8/10/17

1 ส.ค.2560 การพัฒนาขับเคลื่อนระบบปฐมภูมิ DHS, DHB, PCC เก็บได้สิ่งดีไว้ จาก Line Group

1 ส.ค.2560 การพัฒนาขับเคลื่อนระบบปฐมภูมิ DHS, DHB, PCC  เก็บได้สิ่งดีไว้ จาก Line Group
            วันที่ 1 สิงหาคม 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  บันทึกกิจกรรม เพื่อการค้นคว้าของตนเอง และ ใช้ประโยชน์อื่นๆ ทั่วไป  ความว่า... 
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สรุป การพัฒนาขับเคลื่อนระบบปฐมภูมิ DHS, DHB, PCC ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับจังหวัด ในการสนับสนุนคลินิกหมอครอบครัว ปี 2560
วันที่ 1 สิงหาคม 2560
ระบบปฐมภูมิ ไม่เข้มแข็ง ประชาชนไปรักษาที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ทำให้ค่าใช้ค่าสูงขึ้น
ระบบสุขภาพไม่เข้มแข็ง
วิจัยความคุ้มค่าในการลงทุนด้านปฐมภูมิ ของ HITAP 80,000 ล้าน ใน 10 ปี(ไม่รวมของภาคประชาชนอีกส่วนหนึ่ง) บนการดำเนินงานให้ไปรักษาที่ รพ.สต.เป็น อันดับแรก 1st contact, ควบคุม NCD, การคัดกรองครอบคลุม
 และ คุณภาพในระดับ รพ.สต.
การทำงานในพื้นที่ต้องนำเอา 4 Excellences ขับเคลื่อน ในทุกๆ ระดับ
1) PP Excellence เป็นหลักสำคัญของปฐมภูมิ เน้นวัยเด็ก ให้มีคุณภาพ วัยชราต้องแก่อย่างมีศักดิ์ศรี
2) Service Excellence จะมุ่งเน้นไปที่การให้บริการใน รพ.ใหญ่ เป็นหลักไม่ได้อีกต่อไป ต้องพัฒนาปฐมภูมิ
ต้องเติมเเพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวลงไป ตามรัฐธรรมนูญ ทำงานร่วมกับทีมงาน เป็นทีมหมอครอบครัว ดูเเลตามแนวทางของ PCC
*** PCC เป็นจุดสำคัญ ในการเชื่อมระบบระหว่าง PP กับ Service Excellence ซึ่งเป็นการเสริมการทำงานเดิมของหมออนามัยเดิม ร่วมกับทีมชุมชน ... ทำงานดูแลทุกคน ทุกอย่าง ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยี แต่ต้องมี Marketing ให้ประชาชนรับรู้รับทราบในเรื่องของการดำเนินการ ... การทำงานมี 2 ระดับ
   ระดับ - Individual approach : ต้องมีระบบการดูแลCareที่ครบถ้วน เหมาะสม เฉพาะรายในแต่ละคน ตามบริบท
    ระดับ - Population approach : ต้องจัดการ ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างสภาพเเวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ
   การสร้างเสริมสุขภาพ
*** รพช.จะต้องพัฒนา Secondary care เติมแพทย์เฉพาะทางสาขาหลักเพื่อดูแลต่อจาก รพสต. PCC ด้วยการพัฒนา Service plan ให้มีความเข้มเเข็ง
*** Excellence center ต้องมีคุณภาพทัดเทียมนานาชาติ One day surgery Robotic ต้องมีการลงทุน เพื่อลดเวลานอน
*** การควบคุมป้องกันโรค ต้องมีการดำเนินการที่ชัดเจน ต้องควบคุมป้องกันโรคเก่ง โดยเฉพาะ นักวิชาการสาธารณสุข และ เติมแพทย์ระบาดวิทยาลงไป ทุกอำเภอต้องมี SRRT ที่เข้มแข็ง
3) People Excellence เจ้าหน้าที่ต้องมีสมรรถนะ และมีความสุขแต่ต้องใช้เวลา ในภาคประชาชน
   อสม.มีมา 30 ปี วันนี้ต้องยกระดับ อสม.ให้ เป็น อสค. ดูแลในครัวเรือนตนเอง
4) Governance Excellence ต้องมีคุณธรรม โปร่งใส ตรงไปตรงมา เช่น ข้อมูลต้องลงให้เป็นจริง ซื่อสัตย์
*** ซึ่งระดับที่ทำงานขับเคลื่อนงานสาธารณสุขได้ดีในประเทศไทย คือ ระดับอำเภอ DHS ซึ่งทำได้ดี เเละเหมาะสม พัฒนาในด้านต่างๆ บูรณาการงานทั้งหมด โดยใช้กลไก DHB งานต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน เหมือนเป็นห้องในบ้านใหญ่ เช่น อำเภอควบคุมป้องกันโรค อำเภอสุขภาพดี ประกอบกันให้เป็นบ้านที่สมบูรณ์ ... ซึ่งวันนี้ท่าน สสอ.ได้รับบทบาทที่สำคัญ ในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ งานจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คนชงเรื่อง
ในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ งานจะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่คนชงเรื่อง นอภ.เป็นประธาน พัฒนางานบูรณาการโดยเฉพาะ 4 กระทรวงหลัก เน้นการจัดการโดยใช้ข้อมูล เน้น วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ การจัดการอุบัติเหตุจราจร ขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคีเครือข่าย ... แต่ในการ implement ต้องใช้การทำงานผ่าน PCC บนการทำงานร่วมกัน ตามบทบาทหน้าที่ เช่น นักวิชาการสาธารณสุขต้องดูแลอนามัยสิ่งเเวดล้อม ร่วมกับ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุขต้องดูเรื่องควบคุมโรค ส่วนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง พยาบาลและทีม ต้องเป็นหลัก เป็นต้น
*** PCC จะให้ C8 แต่ต้องตามเกณฑ์ กพ. ตามที่เหมาะสมของภาระงาน ซึ่งพยายามดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
ใน 2 เดือน
*** Mini cabinet (ครม.ย่อย) ให้การอนุมัติ 5 ข้อ ในการพัฒนาระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน พัฒนา PCC เเละทีมแพทย์ ค่าตอบแทน 1.5 ล้าน ต่อทีม (ตามข่าว)

