12/2/07

นึกถึงพ่อ นึกถึงพอเพียง และครอบครัวอบอ่น


2 ธันวาคม 2550
จัดนิทรรศการวันพ่อ ที่ ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว ฤดูกาลวันพ่อปีนี้ หน่วยงานต่างๆ เน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง หวลนึกถึง คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง คุณพ่อ คุณแม่ของผม ที่บ้านสีสุก หมู่ที่ 5 ตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูลเสียดายที่ คุณแม่ท่านไม่ได้มีชีวิตยืนยาวเพียงพอที่จะได้เห็นชีวิตของลูกๆที่ท่านได้ดูแลเอาใส่มา จนเติบใหญ่ได้ถึงวันนี้ วิถีชิวิต พอเพียง เพื่อคครอบครัวอบอุ่น มีมานานแล้ว ในชุมชนอีสานเรา สิ่งที่ คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง คุณพ่อผมเขา สอนลูกและฝึกให้ปฏิบัติตามฮีตคลองนี้ มีความหมายในแต่ละข้ที่แยบยล เพราะลูกชาย 5 คน ลูกสาว 3 คน ของท่าน ในครอบครัวชาวนาชบท ยากจน หลังจากที่คุณแม่ สมร จันทร์สว่าง เสียชีวิต ในปี 2525 นายอินทราพร จันทร์สว่าง ลูกคนสุดท้อง มีอายุเพียง 1 ปี คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง มีอายุ เพียง 43 ปี ต้องฟันฝ่าอุปสรรค ต่างๆ เลี้ยงลูก ทั้ง 8 คน และส่งเสียลูกๆให้เรียนโดยลำพัง ปัจจุบันท่านสามารถเลี้ยงลูกๆจนเติบใหญ่ได้ ซื้อไร่นา ไว้ให้ลูกๆทุกคน คนละแปลงเล็กๆ ได้ ด้วยน้ำพัก น้ำแรง ของท่าน ผมองย้อนหลัง พลังของท่านที่มีที่สำคัญที่สุด คงจะเป็นพลัง แห่งการทำความดี และผมสามารถรวบรวมได้เป็น 9 วิถีชีวิตพอเพียง เพื่อครอบครัวออบอุ่น ในสมัยอดีตของผมได้ดังนี้
• กินข้าว ฮ่วมพา
• กินปลา ฮ่วมปิ้ง
• ผิงไฟ ฮ่วมกอง
• อุ้มน้อง ซ่อยกัน
• ขุดมัน ซ่อยป้า
• เกี่ยวหญ้า ซ่อยลุง
• จูงงัว ออกคอก
• จักตอก ซ่อยพ่อ
• บายคันขอ ซ่อยแม่
ปัจจุบันผมนำมาปับใช้กับการดำรงชีวิตและการเลี้ยงลูก พียง คนของผม ซึ่ง ลูก คนนี้ สามารถทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ต้องยอมรับว่าเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วันนี้ลูกสาวผมอายุ 15 ปีแล้ว ยังพึ่งจะก่อไฟจี่ข้าวจี่ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งสมัยที่ผมเป็นเด็กสามารถทำได้ตั้งแต่จำความได้ เพราะถ้าก่อไม่เป็น ก็นึ่งข้าว แกงแปลา ต้มไก่ไม่ได้ หรือบางครั้งก็ไม่ได้ผิงไฟ เปนต้น คำอธิบายในแต่ละข้อนั้น มีความหมายว่าอย่างไร

