3/21/12

นโยบายรพ.สต.55:1,000 แรก 1,000 โอกาส 1,000 ความสำเร็จ
















วันที่ 17 มีนาคม 2555: นโยบายรพ.สต.55:1,000 แรก 1,000 โอกาส 1,000 ความสำเร็จ
ปกติวันนี้เป็น หยุดราชการวันเสาร์ แต่ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เดินทางไป พร้อมกับ นายสุรินันท์ จักรวรรณพร ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อเข้าร่วมประชุม การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายปฐมภูมิของกระทรวงสาธารณสุขณ โรงแรม พลอยพาเลซ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ประธานโดย นายแพทย์ วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขของพวกเรา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
กล่าวรายงาน โดย นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายปฐมภูมิของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2555 นี้ ดำเนินการใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ขนาดใหญ่ จำนวน 1,000 แห่งและ ศสม.ขนาดใหญ่ 228 แห่ง รวมจำนวน 1,228 แห่งก่อน ( รพ.สต.) ขนาดใหญ่ คือ มีประชากร มากกว่า 8,000 คนขึ้นไป หรือ ที่ เรียกง่ายๆว่า เป็น 1,000 แรก 1,000 โอกาส 1,000 ความสำเร็จ
การสาธารณสุขปฐมภูมิของเราจะเข้มแข็งได้ การมองอดีต ดูปัจจุบัน เพื่อสร้างฝันในอนาคตของเราให้เป็นจริง นั้น เป็นสิ่งสำคัญ ขอบพระคุณ รุ่นพี่ๆของเรา ทุกๆยุค ทุกๆสมัย ที่ได้ร่วมกัน บุกเบิกให้พวกเรา หลายๆ ท่าน เช่น นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์อมร นนทสุต ผู้บุกเบิกและผลักดันระบบงานปฐมภูมิของประเทศไทย นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้บุกเบิกและผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ล่าสุด นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ท่านนี้ เพราะการสาธารณสุขระดับ ปฐมภูมิ ในปัจจุบัน ท่านนายแพทย์นิทัศน์ เป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด ท่านคลุกคลี อยู่กับ มาโดยตลอด ... นายแพทย์ วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
โดยส่วนตัวผมแล้ว อยากจะเพิ่มเติม เข้าไปอีก สักท่อนว่า .. ด้วยการที่ ท่านนายแพทย์นิทัศน์ รายยวา ท่านได้ให้ความสำคัญ และ ใส่ใจ กับการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ขอให้อานิสงส์ การทำคุณงามความดีที่ยิ่งใหญ่ ต่อ คนไทย ของพวกเราทุกคน ส่งผลให้ท่านเจริญ ก้าวหน้า จนถึง ได้รับตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในอนาคตครับ
ความเข้าใจร่วมกัน คำว่าการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ มีหน่วยบริการ ที่สำคัญ ตามนโยบายนี้ 2 ส่วนคือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) หรือ สถานีอนามัยเดิม กับ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) ซึ่ง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) ส่วนใหญ่ อยู่ในการบริหารจัดการของ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาล ทั่วไป หรือ โรงพยาบาลชุมชน แต่ให้มีการจัดโครงสร้างบุคคล และ การบริการ เช่นเดียวกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.)

Service Plan Concept
การบริหารร่วมในแบบเครือข่ายบริการเปลี่ยนมุมมองด้าน GIS เป็นภาพรวมของ พวงบริการ ตามการจัดโครงสร้างระบบบริการสาธารณสุข 
1  Seamless health service network
2  Provincial health service network
3  Referral hospital cascade
Service Plan Concept คือ มีแผนการทำ  งานที่ป็นรูปธรรมในการให้บริการ

1  Seamless health service network
เชื่อมโยงบริการ3 ระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ) ตามสภาพ
ภูมิศาสตร์ และคมนาคม แบ่งออกเป็น 12 พวงบริการ โดยแต่ละพวงบริการ
ครอบคลุม 4-8 จังหวัด ปชก 4-6 ล้าน
คน มีกรรมการบริหารเครือข่าย 1 ชุด ภาคกลาง 3 เครือข่าย
ภาคใต้ 2 เครือข่าย ภาคอีสาน 4 เครือข่าย
ภาคเหนือ 3 เครือข่าย
2  Provincial health service network
- สามารถรองรับการส่งต่อตามมาตรฐานระดับจังหวัดได้อย่าง
สมบรูณ์อย่างน้อย 1 เครือข่าย
-    รพท.เป็ นแม่ข่าย รับผิดชอบการ จัดบริการของ รพช.และCUP
- Refer นอกเครือข่ายเท่าที่จ าเป็ น
- บริหารในรูปแบบกรรมการ
3          Referral hospital cascade ตามโครงสร้างระบบบริการสุขภาพ 6 ระดับ
Hight Level มี 2 ประเภทคือ Aและ S
A advance     
S standard (รพท.)
