10/15/08

การสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) สสจ.ยส.



วันพุธที่ 15 ตุลาคม 2551  ประชุมวิชาการ เรื่อง การสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) เปิดการประชุม โดย น.พ.จิณณพิภัทร  ชูปัญญา  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  วิทยากร โดย อ. อดิศร  วงศ์คงเดช จาก RTC ขอนแก่น  ที่ห้องประชุมบั้งไฟโก้ สสจ.ยส.

Strategy Map นี้ เป็นงานเขียน ของ Robert Kaplan & David Norton  ซึ่งมีชื่อเสียง ที่พวกเรารู้จักดีคือ Balanced Scorecard concept  ที่มอง ใน 4 มุมมอง (มุมมองด้านคุณค่าขององค์กร (Internal) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การบริหารจัดการ, เรียนรู้และพัฒนาlearning and growth) ส่วน ผู้ปรับใช้ในภาคสังคม คือ นพ.อมร  นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่ง นพ.อมร  นนทสุตเป็น ผู้ที่ริเริ่ม แนวคิด การสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทย เมื่อ ปี 2520 เป็นต้นมา  อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน คือ นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว (วิชาการ)  นางอภิญญา บุญถูก นักวิชาการสาธารณสุข 7 สสอ.คำเขื่อนแก้ว  นายทศพล  แสนสวาสดิ์  นักวิชาการสาธารณสุข 7 สสอ.คำเขื่อนแก้ว  นางจำนรรจา  บุญแจ้ง  เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7 สสอ.คำเขื่อนแก้ว  นางภัทรวรรณ  จันทร์ศิริ  พยาบาลวิชาชีพ 7 โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว 

Strategy Map มีวิธีการ สร้าง 7 ขั้นตอน  ใช้กลวิธี AIC และ Balance Score card ผสม ผสานกัน เพื่อเป้าหมาย หรือจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน  หาก กลยุทธใดไม่สามารถไปถึง จุดหมายปลายทาง ภายในเวลาที่กำหนดได้ สามาถ ปรับ เป้า หรือ จุดหมายปลายทางได้ แต่ ไม่ควรเปลี่ยนวิธีการ  เช่น

เป้าหมายไป กรุงเทพ กำหนด เดินทาง โดย รถยนต์ 6 ชั่วโมง แต่ระหว่างการเดินทาง มีอุปสรรค รถยางรั่ว  ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ  มีน้ำท่วมบางจุด ปิดถนน บางช่วง เป็นต้น  ทำให้ไม่สามารถไปถึงได้  ในเวลา 6 ชั่วโมง เรา อาจลดจุดหมายปลายทาง เป็น เพียง ปากช่องก็ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนวิธีการ กลับ จาก พยัคฆ์  เพื่อกลับไปอุบลแล้วขึ้นเครื่องบินไป ซึ่ง อาจทำให้เสียเวลามากกว่าก็ได้ เพราะ เราไม่ได้วางแผน การเดินทง โดยเครื่องบินมาก่อน เช่น ไม่ได้จองตั๋ว  หรือ เวลานั้น เครื่องไม่มีตารางการบิน เป็นต้น

ส่วนวิธีการที่เราเลือกแล้ว คือการเดินทางโดยรถยนต์ แม้มีอุปสรรค หรือปัญหาบ้าง เราก็แก้ ในปัญหาที่สำคัญ และเกี่ยวเนื่องที่จำเป็น สำหรับการบรรลุจุดหมายปลายทาง บางปัญหา ไม่ใช่ แก้ทุกปัญหา  บางปัญหา ก็ปล่อยผ่านไป

เช่น ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ เราคงไม่ต้อง ไป อุดหลุม ถนนก่อน  เพีงแค่ วิ่งรถให้ช้าลง แล้วผ่านไป น้ำท่วม บางจุด คงไม่ต้อง สูบน้ำออก อาจ เปลี่ยนเส้นทางไปทางอ้อมบ้าง สัก 20-30 กิโลเมตร ก็ต้องยอม รถยางรั่ว ก็ คงต้อง เข้าอู่ ปะยาง ตรวจเช็คลม ให้เรียบร้อย  ปิดถนน เพราะ มีขบวนแห่ ก็คงต้องยอมให้เขา แห่ กองบุญ ผ่านไปก่อน เป็นต้น