กินข้าว ฮ่วมพา เนื่องจากเป็นครอบครัวใหญ่ หรือครอบครัวขยาย ข้าวปลาอาหารมีน้อย ทำให้ต้อง รอกินข้าวพร้อมกัน ในวงพาข้าวนี้ ก็จะเป็นเวทีการประชุม ปรึกษาหารือ และสั่งสอนไปด้วย พ่อจะมอบหมายภารกิจให้แต่ละคน พร้อมทั้งแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งถามถ่สารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน
กินปลา ฮ่วมปิ้ง ต้องรู้จักเสียสละ แบ่งปันกัน ใครสามารถหาอาหารใดๆมาได้ ก็ต้องแบ่งปันช่ยเหลือกัน ไม่เฉพาะในครอบครัว แต่ยังรวมถึงญาติๆและเพื่อนบ้านด้วย ในตอนเช้า หรือตอนเย็น ทำอาหารเสร็จแล้ว หากมีน้อยคุณพ่อจะแบ่งไปให้ คุณตา คุณยาย เสมอๆ หากมีมาก เช่นวันไหน ต้มไก่ ซึ่งถือเป็นอาหารที่วิเศษที่สุดสำหรับผมในสมัยเด็ก ก็จะให้ลูกๆ นำไปส่ง คุณลุง คุณป้า คุณน้า ข้างๆ บ้านหรือแม้แต่คุณปู่มนิล คุณอาดม อานาง ที่อยู่อีกคนละซีกหมู่บ้านเป็นต้น ที่ผมว่าเป็นอาหารที่วิเศษ เพราะ นานๆทีจะมีสักหน แม้พวกผมจะเลี้ยงไก่ไว้มาก แต่สวนใหญ่จะเลียงไว้ขาย เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในครอบครัวและการช่วยงานศพ งานแต่ง งานบวช งานส่วนรวมต่างๆ ซึ่งคุณพ่อถือเป็นภารกิจที่สำคัญเช่นกัน วันไหนได้ทำต้มไก่ แปลว่าอาหารเกียรติยศ หรือวันพิเศษ เราจะช่วยกันทำ บางคนจับไก่ บางคนก่อไฟ บางคนไปเก็บตะไคร้ ใบมะกรูด ขุดข่า และท่สำคัญฆ่าไก่ ทุกคนต้องฝึก เชือดคอไก่และลวกน้ำร้อน ถอนขนให้เป็น ไม่ใช่รอกินอย่างเดียวเหมือนลูกๆเราในปัจจุบัน การได้ฝึกทำอาหารเองจะสอนให้เด็กๆรู้ว่า เองทำอะไรบ้าง เช่นก่อไฟ ใช้ฟืนอย่างไรจึงจะมีไฟมาก ควันน้อย ติดไฟง่าย ขนาดฟืนเท่าใดจึงจะพอดี นานแค่ไหนจึงจะเติมฟืน เช่นฟืนที่ผมชอบเป็นฟืนไม้ติ้ว เวลาไปป่าจะเลือกตัดฟืนเป็น ตัดมาแล้วต้องรีบบั่นฟืน เพราะเก็บไว้นาน ยางจะออก หยิบจับลำบก รวมทั้งหากแห้งแล้วจะบั่นได้ยากเพราะเหนียวเป็นต้น มีบางครั้งที่ฟืนที่เตรียมไว้หมดในฤดูฝน ใช้ฟืนไม้มะม่วง ติดไฟง่าย มีควันมาก แต่ให้ความร้อนน้อย เผาไหม้ไม่นานก็หมด เป็นประสบการณ์ในการวางแผนว่า เราต้องเก็บสะสมฟืนที่มีคุณภาพให้เพียงพอ ในปีต่อไป การเก็บผัก ตะไคร้ ขุดข่า ก็จะสอนให้ลูกๆได้รู้จักปลูก รู้จักดูแลรักษา เพาะหากไม่มี อาหารก็ไม่อร่อย ฉะนั้น ทุกนจึงรู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ตามกำลังความสามารถของตนเองเป็นต้น
ผิงไฟ ฮ่วมกอง ทุกสิ่งอย่างต้องมีอุปสรรค ปัญหาอุปสรรคเราห้ามมันไม่ได้ แต่เราสามารถปรับตัวของเราเองได้ เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรคนั้น เนื่องจากพวกเรายากจน จึงไม่มีกางเกงขายาวไม่มีเสื้อกันหนาว อากาศที่หนาวเย็น มากๆ ต้องอาศัยผิงไฟ กิจกรรมที่เราทำเพื่อแก้ปัญหาความหนาวเย็น เริ่มจาก ตอนเย็น จะต้องไปเอาหลัว (ไม้ไผ่ใหญ่แห้ง ) มารวบรวมไว้ ให้เพียงพอที่จะก่อไฟผิงในแต่ละวันได้ กินข้าจี่ข้างกองไฟ ร่วมกับญาติๆ ผู้ใหญ่จะอบรมสั่งสอนเด็กๆ เรื่องคุณธรรมและความรับผิดชอบ เป็นต้น
อุ้มน้อง ซ่อยกัน ครอบครัวอีสานเราจะมีลูกมาก แลลูกถี่ ภารกิจการเลี้ยงดู น้อง จะตกเป็นของพี่ๆ ทุกครอบครัวก็จะมีลักษณะเดียวกัน หากใครติดธุระ ก็จะฝากเด็กไว้กับ ญาติๆพี่น้องได้ เป็นการแสดงความมีน้ำใจ ให้เด็กๆได้เห็น ทำให้ ความผูกพันระหว่างเครือญาติแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นคนมีสัมมาคาะวะไม่ก้าวร้าว เพราะทุกนเติบโตมาด้วยกันพี่พูดน้องก็ฟัง ผู้ใหญ่บอก เด็กๆก็ทำตาม เป็นต้น