M1        mid level 1(รพท.ขนาดเล็ก)
M2        mid level 2(รพช.ขนาดใหญ่ รพช.แม่ข่าย>120 เตียง)
F1-3      first level (เครือข่ายบริการทุติยภูมิ)
            F1 รพช. ขนาดเล็ก 10-30 เตียง
            F2 รพช. ขนาดกลาง30-90 เตียง
            F3 รพช. ขนาดใหญ่ 90-120 เตียง
P1-3      primary(เครือข่ายบริการปฐมภูมิ)
            รพ.สต. ลูกข่าย
            รพ.สต. แม่ข่าย
            รพ.สต. แม่ข่าย เขตเมือง (ศสม.)

 แขกผู้มีเกียรติอื่นๆ ที่เข้าร่วมงาน อาทิเช่น
ดร.นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 11
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
นายบุญยืน คำหงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
นายแพย์บุญชัย ธีระกาญจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วิทยากร อื่นๆ อาทิเช่น เรื่อง โครงสร้างของราชการบริหารสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค โดยนายชุมพล สมร่าง ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล เป็นต้น โทร. 0814504872
นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา e-mail:drnitas@hotmail.com
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประทับใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดีและมี ประโยชน์ ของทุกเขต ทั้ง เขต 10 เขต11 เขต12 เขต13 และเขต14 โดยเฉพาะ เขตที่เป็นต้นแบบที่ดี ของการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ ของเรา คือ ผมชื่นชม เขต 10 ครับ (อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ) นำเสนอ โดย ท่านปรีดาศักดิ์ หนูแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ และ แพทย์หญิงนภัส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเซกา
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประทับใจ การบรรยายและการตอบข้อซักถาม ของ นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และวิทยากรที่เกี่ยวข้อง จาก เวทีนี้ จึงขอ อนุญาต นำมาลงบันทึกไว้เพื่อเป็นการเตือนความทรงจำที่ดีร่วมกัน เอาไว้ เป็นตัวเลข ให้จดจำง่ายๆ ใน นโยบาย การพัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
( รพ.สต.) ปี 2555 เป็นตัวเลข 12345 56789 ดังนี้
ตัวเลข 1 คือ 1 แพทย์ 1 รพ.สต. หรือ 1 ที่ปรึกษา 1 รพ.สต.
ตัวเลข 2 คือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ของเรา ต้องทำหน้าที่ 2 ตำแหน่งคือ หน้าที่เดิม และ หน้าที่ เป็น นักสุขภาพครอบครัว หรือ นสค. ที่แบ่งกันรับผิดชอบประชาชนชัดเจน 1:1,250 คน หรือ ประมาณ 1-2 หมู่บ้าน
ตัวเลข 3 คือ ด้านขวัญ กำลังใจ ของ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ทั้ง 3 กลุ่ม ต้องได้รับการดูแล และเอาใจใส่ * รายละเอียดด้านล่าง
ตัวเลข 4 คือ ใน รพ.สต. ต้องจัดให้มี Clinic 4 Clinic ประกอบด้วย Clinic ดูแลเด็ก Clinic ดูแลหญิงมีครรภ์ Clinic ดูแลผู้สูงอายุ และClinic ดูแลฟื้นฟูผู้พิการ
ตัวเลข 5 คือ กลุ่มเป้าหมายประชากร รายบุคคล ที่ต้องดูแล ของ นสค. ทั้ง 5 กลุ่ม ที่เรียกง่ายๆว่า CANDO
กลุ่มเด็กChild กลุ่มวัรุ่นAdolescent กลุ่มNCD กลุ่มผู้พิการDisable กลุ่มผู้สูงอายุ Old
ตัวเลข 5 ตัวที่ 2 คือ ทักษะที่ต้องมีและต้องใช้ ของ นสค. หรือ ทักษะ 5 ด้าน จำง่ายๆว่า เป็น PCESB
ทักษะที่ 1 ด้านเวชปฏิบัติ Practice ทักษะที่ 2ด้านการให้คำปรึกษา Consult
ทักษะที่ 3 ด้านระบาดวิทยา Epidemiology ทักษะที่ 4 ด้านการจัดทำแผนงานและยุทธศาสตร์ Strategy
ทักษะที่ 5 ด้าน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Behavior Change
