3/16/12

ผู้ป่วยยาเสพติด รักษา 3 ระบบ: คืนคนดีสู่สังคม







วันที่ 16 มีนาคม 2555 ผู้ป่วยยาเสพติด รักษา 3 ระบบ: คืนคนดีสู่สังคม

วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ปฎิบัติราชการปกติ ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

จัดทำ เอกสารประกอบการประชุม ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อำเภอคำเขื่อนแก้ว (ศพส.อ.คำเขื่อนแก้ว) และ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว เรื่อง การรักษาผู้ป่วยยาเสพติด 3 ระบบในปัจจุบัน

ยาเสพติดมันทำให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่างโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทางราชการ โดยตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยเอกชนต่างๆ เดือดร้อนหมด และ สิ้นเปลือง และคนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบายให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบยาเสพติด มัวแต่ต้องมาเสียเงินค่ารักษา ทั้งผู้เสพยาทั้งผู้คนที่เดือดร้อน เสียทั้งเงิน เสียทั้งชื่อเสียง...” 4 ธ.ค. 2545 เป็นความตอนหนึ่งจากกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แสดงให้เห็นถึงความใส่พระทัยห่วงใยเหล่าพสกนิกรไทย ที่ปัจจุบันต่างกำลังได้รับความทุกข์ร้อนจากปัญหายาเสพติดที่รุนแรงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นต่อปวงชนชาวไทย

ปัจจุบันยาเสพติดได้ขยายวงกว้างเป็นภัยคุกคามที่ทำลายสังคมไทย รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไข ปัญหายาเสพติด โดยยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหายาเสพติด มี 3 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษา ซึ่งการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดนั้นมี การรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ปัจจุบัน มี อยู่ 3 ระบบ ประกอบด้วย

ระบบที่ 1 ระบบสมัครใจ

ระบบที่ 2 ระบบบังคับบำบัด

ระบบที่ 3 ระบบต้องโทษ

หลักคิดสำคัญคือ คืนคนดีสู่สังคม

ความสัมพันธ์หรือการผูกมิตร เป็นกฎสำคัญที่สุดของความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่สามารถ

อยู่คนเดียวในโลก ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมา โดยมุ่งหวังจะให้อยู่กันเป็นชมรมเป็นสมาคมให้ช่วยเหลือซึ่ง

กันและกัน ความสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่คนเดียวไม่เกี่ยวข้องกับใครในโลกเพราะว่า คนคนหนึ่งไม่มี

ความหมายในเวลาที่อยู่ โดดเดี่ยวแต่ลำพัง แต่เมื่อ เขานำ กำลังของเขาเข้ารวมกับ กำลังของคนอื่นๆ แล้ว ชีวิต

ของเขาก็มีความหมายขึ้นมา เพราะได้เป็นส่วนหนึ่งของกำลังทั้งหมดที่แข็งแกร่ง

การรักษาผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจ

ใช้การรักษาผู้ป่วยเสพยาเสพติดระบบสมัครใจ ด้วยระบบเข้าค่ายพลังแผ่นดิน หลักสูตรมาตรฐาน 9 วัน หรือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ปรับหลักสูตร เป็น 5 + 4 = 9 โดยแบ่งเป็น เข้าค่ายรวมกัน 5 วัน ติดตามผลในชุมชนอีก 4 วัน หรือ เรียกว่า 5+ 4=9 ซึ่งระยะเวลาการติดตาม ดูรายละเอียดได้ ใน หัวข้อ ด้านล่างเรื่องการติดตามผล ภายหลังการบำบัด

การรักษาผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจ

กลุ่มติดยาเสพติดใช้รักษาแบบ 2 รูปแบบคือ
การรักษาแบบ ผู้ป่วยนอก
: โดยรูปแบบ Matrix Program ใช้ระยะเวลา 4 เดือน
การรักษาแบบ ผู้ป่วยใน : โดยรูปแบบ FAST Model ใช้ระยะเวลา 4 เดือน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) เป็นสถานบริการในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด ในระบบสมัครใจ ในรูปแบบผู้ป่วยนอก โดยมีขั้นตอนการบำบัดรักษา อยู่ 4 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1. ขั้นเตรียมการ ขั้นตอนที่2. ขั้นถอนพิษยา ขั้นตอนที่ 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพ

ขั้นตอนที่ 4. การติดตามผล

ซึ่งกระบวนการบำบัดรักษา มีเป้าหมายที่สำคัญคือผู้ใช้สารเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้วสามารถกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้โดยไม่พึ่งพาสารเสพติดอีกต่อไป

ขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดคือ การฟื้นฟูสมรรถภาพ เพราะเป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่เลิกยาเสพติดให้มีความเข้มแข็ง ปรับบุคลิกภาพและพฤติกรรมให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ

ส่วนการบำบัดรักษายาเสพติด ในรูปแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( รพ.สต.) ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ส่งไปรักษาต่อ ณ โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ซึ่งใช้รูปแบบ FAST Model ในการบำบัดรักษาแบบ ซึ่งรูปแบบการบำบัดรักษาแบบ FAST Model นี้เน้นการใช้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดให้สามารถกลับคืนสภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งและมั่นคงโดยมีครอบครัวเป็นหลักสำคัญที่นำมาให้มีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดฟื้นฟู ตั้งแต่เริ่มต้นการบำบัดรักษาจนกระทั่งสามารถเรียนรู้ร่วมกันทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่บำบัดรักษาเป็นผู้ช่วยเหลือ ชี้แนะและส่งเสริมให้เกิดกระบนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปปฏิบัติตน ดำรงชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข และทำตนเป็นประโยชน์ต่อครอบครัว สังคม และ ชุมชน

FAST Model คืออะไร คือกระบวนการ ที่ได้นำองค์ประกอบ 4 ด้านมาใช้ ร่วมกัน ได้แก่

F: Family ครอบครัวมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นการบำบัดรักษาและรับผิดชอบดูแลควบคู่กับการอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชนตามสภาพที่เป็นอยู่จริงกิจกรรมทางเลือกในการบำบัดรักษา

A: Alternative treatment activity ใช้กิจกรรมทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับผู้ป่วยตามสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วย

S:Self Help การช่วยเหลือตนเอง ใช้กระบวนการให้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้และบำบัดรักษาทาง กาย จิต สังคม สามารถมีพลังจิตใจอย่างเข้มแข็ง โดยปรับสภาพทั้งพฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึก และการสร้างสัมพันธภาพ จนสามารถอยู่ได้อย่างปกติสุขและปลอดยาเสพติด และ

T.C.:Therapeutic community ชุมชนบำบัด มีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางสังคมโดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัดที่สำคัญ ได้แก่ Help to Self – Help , Peer Pressure , Behavior Modification , Social Learning , Morality , Frame of Reference เป็นต้น

ส่วนการติดตามผล ภายหลังการบำบัดนั้น

มาตรฐานการติดตามผู้เข้ารับการบำบัดต้องได้รับการติดตามครบจำนวน ๗ ครั้งหรืออย่างน้อย ๔ ครั้ง ใน ๑ ปี หมายถึง ผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดผ่านการจำหน่ายผู้ป่วย ครบตามกำหนดและได้รับการติดตามภายหลัง การจำหน่ายตามมาตรฐานการติดตาม

การติดตาม๗ ครั้ง คือ ๒ สัปดาห์, ๑ เดือน, ๒ เดือน, ๓ เดือน, ๖ เดือน, ๙ เดือน และ ๑๒ เดือน

การติดตาม๔ ครั้ง คือ ๑ เดือน, ๓ เดือน , ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน

ที่มีช่วงเวลาติดตามห่างจาก วันจำหน่ายมากกว่าหรือเท่ากับ ๑ ปี และมีการบันทึกในระบบรายงาน บสต.

ฉะนั้น ในวันนี้ ทีมงาน จึงได้ร่วมกันจัดทำ มาตรฐานการบริหารจัดระบบการรับ-ส่งต่อและติดตามผู้ป่วยยาเสพติด ตามแนวทางการ ปฏิบัติประกอบด้วย ๖ แนวทาง ของ กระทรวงสาธารณสุขคือ

A แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อเพื่อการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

B แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อ เพื่อเปลี่ยนหน่วยบำบัด

C แนวทางการปฏิบัติการจำหน่ายผู้ป่วยยาเสพติดแบบไม่ครบกำหนด

D แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อเพื่อการติดตามผู้ป่วยยาเสพติดภายหลังการจำหน่าย

แบบครบกำหนด

E แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อ เพื่อการติดตามผู้ป่วยยาเสพติดครั้งถัดไป

F แนวทางการปฏิบัติด้านการบริหารงบประมาณ

No comments:

Post a Comment