4/27/14

25เมย2557: KPI_Ranking_ผลการปฏิบัติงานระดับอำเภอ_สาธารณสุขยโสธร

25เมย2557: KPI_Ranking_ผลการปฏิบัติงานระดับอำเภอ_สาธารณสุขยโสธร
วันที่ 25 เมษายน 2557 : KPI_Ranking_ผลการปฏิบัติงานระดับอำเภอ_สาธารณสุขยโสธร
ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง และคณะ ร่วมประชุมการพิจารณาตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ และจัดลำดับหน่วยงาน (Ranking) ปี ๒๕๕๗  จังหวัดยโสธร 
ณ ห้องประชุมบั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานการประชุม โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
มีผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทั้ง
ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ)
และ นางเยาวดี ชาญศิลป์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ )

กำหนดการ รับการประเมิน KPI_Ranking  ณ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗

อำนวยการจัดประชุมด้วยดี โดย นายบรรจบ แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ
ผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ผู้รับผิดชอบงานตัวชี้วัดการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จากทุกหน่วยงาน
ซึ่งการประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงาน  หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ  และจัดลำดับ
หน่วยงาน (Ranking) นี้ เป็น KPI ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ และจัดลำดับหน่วยงาน (Ranking) ปี ๒๕๕๗  จังหวัดยโสธร 
เนื้อหาประกอบด้วย การชี้แจงตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ทั้งสิ้น จำนวน 13 ประเด็นหลัก 32 ตัวชี้วัด แต่ละตัวชี้วัดจะแสดงให้เห็นถึงขอบเขต เนื้อหา รายละเอียด  วิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อวัดและประเมิน การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่   อันเป็นผลมาจาก  การดำเนินกิจกรรมทางการแพทย์  และสาธารณสุขที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน  และสถานบริการสาธารณสุขในสังกัด
คณะกรรมการประเมินประกอบด้วย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)  เป็นประธาน หัวหน้ากลุ่มงานทุกกลุ่มเป็นกรรมการ
นายบรรจบ แสนสุข หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นเลขานุการ
KPI การประเมิน ส่วนมากเป็นระดับของผลสำเร็จ  ผลการประเมิน จะแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ดีเด่น ดีมาก ดี เป็นต้น
KPI_Ranking_ผลการปฏิบัติงานระดับอำเภอ_สาธารณสุขยโสธร 13 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
ประเด็นหลักที่ ๑   งานควบคุมโรคติดต่อ         1ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๒  งานพัฒนาคุณภาพ ทรัพยากรบุคคล และสุขภาพภาคประชาชน    1ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๓  งานส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพจิต    3ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๔  งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ     2ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๕  งานยาเสพติด      1ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๖   งานการแพทย์ฉุกเฉินและพัฒนาระบบส่งต่อ    1ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๗  งานทันตสาธารณสุขและหน่วยบริการ            5ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๘  งานสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม  1ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๙  งานคุ้มครองผู้บริโภค         3ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๑๐ งานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข    2ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๑๑ งานประกันสุขภาพ            5ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๑๒ งานบริหารทั่วไป  2          ตัวชี้วัด
ประเด็นหลักที่ ๑๓ Service Plan      5          ตัวชี้วัด
            รวม KPI_Ranking งานสาธารณสุขปี 2557 ทั้งหมด 32 ตัวชี้วัด

ประเด็นหลักที่ ๑ งานควบคุมโรคติดต่อ KPI_Ranking       จำนวน  ๑ ตัวชี้วัด  ระดับความสำเร็จของหน่วยงานดำเนินงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน น้ำหนักคะแนน   ๑๐
คำอธิบาย           มาตรฐานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน  หมายถึง การดำเนินงานอำเภอควบคุมโรค
                     เข้มแข็ง  ตามประเด็นดังนี้  
     ๑) มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (๑๐ คะแนน)
     ๒) มีระบบระบาดวิทยาที่ดีในระดับอำเภอ(๒๐ คะแนน)
     ๓) มีการวางแผน กำกับติดตามและประเมินผลการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ  (๑๐ คะแนน)
     ๔) มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม  (๑๐ คะแนน)
     ๕) มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันโรคที่สำคัญตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและเป็นปัญหาในพื้นที่อย่างน้อยประเด็นละ 5 เรื่องขึ้นไปดังนี้ (๕๐คะแนน)
(๑)  งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (๑๐ คะแนน)
(๒)  โรคมือเท้าปาก   (๑๐ คะแนน)   
(๓)  โรคไข้เลือดออก (๑๐ คะแนน)
(๔)  โรคเอดส์ (๑๐ คะแนน)
(๕)  โรควัณโรค ๑๐ คะแนน)