ตัวเลข 6 คือ 6 Blocks for Health หรือ SYSTEM BUILDIND 6 BLOCKS
ซึ่งประกอบด้วย 6 เรื่อง ที่เป็นเป็นจัยนำเข้า สำคัญสำหรับการสร้างสุขภาพ ให้ คนไทยมีคุณภาพดีวิถีชีวิตไทย เป็นตัว จำง่ายๆ ว่า GF SMIT
G : Governance ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล Leadership Governance
F : Financing ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
S : Service Delivery ระบบบริการ
M : กำลังคนด้านสุขภาพ Man:Health Workforce
I : Health Information Systems ระบบข้อมูลข่าวสาร
T : เทคโนโลยีทางการแพทย์ Access To Essential Technology Medicines
ตัวเลข7 คือ ปลูกสร้างระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวม ใน 7 หัวข้อ
จำง่ายๆ ว่า ปลูกสร้างระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวม ของพวงบริการ โดย SPERM IN
S: Service คุณภาพระบบบริการ เป้าหมายคือมาตรฐานสาธารณสุข Safety Standard Speed
P: Primary care พัฒนาระบบบริการ ปฐมภูมิเป้าหมายคือสุขภาพสุดสะดวก Convenient Care
E: Excellent Centerพัฒนาการแพทย์สู่ความเป็นเลิศศูนย์อุบัติเหตุหัวใจ ไต มะเร็ง ทารก Super Essential Care
R: Referral System เป้าหมายคือรวมเป็นหนึ่งไร้รอยต่อ Seamless Referral System
M: Management หลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพ Super UC Management
I: Integration บูรณาการระบบสุขภาพ Integration Health Care Management
N: Network พัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยง Area Health Team Network
มีที่มามาจาก 7 หัวข้อการสร้างระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ ทั้งเครือข่าย หรือ ที่รู้จักกันดีว่า พวงบริการ คือ
1. พัฒนาระบบส่งต่อ Seamless Referral System เป้าหมายคือรวมเป็นหนึ่งไร้รอยต่อ MOPH Team
2. พัฒนาระบบบริการ ปฐมภูมิสมบูรณ์ Primary care เป้าหมายคือสุขภาพสุดสะดวก Convenient Care
3. พัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยง Area Health Team Network เป้าหมายคือเครือข่ายเชื่อมโยง Network
4. พัฒนาการแพทย์สู่ความเป็นเลิศ Super Excellent Center เป้าหมายคือศูนย์อุบัติเหตุหัวใจ ไต มะเร็ง ทารก Super Essential Care
5. คุณภาพระบบบริการ Quality Service เป้าหมายคือมาตรฐานสาธารณสุข Safety Standard Speed
6. หลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพ Super UC Management เป้าหมายคือบัตรทองยุคทอง Satisfaction คือ Purchaser-Coverage Custom
7. บูรณาการระบบสุขภาพ Integration Health Care Management เป้าหมายคือสสค.-สสจ.-สสอ.-รพช.-รพ.สต Area Health Board ร่วมกันจัดการ (คณะกรรมการระดับ ค/จ/อ/ต)
ตัวเลข8 คือ ความก้าวหน้าของพวกเรา* จะก้าวถึง ระดับ 8 จพ.ต่างๆ ปัจจุบัน ที่ ก้าวหน้า ถึง เพียงระดับ 6 จะ มีโอกาส ก้าวหน้าถึงระดับ 7 ส่วน นักวิชาการสาธารณสุข และ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปัจจุบัน ถูกจำกัดความเติบโตไว้ที่ระดับ 7 ชำนาญการ จะ มีโอกาส ก้าวหน้าถึงระดับ 8 ชำนาญการพิเศษ (รายละเอียดด้านล่าง)
ตัวเลข 9 คือ KPI บอกความสำเร็จ ของ รพ.สต. หรือ ศสม. 9 ข้อ
ตามความคิดของผมตัวเลข 9 นี้ คือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นงานที่พวกเราต้องช่วยกันทำ ให้ประสบผลสำเร็จ จึงจะนำมาซึ่ง สิ่งที่พวกเราต้องการสนับสนุนในด้านต่างๆ ทั้ง 4 m 5 M ของเรา
ตัวเลข 9 ประกอบด้วยอะไรบ้าง จำง่ายๆ คือ COPD Lab HOT
COPD ไม่ใช่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease แต่เป็นตัวย่อ เพื่อให้ KPI จำง่ายๆ เท่านั้นเอง