หลักการเหตุผลของการอบรม  มาจาก

                                     คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนำแผนที่ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ

เนื่องจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีข้อตกลงร่วมกันในการนำเครื่องมีอบริหารที่เรียกว่าแผนที่ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในท้องที่ต่างๆทั่วประเทศ

ปัญหาเกี่ยวกับนโยบาย เรื่องแผนที่ยุทธศาสตร์  6 ข้อของกระทรวงสาธารณสุขมีดังต่อไปนี้

1. เบนเข็มการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน จากรูปแบบที่เน้นการให้บริการ ไปเน้นที่การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนยืนได้ด้วยตัวเอง อันหมายถึงการสร้างสุขภาพโดยประชาชนแทนการซ่อมสุขภาพด้วยบริการ

2. ส่งเสริมให้หน่วยงานทุกระดับใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพของประชาชนในระดับท้องถิ่นหรือชุมชนได้ตามความเหมาะสม

3. ให้ปรับปรุงและเชื่อมโยงตัวชี้วัดที่กำหนดโดยส่วนกลางกับตัวชี้วัดที่กำหนดโดยแผนที่ยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆให้สอดคล้องกัน

4. ให้ใช้ตัวชี้วัดของแผนที่ยุทธศาสตร์ที่ปรับให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของ กพร. เป็นเครื่องมือในการติดตาม กำกับ ดูแลของสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

5. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาความสามารถของท้องถิ่น ชุมชน และกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้สามารถดำเนินการจัดการระบบสุขภาพชุมชนได้ด้วยการ   สร้างนวัตกรรมทางกระบวนการจัดการสุขภาพ และเพิ่มทักษะการใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือบริหารการเปลี่ยนแปลง

6. ส่งเสริมการสร้างและบริหารจัดการนวัตกรรมในทุกระดับ หลากหลายรูปแบบ ทั้งนวัตกรรมบริหารจัดการ นวัตกรรมกระบวนการ และรูปแบบบริการที่ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

วันนี้ อาจารย์ วิทยากร สอนเนื้อหา และพาฝึกปฏิบัติ ดีมาก ทุกคน มีส่วนร่วมในการฝึกอบรม เต็มที่ พวกเรา อยู่กัน จน 5 โมงเย็น

การสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ 7 ขั้นตอน และ สร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ  (SLM: Strategic Linkage Model)  ต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์  มงคล โชติแสง จาก ศูนย์สุขภาพชุมชน บ้านแร่ อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร  ได้สรุป เนื้อหา และขั้นตอนการจัดทำ Strategic Map ไว้ ดีมาก ๆ เช่น 

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจุดหมายปลายทาง  

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)   

ขั้นตอนที่ 4 สร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ (SLM) และการจัดกลุ่มภารกิจงาน   

ขั้นตอนที่ 5 เครื่องชี้วัด-การนิยามเป้าประสงค์ (ตาราง 7 ช่อง)

ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนปฏิบัติการ (Mini-SLM) (Strategic Linkage Model - SLM) 

ขั้นตอนที่ 7 การเปิดงานและการติดตาม ผล   ซึ่งเรา สามารถ ดูรายละเอียดได้ใน

http://www.raepcu.mongkolsoft.com/KM/Strategy_Map/00_7step_Strategy_map.htm

 เลิกประชุม เวลา 17.09 น. ไปพร้อมกับ นางอภิญญา บุญถูก และ  นายทศพล  แสนสวาสดิ์  แวะเยี่ยม นายณัฐวุฒิ  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว (บริหาร)  ที่ โรงพยาบาลยโสธร ท่าน เหนื่อย  อ่อนเพลีย  ไม่สบาย  หน้ามืด เป็นลม  นอนพักที่ ตึก อายุรกรรม ชั้น 2 มี พี่เรื่องลักษณ์ จันทร์สว่าง เฝ้าไข้  เย็นนี้ น้อง อ้อม จะมาเฝ้าไข้  อ้อม กลับมา จากเรียน พยาบาล ที่ มหิดล กรุงเทพฯ

No comments:

Post a Comment