ประเด็นหลักที่ ๒ :  KPI_Ranking งานพัฒนาคุณภาพ ทรัพยากรบุคคล และสุขภาพภาคประชาชน จำนวน     ๑ ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่ ๒    ร้อยละของอำเภอที่มี District Health System (DHS) ที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพใช้ SRM หรือเครื่องมืออื่นๆในการทำแผนพัฒนาสุขภาพ
น้ำหนักคะแนน   ๑๐ ประเมิน จาก 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 CUP Managementประเมินประเด็น  ODOP  จำนวน  ๓๐  คะแนน  ดังนี้
            ๑) ภาคีทุกภาคส่วนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันของพื้นที่ (๕ คะแนน)
            ๒) วางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยบูรณาการงานทุกภาคส่วน     (๕ คะแนน)
            ๓) ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ โดยภาคีมีส่วนร่วม    (๕ คะแนน)
            ๔) ทีมร่วมกันออกติดตาม กำกับ นิเทศประเมินผล        (๕ คะแนน)
            ๕) ผลงานสามารถประยุกต์ขยายผลไปพื้นที่อื่นได้มีผลสำเร็จ      (๕ คะแนน)
            ๖) มีนวตกรรมที่เกิดจาก ODOP       (๕ คะแนน)        
เรื่องที่ 2 ประเด็นหมอครอบครัว   จำนวน  ๗๐  คะแนน ดังนี้
๑) โครงสร้างหมอครอบครัว            (๕ คะแนน)
๒) การรับรู้การเป็นเจ้าของหมอครอบครัว/บทบาทหน้าที่            (๑๐ คะแนน)
๓) อสม.มีเครื่องมือในการดำเนินงานหมอครอบครัวและมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่(๒๕ คะแนน)
๔) ระบบบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนที่ได้จากหมอครอบครัว     (๒๕ คะแนน)
๕) พื้นที่มีนวัตกรรม การพัฒนาระบบหมอครอบครัว      (๕ คะแนน)
ประเด็นหลักที่ ๓ :  KPI_Ranking งานส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพจิต ๓ ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่ ๓    ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก  น้ำหนักคะแนน  
คำอธิบาย :  คปสอ. มีการดำเนินงานการจัดบริการอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามมาตรฐานที่กรมอนามัยกำหนดภายใต้ตัวชี้วัด 6 ตัวดังนี้
1. ระดับความสำเร็จการดำเนินงานตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว
2. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ ≤ 12 สัปดาห์ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60)
3. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 )
บริการฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
การนัดฝากครรภ์ครั้งที่ 1 เมื่ออายุครรภ์  12 สัปดาห์
การนัดฝากครรภ์ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์  18 สัปดาห์ ± 2 สัปดาห์
การนัดฝากครรภ์ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์  26 สัปดาห์ ± 2 สัปดาห์
การนัดฝากครรภ์ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์  32 สัปดาห์ ± 2 สัปดาห์
การนัดฝากครรภ์ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์  38 สัปดาห์ ± 2 สัปดาห์
4. ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ( ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 )
5. ร้อยละของเด็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 6 เดือนแรก มีค่าเฉลี่ยกินนมแม่อย่างเดียว ( ไม่น้อยกว่า   ร้อยละ 50 )
6. ร้อยละของ รพ.สต.ให้บริการคลินิกเด็กดีคุณภาพ (WCC) (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 )
ตัวชี้วัดที่ ๔    ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยเรียนและวัยรุ่น น้ำหนักคะแนน  ๔
มี  ตัวชี้วัดย่อย   ดังนี้
1.โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร   
2. ร้อยละอำเภอที่ผ่านการประเมินมาตรฐานอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ตัวชี้วัดที่ ๕    ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต น้ำหนักคะแนน 
มี  ตัวชี้วัดย่อย   ดังนี้
ตัวชี้วัดย่อย 1. มีศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) และเชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือ 
ตัวชี้วัดย่อย 2. อำเภอมีทีม MCATT : Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team (ทีมให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต) ที่มีคุณภาพ
ตัวชี้วัดย่อย 3.ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ
