วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2551 ไปส่ง ลูกชาย เปิดเทอม และไปเยี่ยม ลูกสาว ที่ อุบลราชธานี ภูมิ ทำโทรศัพท์ หาย ได้ SUMSUNG เครื่องใหม่พอได้ โทรเข้า โทร ออกได้ ไว้แทน 1 เครื่อง
ภูมิ กำหนดเปิดเทอมวันจันทรื แต่ไปล่วงหน้า เพราะ ต้องไปอ่านหนังสือ นอกเวลา 2 เล่ม ที่ ห้องสมุด โรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์
ส่ง ภาพไปให้เพื่อนๆ เป็นภาพเมื่อครั้งถ่ายกับเพื่อนๆที่กทม. ตามที่อยู่ดังนี้
วิฑูล ชื่นตา 99/79 หมู่ 2 ต.ไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี 11000
สมคิดชื่นตา 117 ม. 5 ต. หว้านใหญ่ อ. หว้านใหญ่ จ. มุกดาหาร 49150
บุญถม ศรีแจ่ม 291/50 ซ. ชุมชนหลังตลาดนครหลวง ถนนจรัญสิทวงศ์ ซ 29/1
แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
จำเนียร มูลสาร สำนักงานป้องกันและปราบปราการทุจริตแห่งชาติ ถนนพิษณุโลก
เขต ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
วันนี้ ขอชื่นชม หนังสือ พิมพ์ เดลินิวส์ ที่ กำลังใจ และส่งเสริม กำลังใจ แก่คน อื่นๆ อีกมากมาย ที่ลง ประวัติ
ของ'ประวัติ วะโฮรัมย์'กว่าจะเป็นฮีโร่ของคนไทย
ในระดับอาเซียนอย่าง อาเซียนพาราเกมส์ หรือระดับทวีปเอเชียอย่างเฟสปิกเกมส์ ประวัติ วะโฮรัมย์ เจ้าของฉายา “เสือยิ้มยาก” กวาดเหรียญทองมามากมาย แต่ที่สร้างชื่อมากที่สุดคือในระดับโลกของกีฬาคนพิการอย่าง พาราลิมปิกเกมส์ ที่ ประวัติ วะโฮรัมย์ เริ่มกระหึ่มตั้งแต่ พารา ลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 11 “ซิดนีย์ 2000” คว้า 2 ทองจาก วีลแชร์เรซซิ่ง (T54) 10,000 เมตร และ 5,000 เมตร ตามมาด้วยพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 12 “เอเธนส์ 2004” ซิวอีก 2 ทอง จาก ผลัด วีลแชร์เรซซิ่ง (T53-54) 4x100 เมตร, 4x400 เมตร และเหรียญเงิน 10,000 เมตร ประวัติ วะโฮรัมย์ เกิดเมื่อ 24 มี.ค. 2524 ที่อ.สระแก้ว เป็นโปลิโอขาข้างซ้ายมาตั้งแต่กำเนิด จบ ป.1-6 ที่โรงเรียนบ้านห้วยซัน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว และจบ ม.3 ที่โรงเรียนปากเกร็ด ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
แต่การก้าวสู่ทีมชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ประวัติ บอกว่า อ.สุพรต จับตนไปเล่นกีฬาว่ายน้ำถึง 1 ปี เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จากนั้นจึงให้มาเล่นวีลแชร์ ซึ่งเล่นใหม่ ๆ ปั่นวงล้อใหม่ ๆ ร่างกายยังไม่เข้าที่ กล้ามเนื้อเจ็บปวด และปวดเมื่อยไปทั่วร่าง ทรมานมาก แต่ต้องปั่นตามหลังรุ่นพี่ จะหยุดก็ไม่ได้ เพราะโค้ชไม่ยอม
“ผมเจ็บปวด ทรมานมาก ปั่นไป ร้องไห้ไปกว่า จะชิน กว่าจะรู้เทคนิค จนเข้าแข่งขันได้ก็นานร่วม 2 ปีกีฬาประเภทนี้ ร่างกายไม่แข็งแกร่งจริง ๆ เล่นไม่ได้แน่นอน”
“ผมเจ็บปวด ทรมานมาก ปั่นไป ร้องไห้ไปกว่า จะชิน กว่าจะรู้เทคนิค จนเข้าแข่งขันได้ก็นานร่วม 2 ปีกีฬาประเภทนี้ ร่างกายไม่แข็งแกร่งจริง ๆ เล่นไม่ได้แน่นอน”
เกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างระหว่างนักกีฬาคนปกติ กับนักกีฬาคนพิการ ประวัติ กล่าวว่า “นักกีฬาคนพิการก็ทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติได้มาก ผมเองดีใจ และภูมิใจมาก ที่ตอนนี้ทั่วโลกสนใจกีฬาคนพิการมากขึ้น นับตั้งแต่กีฬา พาราลิมปิกที่ซิดนีย์เป็นต้นมา แต่ในบ้านเรายังมีความแตกต่างในเรื่องนี้มาก ผมอยากบอกให้ทุกคนรู้ว่า พวกผมรู้ตัวดี เราไม่เคยเรียกร้องให้เสมอภาคกัน หรือเท่ากับคนปกติ แค่อยากลดช่องว่างให้น้อยลง ตามความเหมาะสมเท่านั้น เช่นโบนัสเหรียญโอลิมปิก คนปกติได้ 10 ล้านบาท แต่พวกผมได้ 2 ล้าน มันห่างกันมาก ควรเพิ่มเป็น 4-5 ล้านบาท พวกผมก็รับได้"
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ReplyDelete