3/16/12

ขอเงินช่วยเหลือข้าราชการเสียชีวิต:พรรณณี นักผูก


วันที่ 15 มีนาคม 2555 ติดต่อขอเงินช่วยเหลือข้าราชการเสียชีวิต:พรรณณี นักผูก

วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ปฎิบัติราชการปกติ ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

และ ประสานงานกับ คุณ นางอภิญญา สนสายสิงห์ งานการเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เรื่องการส่งเอกสารเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือครอบครัว กรณีเสียชีวิต ของ นางพรรณี นักผูก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ดงแคนใหญ่ เป็นการขอรับเงินบำเหน็จตกทอดข้าราชการเสียชีวิต ซึ่งเป็นไป ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ให้ ส่งเอกสาร ประกอบการขอรับเงินดังกล่าวดังนี้

เอกสารสำหรับเจ้าตัวของข้าราชการผู้ตาย

1. สำเนา ใบมรณบัตร จำนวน 3 ชุด

2. สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 3 ชุด

3. สำเนา ทะเบียนบ้าน ที่มีคำว่า ตาย จำนวน 3 ชุด

4. สำเนา บัตรข้าราชการ จำนวน 3 ชุด

5. สำเนา ใบสำคัญการสมรส หรือ ใบหย่า(อย่างใดอย่างหนึ่ง) จำนวน 3 ชุด

ทายาท ทุกคน พ่อ แม่ ลูก สามี(ถ้าสมรส)

6. สำเนา ทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ชุด

7. สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 3 ชุด

8. สำเนา ใบสำคัญการสมรสหรือ ใบหย่า ของบิดา มารดา จำนวน 3 ชุด

9. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร ที่รับเงิน ของทายาท ทุกคน จำนวน 3 ชุด

ไปสู่ สุขคติ นะ น้องหนุ่ย ภารกิจที่คั่งค้าง ญาติ มิตร และ ทีมงานของเรา จะช่วยกันดูแลครับผม

สัดส่วนการรับเงินบำเหน็จตกทอดของทายาทของผู้ตาย

ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวน เท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ

ทายาทแต่ละประเภทมีสิทธิ ได้รับเงินมากน้อยแค่ไหน

ทายาทที่เป็นบุตร ได้รับ 2 ส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตร 3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน

ทายาทที่เป็นสามี หรือภรรยา ให้ได้รับ 1 ส่วน

ทายาทที่เป็นบิดา มารดา ให้ได้รับ 1 ส่วน

การขอรับเงินบำเหน็จตกทอดข้าราชการเสียชีวิต

ซึ่งเป็นไป ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กำหนดให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิกมีสิทธิได้รับเงินเมื่อออกจากราชการเป็น 2 ส่วน คือ

เงินส่วนที่1เงินบำเหน็จหรือบำนาญจากกระทรวงการคลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาราชการ และเหตุการออกจากราชการ และเงินส่วนที่ 2 คือเงินก้อนจำนวนหนึ่งจาก กบข โดยสิทธิการรับเงินคืนมีรายละเอียด ดังนี้
1. กรณีอายุราชการ ไม่ถึง 10 ปี จะมีไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ แต่จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
2. กรณีอายุราชการ 10 ปีแต่ไม่ถึง 25 ปี จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากภาครัฐ และเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข.
3. กรณีอายุราชการ 25 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญจากภาครัฐ
- กรณีสมาชิกที่รับราชการภายหลังวันที่ 27 มี.ค.2540 และเลือกรับบำนาญสมาชิกจะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวจาก กบข

กรณีข้าราชการเสียชีวิตได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์เมื่อข้าราชการเสียชีวิต

1. เสียชีวิตระหว่างรับราชการ ได้รับประโยชน์ ดังนี้

1.1 บำเหน็จตกทอด (เงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ) ให้แก่ทายาท : บุตร 2 ส่วน คู่สมรส 1 ส่วน บิดามารดา 1 ส่วน) (พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494)

1.2 เงิน กบข.กรณีเป็นสมาชิก กบข.(พรบ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494) จำนวน ตามที่ กบข.แจ้ง เป็นรายปี ประกอบด้วย เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ และเงินสะสมส่นเพิ่ม

1.3 เงินช่วยเหลือพิเศษ (3 เท่า ของเงินเดือนเต็มเดือน) ให้แก่ผู้ที่ผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการ ถ้าไม่ได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่ทายาทตามลำดับ : คู่สมรส บุตร บิดามารดา) ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ข้าราชการตาย (พรฏ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นฯ พ.ศ.2535)

1.4 ขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ/ขอพระราชทานเพลิงศพ (ต้องเป็นข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป)

2. ผู้ได้รับบำนาญปกติเสียชีวิต ได้รับประโยชน์ ดังนี้

2.1 บำเหน็จตกทอด (30 เท่าของเงินบำนาญ) ให้ แก่ทายาท : บุตร คู่สมรส บิดามารดา

ในกรณีขอรับบำเหน็จดำรงชีพไปจำนวน 15 เท่า แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ไปแล้วจะได้รับส่วนที่เหลืออีก 15 เท่า

2.2 เงินช่วยเหลือพิเศษ (เงินบำนาญรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพ (ช.ค.บ.: ถ้ามี) จำนวน 3 เดือน) ให้แก่ผู้ที่ผู้ตายแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อส่วนราชการ ถ้าไม่ได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่ทายาทตามลำดับ: คู่สมรส บุตร บิดามารดา)

ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ข้าราชการตาย (พรฏ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นฯ พ.ศ.2535)

2.3 ขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ/ขอพระราชทานเพลิงศพ (ต้องเป็นข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป)

ส่วนสิทธิอื่นๆ ตามที่เจ้าตัวได้ สะสมต้นทุนเอาไว้ โดยการสมัครเป็นสมาชิก เช่น

1. เงินประกันชีวิต ตามกรมธรรม์

2. เงินประกันอุบัติเหตุหมู่

3. เงิน ฌาปนกิจสงเคราะห์ ของ สมาคม องค์กรต่างๆ

4. เงินสวัสดิการ จากหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

1 comment:

  1. กรณี ไม่มีคู่สมรส และบิดามารดา เสียชีวิตไปแล้วจะได้รับไหมครับ

    ReplyDelete