ประเด็นหลักที่ ๔ :  KPI_Ranking งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
ตัวชี้วัดที่ ๖    ระดับความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๗    ระดับความสำเร็จการป้องกัน ควบคุม และรักษามะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี
น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๖    ระดับความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ประเด็นหลักที่ ๕ : KPI_Ranking งานยาเสพติด
ตัวชี้วัดที่ ๘    ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับอำเภอ
น้ำหนักคะแนน  
น้ำหนักคะแนน 0.5 จัดทำสรุปทบทวน สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยระบุข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด ในจังหวัด ลงถึงระดับหมู่บ้าน/ชุมชนให้ครบถ้วน เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของหน่วยงาน
น้ำหนักคะแนน 0.5 จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2557            ที่สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ และกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จที่เป็นผลผลิต/ผลลัพธ์ที่วัดผลได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม   โดยตั้งเป้าหมายสอดคล้องตามตัวชี้วัดงานยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข
น้ำหนักคะแนน 2  ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของพื้นที่ ประจำ
ปีงบประมาณ 2557 ได้แล้วเสร็จครบถ้วนเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งสรุปผลสำเร็จตามตัวชี้วัดสำคัญที่กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้
- ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยยาเสพติดที่ได้รับการจำหน่ายแบบครบกำหนดได้รับการติดตามตามระยะเวลาที่กำหนด สิ้นสุดการติดตาม สรุปว่าหยุด/เลิกได้
น้ำหนักคะแนน 0.5 ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดผลผลิต/ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ ทั้งหมดเป็นไปตามเป้าหมายและข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ได้รับ
การปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอย่างครบถ้วน มีระบบการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาตามประเด็นความเสี่ยงของการดำเนินงานตามโครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ มีประเด็นการแก้ไขปัญหา การควบคุมกำกับ และการติดตามผลอย่างชัดเจน
น้ำหนักคะแนน 0.5 ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดผลผลิต/ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ ทั้งหมดดีกว่าเป้าหมายที่กำหนด และปัญหายาเสพติดต้องอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่
น้ำหนักคะแนน 1  กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรม นโยบายผู้บริหารหน่วยงาน ความยากง่ายของพื้นที่ในการปฏิบัติงานอิงพื้นที่เสี่ยงตามข้อมูลหน่วยงาน ปปส. และ การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ประเด็นหลักที่ ๖ :  KPI_Ranking งานการแพทย์ฉุกเฉินและพัฒนาระบบส่งต่อ
ตัวชี้วัดที่ ๙    ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน  และงานพัฒนาระบบส่งต่อ  น้ำหนักคะแนน  
ประเด็นหลักที่ ๗ :  KPI_Ranking  งานทันตสาธารณสุข
ตัวชี้วัดที่ ๑๐    ร้อยละของ รพ.สต./ศสม. ที่ให้บริการสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพ (³  ร้อยละ 45)  น้ำหนัก   ๑.๕
ตัวชี้วัดที่ ๑๑    ร้อยละของนักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก (³  ร้อยละ 85) น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๑๒    ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช  (³  ร้อยละ 50) น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๑๓    ร้อยละของเด็กปฐมวัย (3 ปี) มีปัญหาฟันน้ำนมผุ (   ร้อยละ 57 หรือลดลงร้อยละ 1 ต่อปี)
น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๑๔    ระดับความสำเร็จของการจัดทำข้อมูลทันตสาธารณสุข น้ำหนักคะแนน   ๐.๕
ประเด็นหลักที่ ๘ :  KPI_Ranking งานสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดที่ ๑๕    ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ระดับอำเภอ
- ตลาดสดประเภทที่ 1 ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ ร้อยละ 100 (0.1)
