาน / ตัวอย่างทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
ได้รับคำแนะนำด้วยดีรวมทั้งสิ่งที่เป็น OFI: Opportunity for Improvement จากคณะตรวจราชการคณะต่างๆด้วยดี ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์วิชาการสาธารณสุขต่างๆ จากทุกกรม และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
งานที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายคือ Pap smear เพราะเป้าหมายสูงมาก ถึงร้อยละ 80 ยโสธร ทำได้ ร้อยละ 43
ผู้บริหารที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการ กวป.ยโสธร และคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลยโสธร
เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ภก.องอาจ แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางอรวรรณ ยืนยง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายมงคล สุทธิอาคาร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
แพทย์หญิง ดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
นายแพทย์ยุทธชัย ตริสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลยโสธร
นางประชุมสุข โคตรพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลยโสธร
นายเสรี ผู้เจริญวิบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงพยาบาลยโสธร
แพทย์หญิงธิดา ยุคันตวรานันท์ หัวหน้ากลุ่มสิทธิประโยชน์โรงพยาบาลยโสธร
สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น
No comments:
Post a Comment