C : Connection จนท.รู้สภาวะประชาชน ตามGIS ใช้ตัว Connection กับเครือข่ายอื่นๆได้ เป็นตัวประเมิน
O : POD อัตราส่วนการใช้บริการผู้ป่วยนอก เทียบกับ รพ.แม่ข่าย มากกว่า 60:40
P : PP บริการหลัก ของ รพ.สต. คือ สร้าง นำ ซ่อม Prevention: Health Promotion
D : สิ่ง ดีดี หรือสวัสD ที่วัดคือ ประชาชนที่ต้องการดูแลพิเศษ ร้อยละ 80 ได้รับการเยี่ยมบ้าน
Lab : Laboratory มีระบบตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคเบื้องต้น หรือ มีระบบการส่ง ต่อสำหรับสิ่งส่งตรวจไปยัง โรงพยาบาลแม่ข่าย
H: ร้อยละผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการลงทะเบียนที่ รพ.สต./ศสม. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
O : OSM ร้อยละ 60 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้แบบเฝ้าระวังสุขภาพเป็นเครื่องมือ และมี อสม . เป็นพี่เลี่ยง
T: ร้อยละผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลแม่ข่าย ที่ส่งกลับ ไปรับการดูแล ที่ รพ.สต./ศสม. เพิ่มขึ้น
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ทั้ง 3 กลุ่ม ต้องได้รับการดูแล และเอาใจใส่ *
ในบรรดา 5 M Man Money Material Management สำคัญที่สุด คือ Moral ขวัญ กำลังใจ คนทำงานปฐมภูมิ ผอ.รพ.สต. ต้อง มีขวัญ กำลังใจที่ดี และมีความเจริญก้าวหน้า ในตำแหน่งหน้าที่
กลุ่มที่ 1 ลูกจ้างชั่วคราว ในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ทุกคน ต้องการ ที่จะได้รับการบรรจุ เป็นข้าราชการ หรือ บรรจุเป็น พนักงานราชการสาธารณสุข ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังประสาน ขอกับ กพ. เพื่อ ขอบรรจุ ประมาณ 30,000 ตำแหน่ง เริ่มจากการบรรจุ นักเรียนทุน ทุกตำแหน่งให้ครบก่อน แล้ว ขยายไปสู่ตำแหน่งอื่นๆต่อไป
กลุ่มที่ 2 พนักงานราชการ ก้เช่นเดียวกันกับ ลูกจ้าง
กลุ่มที่ 3 ข้าราชการ คนที่ ทำงาน ใน ระบบปฐมภูมิ ต้องเจริญก้าวหน้าถึงชำนาญการพิเศษ ในไม่ช้า แต่ก่อนนั้น สาธารณสุขอำเภอ ต้องได้ ชำนาญการพิเศษ ทุกตำแหน่ง แล้วตำแหน่งอื่นๆ จะตามมา
สาธารณสุขอำเภอ ชำนาญการพิเศษ นั้น กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ชมรมสาธารสุขแห่งประเทศไทย กำลังประสานไปยัง กพ. ซึ่ง จะตอบกลับ ประมาณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 นี้ อีกไม่นาน ก็จะถึงคิว ผอ.รพ.สต. ขนาดใหญ่ 1,000 แห่ง และ ชุดต่อไป อีก 5,000 แห่ง และ สุดท้ายก็ เป็นชำนาญการพิเศษ ครบทุกตำแหน่ง
พยาบาลวิชาชีพ ใน รพ.ชุมชน ต้องได้ ชำนาญการพิเศษ เริ่มจาก หัวหน้า แผนกต่างๆ ก่อน จากนั้น ก็ไปถึง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ ที่มีประสบการณ์
นักวิชาการสาธารณสุข ตำแหน่งอื่นๆ ทั้ง ใน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ใน รพ.สต. และ ใน รพ.ชุมชน ก็จะก้าวหน้าถึงชำนาญการพิเศษ เช่นกัน
...ข้อเสนอของพวกเรา ณ ที่ประชุม แห่งนี้ หรือ อาจเรียกได้ว่าเป็น Mukdaharn Charter นั้น ผมจดเอาไว้ทั้งหมด บางข้อทำได้ทันทีโดยการสั่งการ บางข้อทำได้ทันที โดยการประสานความร่วมมือ หลายข้อ อาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่ผมจะพยายามทำ เพื่อให้ เป้าหมายการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบปฐมภูมิของเราเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ข้อเสนอที่ทำได้ทันที เพื่อให้จำง่าย ผมจึง ขอนุญาตสรุปเป็นตัวเลข 123456789 ดังนี้ เช่น
พยาบาลวิชาชีพ จบแล้ว เรียนต่อ พยาบาลเวชปฏิบัติได้เลย ไม่ต้องรอ 1 ปี มีผลได้เลย ใครต้องการเรียน แต่มีข้อแม้ว่า ต้องไป ทำงาน ที่ รพ.สต. หรือ ศสม.
