4/25/12

อสม.ทั่วไป / อสม. เชี่ยวชาญควรมีทักษะใดบ้าง


วันที่ 25 เมษายน 2555 อสม.ทั่วไป / อสม. เชี่ยวชาญควรมีทักษะใดบ้าง
ภาคบ่ายร่วมเป็นวิทยากร และร่วมพิธีปิดการอบรม อสม .เชียวชาญ ณ โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์  หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระดับเชี่ยวชาญ ประจำปี 2555  ณ หอประชุม โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์ ตำบล โพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานปิดงาน โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

 ซึ่งในพิธีปิด นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้บูชา ด้ายผูกแขนมงคล จากพระอาจารย์ทองใส จันทสิริ เจ้าอาวาสวัดดอนมะฮวน มามอบเป็นิริมงคลให้กับ อสม . และ วิทยากร ทุกท่านด้วย




 มี อสม .หลายท่านถามว่า อสม. เชี่ยวชาญ ควรมีทักษะใดบ้าง นั้น ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  ให้คำตอบได้ง่ายๆ  คือ ต้องเป็นครัวเรือนตัวอย่างให้กับประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆได้ ในงาน สสม. 14 ประการ หรืองาน สสม.14 องค์ประกอบ ในฉบับที่ อสม .จำได้ง่ายๆ ดังนี้ 
1อาหารดี            2มีความรู้            3น้ำดื่มน้ำใช้        4สุขาสวยใส
5วัคซีนได้           6ง่ายรักษา          7ยาจำเป็น           8เห็นคุณแม่
9ดูแลจิต 10ดูแลฟัน          11ป้องกันอุบัติเหตุ            12เอดส์ไม่กลุ้ม   
13อย.คุ้มครอง     14มองสิ่งแวดล้อม


 หรือ งาน สสม. 14 ประการ หรืองาน สสม.14 องค์ประกอบ หรืองาน สสม.14 ELEMENTS ในฉบับ เจ้าหน้าที่
คือ NEWSITEMMDECAA
Nutrition            งานโภชนาการ
Education          งานสุขศึกษา
Water supply     การจัดหาน้ำสะอาด
Sanitation Local Disease Ctrl       สุขาภิบาลและการควบคุมโรคประจำถิ่น
Immunization     สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
Treatment         การรักษาพยาบาลอย่างง่าย
Essential drug    การจัดหายาที่จำเป็นในชุมชน
Mother&Child     งานอนามัยแม่และเด็ก
Mental Health    งานสุขภาพจิต
Dental Health     การดูแลสุขภาพฟัน
Environment      งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
Consumer          การคุ้มครองผู้บริโภค
Accident            การป้องกันอุบัติเหตุ
AIDS     การป้องกันและแก้ไขเอดส์

 ซึ่ง บทบาทหน้าที่พื้นฐาน ของ อสม. โดยทั่วไป
โดยหลักและความคาดหวังแล้ว กระทรวงสาธารณสุข  มีความคาดหวังให้ อสม .มีคุณลักษณะที่สำคัญ ประการ คือ
1.เป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
2.เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) ในด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน
เพื่อให้  หน้าที่ที่สำคัญ ประการ สมบูรณ์ จึงได้กำหนดให้ อสม . มีบทบาทพื้นฐานของ อสม . ที่สำคัญ  6 ประการคือ  1 แก้ข่าวร้าย      2.กระจายข่าวดี    3. ชี้บริการ
4. ประสานงานสาธารณสุข 5. บำบัดทุกข์ประชาชน
6. บำเพ็ญตนเป็นตัวอย่างที่ดี



โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม .) มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1.แก้ข่าวร้าย เช่นเป็นผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน นัดหมายเพื่อนบ้านมารับบริการสาธารณสุข แจ้งข่าวสารสาธารณสุข เช่น การเกิดโรคติดต่อที่สำคัญ หรือโรคระบาดในท้องถิ่น ตลอดจนข่าวความเคลื่อนไหวในกิจกรรมสาธารณสุข รับข่าวสารสาธารณสุขแล้ว แจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่นทราบอย่างรีบด่วนในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ รับข่าวสารแล้ว จดบันทึกไว้ในสมุดบันทึกผลการปฏิบัติงานของ อสม.
2.กระจายข่าวดี  เช่นเป็นผู้ให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การใช้สถานบริการสาธารณสุขและการใช้ยา การรักษาอนามัยของร่างกาย การให้ภูมิคุ้มกันโรค การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด โภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประจำถิ่น การอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว การดูแลรักษาและป้องกันสุขภาพเหงือกและฟัน การดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัยและโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ การป้องกันและแก้ไขมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นภัย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การจัดหายาจำเป็นไว้ใช้ในชุมชน และการส่งเสริมการใช้สมุนไพรและแพทย์แผนไทย ฯลฯ
3.ชี้บริการ เช่นเป็นผู้ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน ได้แก่ การส่งต่อผู้ป่วยและการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ การจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดในรายที่เจ้าหน้าที่สาธารณาสุขได้ตรวจแล้ว และจ่ายถุงยางอนามัย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น เกี่ยวกับบาดแผลสด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ฯลฯ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นตามอาการ
4.ประสานงานสาธารณสุข เช่นเป็นผู้นำในการบริหารจัดการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้งบประมาณหมวดอุดหนุนทั่วไปที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข หรือจากแหล่งอื่น ๆ
5.บำบัดทุกข์ประชาชน เช่น เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น เฝ้าระวังปัญหาโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักเด็กและร่วมแก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหารและขาดธาตุไอโอดีน เฝ้าระวังด้านอนามัยแม่และเด็ก โดยการติดตามหญิงมีครรภ์ให้มาฝากท้องและตรวจครรภ์ตามกำหนด เฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการติดตามให้มารดานำเด็กไปรับวัคซีนตามกำหนด และเฝ้าระวังเรื่องโรคติดต่อประจำถิ่น โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นต้น
6.บำเพ็ญตนเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นแกนนำในการชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนางานสาธารณสุขของชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการ จปฐ. (ความจำเป็นพื้นฐาน) และรวมกลุ่มในการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ เช่น
ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำในการประสานงานกับกลุ่มผู้นำชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน
หมุนเวียนกันปฏิบัติงานที่ ศสมช. โดยมีกิจกรรมที่ควรดำเนินการ  เช่น
- จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหมู่บ้าน
- ถ่ายทอดความรู้และจัดกิจกรรมตามปัญหาของชุมชน
- ให้บริการที่จำเป็นใน 14 กิจกรรมสาธารณสุขมูลฐาน 

No comments:

Post a Comment