Take Home Message
*** PCC จะต้องเดินต่อไป แม้ปลัดระทรวงจะเกษียนไปแล้ว เพราะงาน PCC ได้ถูกบรรจุเป็น 1 ใน 5 งานที่สำคัญของ กระทรวงสาธารณสุข ปี 61 เรียบร้อยแล้ว
*** การทำงานปัจจุบัน ต้องทำงานเป็นทีมทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุขไม่เเบ่งเเยก เหมือนเป็นร่างกายเดียวกัน ทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน เป็นประชารัฐ (ประชารัฐเดียวกับในเพลงชาติ)
            การบูรณาการเน้น ประชารัฐ
*** PCC เป็น Functional ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิม ยังมี รพสต รพช อยู่เหมือนเดิม โดย ผอ.รพ.ต้องเป็นผู้จัดการ / หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม เสมือน ผอ.รพช.ในเขตเมือง ต้องอำนวยให้เกิดระบบการทำงานให้ได้
*** สสอ.เป็นคนสำคัญ ในการขับเคลื่อน DHS ให้ประสบความสำเร็จ เชื่อมโยงกับ PCC
*** รพช.ต้องพัฒนา Intermediate Care
*** การปฏิรูปประเทศ แม้แต่กระทรวงก็ต้องทำเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ใช่เพื่อตนเอง การลดความขัดเเย้ง
ในกระทรวง ต้องมีความยุติธรรม(ธรรมะ จากหลวงปู่แบน ธนากโร จ.สกลนคร ครั้งเมื่อดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมโรค)
สรุป โดย นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย










            การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับจังหวัด ในการสนับสนุนคลินิกหมอครอบครัว ปี 2560 "รพ.สต.ฐานสำคัญแห่งการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในฝัน"
วันที่ 1 สิงหาคม 2560
พญ.ณภัทร สิทธิศักดิ์ นพ.ชำนาญการพิเศษ เขตสุขภาพที่ 8
ทำไมต้องมี รพ.สต.ติดดาว ??? ตามคู่มือ
เริ่มมาจาก ความต้องการของพื้นที่ ทำเล็กๆ สู่การขยายตัวของมาตรฐาน เป้าหมาย คือ เพื่อให้ รพ.สต.ที่ใกล้ชิดกับประชาชนที่สุด เป็นที่พึ่งแรกและสุดท้ายของชุมชน
เป้าหมาย
1.พัฒนา DHS จากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (รพ.สต.ติดดาว เอาไว้สอบทานทวนสอบการพัฒนา DHS)
2.เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้ได้มาตรฐานและมีเครื่องมือในการประกันระบบต่างๆ เช่น ระบบยา ระบบป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ระบบเครื่องมือ ไม่เหมือนกับ รพ.จะทำให้การดูแลผิดพลาดได้
3. พัฒนาคุณภาพบริการของ รพ.เชื่อมโยง หน่วยบริการปฐมภูมิ เพราะต้องทำงานเป็นเครือข่าย จากทุกภาคส่วน ทั้ง ในและนอกสาธารณสุข
กลไกการพัฒนา รพ.สต. : 1การพัฒนาและ2การประเมิน ต้องไม่ทิ้งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าดีผ่านเกณฑ์จึงให้ได้รับรางวัล บนพื้นฐาน Appreciation
ที่มาของ เกณฑ์คุณภาพ รพ.สต.ติดดาว : 10 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับปฐมภูมิ ทุกอย่างมาบูรณาการกัน ไม่ได้คิดขึ้นใหม่เอง (จอม Copy) เช่น DHS-PCA รพสต ดีเด่น เกณฑ์ขึ้นทะเบียน สปสช. ตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ 5 กลุ่มวัย PCA ฯลฯ (แต่บางเกณฑ์ปัจจุบันยังทำได้ไม่จริง แต่บอกว่าทำได้จริง)
การพิจารณา คือ เป็นของปฐมภูมิไหม / ต้องปฏิบัติใน รพสต หรือไม่ / ทำได้จริงหรือไม่
ความสำคัญ ที่เน้นย้ำ รพ.สต.ติดดาว ไม่ใช่การประกวด ไม่ใช่การแข่งขันระหว่าง รพ.สต. เเต่ เน้นให้ทำงานสุขภาพให้ประชาชนสุขภาพดี

นพ.ทวีเกียรติ บุญไพศาลเจริญ อดีตผู้ตรวจราชการ กสธ.
ประวัติศาสตร์การพัฒนาปฐมภูมิ 2456 โอสถศาลา สุขศาลา สถานีอนามัย ศูนย์การแพทย์และอนามัย รพ.สต./รพ.ชุมชน
ยุคปัจจุบันเริ่มโดย นพ.สงวน นิตยารัมพงษ์ สมัยเป็น ผอ.สนย.เริ่มที่อยุธยา เน้นเป็นธรรม และมีคุณภาพ เข้าถึงง่ายมีการเชื่อมโยงส่งต่อผู้ป่วยผู้รับบริการ ปี 2535 ทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน สู่ ปี 55 รพ.สต.
ทั้งหมด คือ การทำงานชุมชน เสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง  พึ่งตนเองได้ ดูเเลทั้งป่วยและไม่ป่วย (รพ.ดูแต่คนป่วย) คนและสิ่งแวดล้อม (หลักการไม่เคยเปลี่ยน แต่บริบทและเงื่อนไขต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น) ... แต่ รพสต ต้องปรับตัวกับบริบทใหม่ๆ ปัญหาสุขภาพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้ .โดย จิตวิญญาณของหมออนามัย โดย หมอครอบครัว ... People Centered Care (PCC) 1A4C
การทำงานต้องทำงานเป็นทีม ดูเเลเป็นเครือข่าย หนุนเสริมกันและกัน ตามการทำงานปฐมภูมิ ... รพสต.ติดดาว เหมือนดาวเหนือ คือชี้ทิศ กำกับทิศ ไม่ให้หลงทาง
การทำงานของ นวก/พยาบาล ทำงานในพื้นที่จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ตามบริบทการทำงาน CBL และ PILA การเรียนรู้ตามบริบทและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ไม่ใช่เพื่อการการแข็งขัน

พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ
PCC คือ การยกระดับคุณภาพบริการปฐมภูมิ ... รพสต.คือทีมประจำตำบล ประจำครอบครัว เเต่ต้องมีศักยภาพให้เพียง โดยการเติมเเพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพลงไปเติมเต็ม
ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป คนอายุยืนขึ้น การเป็นสังคมเมืองมากขึ้น รพสต.ตอบโจทย์ประเด็นเหล่านี้ได้เพียงพอหรือไม่ ... การพัฒนาคงต้องเติมศักยภาพ แต่เติมทักษะเฉพาะของวิชาชีพต่างๆลงไป แต่พื้นฐานเดิม
คือ รพสต/หมออนามัยเดิม จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นตัวเชื่อม เป็นเจ้าของพื้นที่ ที่เป็นจุดยืนสำคัญ
ความสำคัญของหมออนามัย คือ การประยุกต์ความเชี่ยวชาญบริบทพื้นที่ กับทักษะวิชาชีพเฉพาะ เพื่อตอบสนองบริบทปัญหาของพื้นที่ให้ได้ ทั้งเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมของชุมชน การดูแลสุขภาพตนเอง การดูแลต่อเนื่อง
บทบาทหน้าที่ด้านปฐมภูมิ (รับผิดชอบบุคคลและประชากร) 1.ให้บริการโดยตรง Direct service (Personel health) 2.เชื่อมต่อเชื่อมโยงทุกภาคส่วน 3.การเข้าไปร่วม Facilitate เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมจัดการสิ่งเเวดล้อมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ (Population & Community health) เช่น อาหารปลอดภัย ชุมชนเข้มเเข็ง ชุมชนปลอดเหล้า ฯลฯ ... เพื่อผลลัพธ์สุดท้าย : มุ่งหวังให้เกิด Social movement ... สู่ ... Community empowerment/ Community development
รพสต.ติดดาว concept น่าจะใช่ แต่การ implement อาจจะมีหลายอย่างทำให้ ประเด็นเบี่ยงเบนไป ซึ่งคนพื้นที่ต้องเข้าใจเป้าหมายหลักการของการทำงานปฐมภูมิ จะไม่หลงทาง และเชื่อมโยงเชื่อมกับงานเดิมและงานใหม่ได้
ระบบบริการปฐมภูมิ 4.0 จะต้อง ไกลกว่าการจัดบริการ แต่ต้องไปให้ถึงการจัดการสิ่งเเวดล้อม การทำให้ประชาชน self care มี Health literacy
ข้อเสนอแนะ จากผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่และผู้รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพ รพ.สต./ปฐมภูมิ
1. พัฒนาทีมประเมิน รพสต. ติดดาว ให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ (ไม่เข้าใจบริบท และไม่เข้าใจมาตรฐาน) ควรจะมีครู ก ข ค **** เป็นข้อที่น่าจะสำคัญที่สุด ****