ขุดมัน ซ่อยป้า และเกี่ยวหญ้าซ่อยลุง ผมขอรวมกัน ว่าต้องมีน้ำใจ หากเราว่าง เห็นใครเดือดร้อน หรือมีงานเราต้องช่วยกัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เห็นได้จนทุกวันนี้ ในชุมชนอีสาน ใครเก่ยว้าวเสร็จทีหลัง ก็จะไปเกี่ยวช่วยกัน ไปฟาดข้าว ไปขนข้าวช่วยกัน โดยไม่ต้องมค่าจ้างใดๆ เจ้าภาพก็ตกปลา ทอดแห ส้มตำ เป็นอาหารก็เพียงพอแล้ว เป็นต้น
จูงงัว ออกคอก คือทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หากสามารถทำได้ตามกำลังความสามารถ ตามความหมาะสม เช่น เด็กเล็กๆ ก็ปัดกวาดบ้าน ล้างถ้วยชาม ให้อาหารไก่ โตขึ้นก็ เลี้ยงวัว เลี้ยงความ เกี่ยวหญ้า หาบฟาง ล้อมรั้ว หุงหาอาหาร ตักน้ำใส่ตุ่ม รดน้ำต้นไม้ คราดไถ ดำนา เกี่ยวข้าว ปั้นคันนา ถางป่า ทำไร่ปอ ขุดมัน เผาถ่าน เป็นต้น ซึ่ง เด็กๆทุกคนต้องทำ คือ ในตอนเช้า ก่อนไปโรงเรียน และหลังเลิกเรียนในตอนเย็น ทุกคนต้องทำงานตามที่มอบหมาย จำได้ติดใจเช่น หน้าทำนา ต้องไปดำนา หรือเกี่ยวข้าว จนถึง 3 โมงเช้า แล้วจึงพาน้องๆ อีก 4 คน วิ่งไปโรงเรียน ได้ ส่วนใหญ่ ฤดูทำนาจะไม่ได้เข้าแถวห้าเสาธงกับเพื่อนๆ เพราะมาไม่ทัน เลิกเรียนต้องไป ถอนกล้า หรือเกี่ยวข้าว หาบข้าวขึ้นลาน จนถึง 2 ทุ่ม กลางคืนจึงได้ทำการบ้าน งานเลี้ยงสัตว์ของครอบครัวคือเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู วัว และควาย ดูเหมือนะเป็นแหล่งรายได้หลักของครอบครัว ทุกคนจึงต้องช่วยกัน หาหญ้า หาฟางไว้ให้วัวควายของพวกเรา
เรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต้องยกให้ พี่วงษ์ศิลป์ จันทร์สว่าง และพี่สุวรรณ์ จันทร์สว่าง น้อง บุญหลาย จันทร์สว่าง น้องสมบูรณ์ จันทร์สว่าง จบ ป 4 แล้ว ไม่ได้เรียนต่อ พี่วงษ์ศิลป์ น้องสมบูรณ์ ต้อง ทำงาน แทนคุณแม่ที่เสียชีวิต พี่สุวรรณ์ และน้องบุญหลาย ต้องทำงานหนักมาก เพื่อให้ได้มาใช้จ่ายในครอบครัวช่วยคุณพ่อ และเป็นค่าเล่าเรียน ให้ ผม และพี่ กงจีน ไปเรียนหนังสือ รับจ้างสารพัดรับจ้าง พี่น้องผู้ชายรับจ้างขนดิน ตัดไม้ ขุดสระ ขุดมัน เป็นต้น พี่น้องผู้หญิงรับจ้างซักผ้า ขายของตามงานต่างๆ เป็นต้น
จักตอก ซ่อยพ่อ บายคันขอ ซ่อยแม่ บายคันขอ คนชนบทต้องตักน้ำจากบ่อ ที่ขุดไว้ที่ทุ่งนา ไกลจากหมู่บ้านประมาณ 1 – 2 กม. เพื่อนำน้ำไปใช้ กิน อาบ ให้พเยงพอในแต่ละวัน หัวข้อนี้มีอธิบายว่า เด็กๆ นอกจากจะรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบแล้ว งานอื่นๆ ก็ต้องสังเกตุและเรียนรู้ด้วยกัน เช่น เสร็จสินฤดูทำนา ผู้หญิงต้องฝึก ทอเสื่อ ทอผ้าแพรไว้ตัดเสื้อผ้า ปั่นฝ้าย เข็นฝ้าย ทำขนม ผู้ชาย ต้องเรียนรู้ จักสาน ต่างๆ ไว้ใช้ในครอบครัว เช่น กระทอ ตะกร้า แห ข้อง เลื่ยไม้ ป็นต้น
ลูกหลาน คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง ควรศึกษาประวัติชีวิต และแนวทางการปฏิบัติตนชีวิตพอเพียง เพื่อครอบครัวอบอุ่นของท่านได้ หรือจะนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกๆในปัจจุบันก็ได้ จาก นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง 0893552547

1 comment:

  1. Anonymous8/3/09

    ขอบคุณสำหรับบทความนะค่ะ

    ReplyDelete