พยาบาลวิชาชีพ ที่ใช้ทุนของ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ใครต้องการเรียน เรียนต่อ พยาบาลเวชปฏิบัติ ไปได้เลย แต่มีข้อแม้ว่า ต้องไป ทำงาน ที่ รพ.สต. หรือ ศสม.
รพ.สต. หรือ ศสม. ต้องการ จพ.ทันตะสาธารณสุข ปีนี้ผมจะประสาน ให้ผลิต ทันตาภิบาล เพิ่มจาก ปีละ 300 กว่าคน เป็น ปีละ 3,154 คน คาดว่า ในอนาคต 3 ปี ข้างหน้า รพ.สต. กว่าครึ่ง ต้องมี จพ.ทันตะสาธารณสุข โดยปี แรก ให้เรียน ที่ วสส. ปี ที่ 2 เรียนจริง ฝึกจริง ที่ รพ.ชุมชน เลย
รพ.สต. หรือ ศสม. ต้องการ จพ.เภสัชสาธารณสุข ผมจะประสาน ให้ เปิดกรอบ บุคลากร ให้มีคำว่า และ หรือ จพ.เภสัชสาธารณสุข ต่อไป
การเงินที่ต้องการโอนตรงถึง รพ.สต. เงิน OPD IPD นั้น พวกเราคงไม่ต้องการไปมีส่วนร่วมมาก ส่วนที่ต้องการคือ เงิน PP ผมจะประสานให้เกิดขึ้นโดยเร็ว พวกเรารอรับเงินโอนได้
การเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็น Data Center นั้น ผมจะประสานให้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพวกเรา ทั้ง 4 M รถจักรยานยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ LAB TOP เบี้ยเลี้ยง และ องค์ความรู้ สำหรับคนทำงาน แต่มีข้อแม้ว่า ข้อมูลเหล่านั้น ต้องมีไว้ เพื่อใช้งาน ไม่ใช่มีไว้ส่ง ... นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนมาก จากทุก จังหวัด ทุกอำเภอ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,250 คน จึงต้องประสานห้องประชุม โรงแรมมุกธารา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยด้วย
ขอชื่นชมทีมงานการอำนวยความสะดวกในการจัดการอบรมครั้งนี้ ทั้งทีมงานของ นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร และทีมงานจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ทุกคน อาทิเช่น คุณสุรัติ ฉัตรไชยาฤกษ์ คุณปาณิศา ยมยะมาลี คุณจุฑารัตน์ ไต่เมฆ คุณเพ็ญศรี ตรามีคุณ คุณดารณี คัมภีระ คุณฉวีวรรณ ทิมา คุณสุนทรี อภิญญานนท์ คุณวราภรณ์ อ่ำช้าง คุณชลธี หาญเบ็ญจพงศ์ คุณอุดมสิน ทวีศรีอำนวย เป็นต้น
หมายเหตุ นางสาวอรวรรณ บุญเทียม และ นางสาวอัมพร อินงาม สามารถรับภาพถ่ายได้เลยนะครับ
ส่วน นโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปี2553_ความหมายสัญลักษณ์ รพ.สต.


No comments:

Post a Comment