    ... ควรมี Focal point ระดับเขต ทำหน้าที่ในประสานและขับเคลื่อนให้เหมาะสม บูรณาการเยี่ยมเสริมพลัง DHS - PCA (ทำให้คนอยากประเมิน (เขต5))
    ... กลไกระดับจังหวัด มีความสำคัญ บทเรียนจากจันทบุรี ให้ สสอ.เป็น Focal point และมอบหมายผู้เกี่ยวข้อง สสอ.เป็นผู้ประสาน ร่วมกับผู้รับผิดชอบของ สสจ. ใช้กลไก Appreciation และพยาบาลบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบท
     ... กลไกระดับอำเภอ สสอ.ต้องขับเคลื่อน ช่วยเหลือประสานงานกับ ผอ.รพ.ในพื้นที่ในการสนับสนุนช่วยเหลือ รพ.สต.
2. มาตรฐาน/แนวทางการประเมิน : เกณฑ์ Fix เกินไป เน้นถูกผิด น้ำหนักคะแนนไม่เท่ากัน ไม่อิงไม่เข้าใจบริบท ขาดความเชื่อมโยงกับแม่ข่าย และการทำงาน การสื่อสารในพื้นที่ที่ไม่ชัดเจน อยากให้เน้นกระบวนการมากกว่า ระยะเวลาในการดำเนินการไม่เพียงพอ เริ่ม กพ.60 ควรตกลงให้ได้ตั้งแต่ ตค.
    ... ข้อดีก็มีคือทำให้ได้คุณภาพ วัสดุครุภัณฑ์ตามส่วนขาด และทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ดีขึ้นจริงๆ คุณภาพเพิ่มขึ้นจริงๆ
    ... *** (ฝากท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ขอไม่ให้มีประกวดในระดับปฐมภูมิ แต่ให้มีประเมินเพื่อพัฒนา appreciation ได้
    ... ประเมินติดดาวแล้ว ไม่ต้องประเมินมาตรฐานอื่นๆ ได้หรือไหม เพราะ มีมาตรฐานถึง 5 -6 มาตรฐาน (ครั้ง) บูรณาการได้หรือไม่ ไม่ต้องประเมินซ้ำ . ควรเริ่มตั้งแต่ต้นปี
    ... บางพื้นที่ มีความจำกัดขาดเเคลนมาก มีคนเพียงคนเดียวก็มีกันดารเข้าถึงยากก็มี อยากให้เกณฑ์มีความแตกต่างกันในแต่ละระดับ/บางบริบท เช่น เขตเมือง ขนาด S M L หรือ %ผ่านไม่เท่ากัน ... มาตรฐานควรมีหลายระดับ
3. ตัวชี้วัดของมาตรฐาน (KPI) ของ รพ.สต. อย่ายกจาก รพ. มาสวมที่ รพสต ควรจะให้เหมาะสมกับปฐมภูมิมากกว่า และ KPI ผลงานควรยึด QOF เพียงอย่างเดียว เพราะจะซ้ำกับตัวชี้วัดในหลายๆ ระดับอยู่แล้ว / บางพื้นที่เสนอให้เป็น KPI ตามบริบทน่าจะดีกว่า
4. การทำความเข้าใจกับแนวทางมาตรฐานกับผู้บริหารระดับทุกระดับ โดยเฉพาะจังหวัดและระดับอำเภอ ให้รับทราบรับรู้ไปในทางเดียวกัน
5. ภาระงานกับอัตรากำลังไม่สมดุล ไม่เพียงพอ บาง รพ.สต.มีเจ้าหน้าที่มีคนเดียว . ส่วนกลางควรสนับสนุนให้เป็นรูปธรรม ... ตัวชี้วัดเรื่องอัตรากำลังที่เพียงพอในระดับปฐมภูมิ ควรเป็นตัวชี้วัดระดับจังหวัดวัดผู้บริหาร