- ตลาดประเภทที่ 2 ผ่านเกณฑ์ตลาดนัด น่าซื้อ ขั้นพื้นฐาน อย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่ง (0.05)
- ร้านอาหารและแผงลอยผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ร้อยละ 85 (0.1)
- โรงครัวโรงพยาบาล ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ร้อยละ 100 (0.05)
- โรงอาหารในโรงเรียน ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ร้อยละ 60 (0.1)
- ส้วมสาธารณะผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขา น่าใช้ ร้อยละ 70 (0.1)
- หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับที่เข้าร่วมโครงการลดภาวะโลกร้อนมีการนำเข้าข้อมูลตาม
โปรแกรมฟุตปริ้น ร้อยละ 100 (0.1)
- สสอ. / รพท. / รพช. / รพ.สต. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน  ร้อยละ 50 (0.2)
 - ศูนย์เด็กเล็กผ่านเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ ร้อยละ 70 (0.2)
ประเด็นหลักที่ ๙ :  KPI_Ranking งานคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัดที่ ๑๖    การเกิดทีม Primary GMP ระดับอำเภอ ในอำเภอที่มีสถานประกอบการอาหาร แปรรูปที่      บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายของจังหวัด (100 %) น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๑๗    ลดต้นทุนของยา เวชภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา
1. ต้นทุนค่าเวชภัณฑ์ฯของหน่วยงาน  (ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2555 )
2. มูลค่าการจัดซื้อร่วมยาและเวชภัณฑ์ฯ ของหน่วยงาน (³ ร้อยละ 20 ของมูลค่าการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ฯทั้งหมด
น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๑๘    ผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน(³ ร้อยละ 16)
น้ำหนักคะแนน  
ประเด็นหลักที่ ๑๐ :  KPI_Ranking งานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
ตัวชี้วัดที่ ๑๙    ระดับความสำเร็จของระบบฐานข้อมูลของหน่วยบริการ น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๒๐    ระดับระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ น้ำหนักคะแนน  
ประเด็นหลักที่ ๑๑ :  KPI_Ranking งานประกันสุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ ๒๑    หน่วยบริการมีแผนการเงินการคลัง และดำเนินการตามแผนฯ น้ำหนักคะแนน 
ตัวชี้วัดที่ ๒๒  หน่วยบริการมีประสิทธิภาพการบริหารการเงินสามารถควบคุมให้ไม่มีปัญหาการเงินในระดับ 7
น้ำหนักคะแนน    
ตัวชี้วัดที่ ๒๓  หน่วยบริการในพื้นที่มีต้นทุนต่อหน่วยไม่เกินเกณฑ์เฉลี่ยกลุ่มระดับบริการ
น้ำหนักคะแนน  ๒
ตัวชี้วัดที่ ๒๔  หน่วยบริการมีการเฝ้าระวังสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการตามโปรแกรมเฝ้าระวังสถานการณ์การเงินการคลังของจังหวัด
น้ำหนักคะแนน 
ตัวชี้วัดที่ ๒๕  ดัชนีผู้ป่วยใน (CMI ) ของแต่ละระดับสถานบริการสุขภาพตาม Service Plan ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
น้ำหนักคะแนน 
CMI คือ Indicator ที่ชัดเจนในการกำหนดศักยภาพของโรงพยาบาล ; Indicator ที่กระทรวงกำหนดคือ ค่า Case Mixed Index (CMI) ในการ Refer   ซึ่งการคำนวณCMIคือCMI = RW/Admission
ประเด็นหลักที่ ๑๒  :  KPI_Ranking งานบริหารทั่วไป
ตัวชี้วัดที่ ๒๖    ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน  น้ำหนักคะแนน  
ตัวชี้วัดที่ ๒๗    ระดับคุณภาพบัญชีเกณฑ์คงค้างหน่วยบริการและการจัดส่งรายงานทางการเงิน น้ำหนักคะแนน  
ประเด็นหลักที่ ๑๓  :  KPI_Ranking งาน  Service Plan
ตัวชี้วัดที่ ๒๘    ระดับความสำเร็จของการลดอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำหนักคะแนน  ๐.๖
ตัวชี้วัดที่ ๒๙   ระดับความสำเร็จของการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง  น้ำหนักคะแนน   ๐.๖
ตัวชี้วัดที่ ๓๐   ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานลดอัตราตายผู้ป่วยบาดเจ็บต่อสมอง น้ำหนักคะแนน  ๐.๖
ตัวชี้วัดที่ ๓๑    ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน การดูแลทารกแรกเกิด น้ำหนักคะแนน  ๐.๖
ตัวชี้วัดที่ ๓๒    ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานคลินิก DPAC น้ำหนักคะแนน  ๐.๖


กำหนดการ รับการประเมิน KPI_Ranking  ณ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ 




















No comments:

Post a Comment