ข้อเสนออื่นๆ
1. การเรียนต่อของสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ เป็น family medicine จะทำให้ทำงานในพื้นที่ไม่เท่ากัน
2. บทบาทของแพทย์ Fammed ในการทำงานในพื้นที่
3.ความก้าวหน้าของผู้รับผิดชอบงานปฐมภูมิของ สสจ.และผู้ทำงานในระดับพื้นที่

*** วันที่ 7 สิงหาคม 2560 นี้จะนำ input ทั้งหมดปรับเกณฑ์ ตามข้อเสนอแนะให้ได้ ***

ปิดท้ายการประชุม โดย อ.ทวีเกียรติ No measurement No development แต่ประเมินเพื่อพัฒนา ต่อเนื่อง ไม่ใช่เพื่อรับรางวัล ขอให้มีกำลังใจในการดำเนินงานและมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

สรุปโดย นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย รอง.ผอ.สปค.

อ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
ปฐมภูมิเป็นเรื่องที่สำคัญ เเต่อย่างไรก็ตาม Direction สำคัญกว่า Speed ซึ่งทำอย่างไรจะทำให้ทุกส่วนเดินทางไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
เน้นย้ำ DHS คือ แนวคิด ยุทธศาสตร์ระยะยาว ซึ่งจะทำให้ประชาชนสุขภาพดี โดยการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบสุขภาพไทย ที่สมดุล ให้พึ่งตนเองได้
แนวคิด ประชารัฐ (คือ ประชานำรัฐสนับสนุน) พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง, UCCARE, DHML(กระบวนการเรียนรู้ PILA กระบวนการเรียนรู้จากปฏิบัติในงานประจำ Routine to Learning), เข้าใจเข้าถึงพัฒนา
กลไก DHB เป็นการอำนวยการนำสนับสนุน PCC เป็นการจัดระบบบริการการดูแลในพื้นที่ 1:10,000 ทีมหมอครอบครัว ร่วมกันดูแลประชาชนในพื้นที่
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมเติบโต
การจัดการแนวใหม่ จากแนวดิ่งสู่แนวราบ ด้วยการจัดการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ มีสมรรถนะการจัดการครบ 3 ด้าน (บริหาร บริการ วิชาการ)
เป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งเเวดล้อมและสุขภาพ
สปค ต้อง มุ่งมั่น ขยัน อดทน และฉลาด ... สร้างความเข้มแข็ง ทั้งเขต จังหวัด อำเภอ ให้เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการพัฒนาปฐมภูมิที่เข้มแข็งและยั่งยืน"
หากตีความว่า "หมอครอบครัว"เป็นหมอประจำตัว ประจำครอบครัว และประจำชุมชน"แล้วไซร้ หมออนามัยก็นับว่าเป็น"หมอครอบครัว"อยู่ในตัว ซึ่งมีอยู่คู่ชุมชนไทยมากว่าครึ่งศตวรรษ
.....แต่เนื่องจากมีการแบ่งสาขาอาชีพและแบ่งหน้าที่การงาน จึงเกิดภาพการทำงานของทีมหมออนามัยแบบโรงพยาบาล(ที่มีคนมากมายหลายสาขาที่ทำงานแบบแยกส่วน) ซึ่งไม่สอดคล้องกับหน่วยบริการที่มีขนาดเล็ก จึงเกิดสภาพการทำงานแบบแยกส่วน สร้างภาระงานบริการเกินจำเป็นและไม่กระจายทั่วถึงสำหรับสมาชิกของทีมงาน
.....ประกอบกับภาระงานบริการทุกด้านเพิ่มมากกว่าเดิมและนโยบายการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพและตัวชี้วัดที่เฟ้อเกินอย่างขาดการวิเคราะห์แยกแยะตามบริบท ซึ่งหลงไปเน้นการตรวจประเมินควบคุมกำกับจากผู้นิเทศหลายระดับและการรายงานข้อมูล-ตัวเลขอย่างถี่เกินสำหรับหน่วยงานขนาดเล็กที่มีคนทำงานเพียง ๒-๓คน จึงทำให้เบียดบังเวลาลงทำงานในชุมชนซึ่งเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าของหมออนามัยที่มีมาแต่นานนม

ผมเห็นว่านโยบาย"ทีมหมอครอบครัว"น่าจะเปิดทางให้ทีมหมออนามัยได้กลับมาร่วมกันลงไปดูแลประชาชนในชุมชน และแน่ละผู้ออกนโยบายนี้ควรจะฟังเสียงสะท้อนของหมออนามัย (หมอครอบครัวตัวจริงของสังคมไทย) และหาทางปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการที่เอื้อให้หมออนามัยได้ดูแลประชาชนตามนโยบาย"ทีมหมอครอบครัว"ได้อย่างแท้จริง
.....เช่น การเพิ่มคน การลดภาระงานที่ไม่จำเป็นลง การเยี่ยมเสริมพลังแทนการนิเทศเพื่อการควบคุม
.....จะได้ฟื้นคืนเอกลักษณ์และคุณค่าของหมออนามัยเสียที

                                  Credit นี้ ให้กับ นพ.สุรเกียรตฺ อาชานานุภาพ ครับ 

No comments:

Post a Comment